ประสบการณ์ตรง สู่ความเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระดับมัธยมศึกษา (๑)


วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๗ ผมกับทีมฯ ไปร่วมต้อนรับและเรียนรู้กับคณะผู้ประเมินโรงเรียนโนนสังวิทยาคาร ซึ่งหากผ่าน ก็จะเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา แห่งแรกของ สพม. ๑๙ จ.เลย ... ผอ. ร.ร. ที่กำลังขับเคลื่อนฯ ขณะนี้ ต้องอ่านบันทึกนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะว่า ประสบการณ์ตรงแบบนี้ ไม่ได้มีบ่อยนัก...

ในมุมมองของผม ดร.สุเมธ ปาณทึก ผู้อำนวยการโรงเรียนโนนสังฯ มีจุดเด่นเรื่องการบริหารจัดการและขับเคลื่อนอย่างเป็นทางการฯ ผมหมายถึง "มืออาชีพ" ทุกอย่างวางไว้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ท่านจะสั่งการผ่านวิทยุสื่อสารไปยังรอง ผอ. และครู ที่ประจำอยู่ ณ จุดต่างๆ ที่รู้ทางกันอย่าง "แม่นเป๊ะ"

เริ่มตั้งแต่ ตั้งแถวหน้าประตูโรงเรียน รอ "ยินดีต้อนรับ" นักเรียนแกนนำคอยจับรับกระเป๋าจากคณะกรรมการฯ มีการถ่ายรูปรวมเป็นปฐมภาพ และนำเดินมากราบสักการะพระพุทธรูปประจำโรงเรียน ก่อนจะมาร่วมกิจกรรมหน้าเสาธง... ซึ่งตรงนี้กระบวนการประเมินนักเรียนเริ่มที่นี่ทันที แบบไม่มีพิธีรีตอง....

 



กรรมการฯ ประเมินทันทีที่หน้าเสาธงคือ  กิจกรรมร้องเพลงชาติ สวดมนตร์ไหว้พระที่นักเรียนทำ ว่า เป็นเพียง "พิธีการ" ที่สักแต่ว่าทำต่อๆ กันไป หรือนักเรียนเห็นเป็น "พิธีกรรม" ที่ทำกันอย่างรู้คุณค่า ความหมาย ทำด้วยใจเคารพต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

หลังกิจกรรมหน้าเสาธง โรงเรียนเชิญ ดร.ปิยานุช ธรรมปิยา ประธานคณะกรรมการประเมินฯ พบกับนักเรียนหน้าเสาธง โดยแนะนำว่า ให้ท่านกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของคณะฯ ที่ได้ลงพื้นที่ประเมินครั้งนี้ .... แต่ก่อนที่จะบอกวัตถุประสงค์ ท่านกลับใช้โอกาสนั้นเป็นเวทีทดสอบนักเรียนทั้งโรงเรียน ด้วยการตั้งคำถาม ทั้งที่ให้อาสาตอบ และที่มอบให้ประธานแกนนำนักเรียน... ดังนี้ครับ

  • โรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา มีคุณค่า และความหมายอย่างไร ทำไมโรงเรียนเราประสงค์จะเป็น?
  • โรงเรียนศูนย์ฯ ต่างจากโรงเรียนสถานศึกษาพอเพียงอย่างไร ทำไมต้องมีโรงเรียนศูนย์ฯ
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงกับตนเองอย่างไร หลังจากที่โรงเรียนนำหลัก ปศพพ. น้อมมาใช้ในโรงเรียน
  • นักเรียนภาคภูมิใจในตนเองและท้องถิ่นอย่างไร
  • ฯลฯ

นอกจากนักเรียนรุ่นปัจจุบัน โนนสังฯ ยังเตรียมศิษย์เก่า (๓ คน) ที่กำลังเรียนระดับมหาวิทยาลัย กลับมาให้ข้อมูล สะท้อนถึงความภูมิใจของตน ทำให้เห็นพัฒนาการในการพัฒนาคนของโรงเรียน ตั้งแต่เป็นสถานศึกษาพอเพียงจนถึงวันนี้

 


หลังจากเสร็จกิจกรรมหน้าเสาธง ผอ.สุเมธ ได้นำ คณะกรรมการฯ มากราบพระสงฆ์ คือ พระครูวิมลธรรมการ หรือหลวงตาสิน ซึ่งเป็นที่พึ่งที่เคารพบูชาของท้องที่  ....  ย่อมหมายถึงความดีและคุณธรรม ได้ไม่มากก็ไม่น้อย ....


เมื่อถึงเวลา ผอ. ก็เดินนำสู่เวทีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ... แถมก่อนจะผ่านเข้าสถานที่ ยังมีการให้ ถ่ายรูปและจัดลิปบิ๊น ....


 กิจกรรมในพิธีฯ หลังจากพิธีเปิด เกิดอะไรขึ้นบ้าง จะมาเล่าให้ฟังในบันทึกต่อไปครับ

(ดูรูปทั้งหมดที่นี่ครับ)

หมายเลขบันทึก: 563703เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2014 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2014 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท