๕ ระดับความเข้าใจ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา


จากประสบการณ์การขับเคลื่อน ปศพพ. ฯ สู่สถานศึกษา ผมสร้างเกณฑ์ประเมินความเข้าใจของเด็กๆ เบื้องต้น ไว้ ๕ ระดับ ดังนี้

  • ระดับ ๑ "ระดับมูลค่า" มักตอบว่า "ประหยัด อดออม ใช้ของในพื้นถิ่น" ....เด็กๆ จะเข้าใจว่า  ถ้าต้องซื้อ คือไม่พอเพียง.....
  • ระดับ ๒ "ระดับความรู้" มักตอบทำนองว่า  "ต้องพอประมาณกับเวลา พอประมาณกับเงินที่มี พอดีกับความสามารถ".... เด็กๆ มักพูดเป็น "นกแก้ว นกขุนทอง ท่องเหมือนบทสวด" .....  เช่น "ทำอะไรต้องให้พอประมาณกับเวลาที่มี" ตอบเพียงเท่านี้ ไม่อธิบายอย่างไรต่อ รอให้ถาม แต่เมื่อถาม จะรู้ว่าไม่ชัด 
  • ระดับ ๓ "ระดับหลักคิด" ตอบว่า "ต้องคิดก่อนทำ ทำอะไรต้องวางแผน มีแผนป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ และ ไม่ทำให้ตนเองและคนอื่นเดือดร้อน" .....  ส่วนใหญ่โรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ จะตอบในระดับนี้ 
  • ระดับ ๔ "ระดับดำเนินชีวิต" ตอบว่า "จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องนี้ก่อน ต้องมีสติ ต้องมีสมาธิ ต้องระวังเรื่องนั้นเรื่องนี้... " .... อธิบายถึงวิธีคิด กระบวนการทำ  และบอกผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้....ระดับนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันได้
  • ระดับ ๕ "ระดับเปลี่ยนแปลงจิตใจ" ตอบทำนองว่า "รู้จักตนเอง" สามารถบอก "การเปลี่ยนแปลงภายใน" ของตนเองได้ ว่า เกิดขึ้นตอนไหน เพราะอะไร ต่อไปจะต้องทำอย่างไร พูดถึง "คุณค่า" และ "ความหมาย" ของสิ่งที่ทำ..... แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงภายใน หรือระเบิดจากภายใน ....  โดยลักษณะท่าทาง แววตา ในการพูดจะเปี่ยมไปด้วยพลังและความมั่นใจ


หรือสรุปสั้นๆ ว่า เด็กๆ จะเข้าใจวิธีการนำ ปศพพ. มาใช้กับตนเองใน ๕ ระดับ คือ มูลค่า ความรู้ หลักคิด  ดำเนินชีวิต และเปลี่ยนจิตใจตนเองได้ 


หมายเลขบันทึก: 563613เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2014 02:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2014 02:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท