"สมาธิ" ในชีวิตจริง น่าจะเป็นอย่างไร


ผมเรียนและศึกษาธรรมะมาทางสายท่านพุทธทาสเป็นหลัก ตั้งแต่เด็กๆมาเลย
ผมเลยมีระบบคิดที่ไม่ค่อยตรงกับการทำสมาธิ "ทั้งระบบ" แบบนั่งทำสมาธิที่เขานิยมทำกันทั่วไป
ที่ท่านพุทธทาสใช้คำว่า "สมาธิหัวตอ"
ที่ผมทั้งไม่ถนัด และไม่สะดวกที่จะทำในชีวิตประจำวันของผมครับ


ใครถนัดแบบนั้น ก็น่าจะทำได้ดีกว่าอยู่มั้งครับ

แต่.....
ผมฝึกสมาธิมาในระบบสมาธิ "ในชีวิตจริง" ทุกขณะจิตที่คิดทัน
ได้บ้างไม่ได้บ้างก็พัฒนาไปเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

เมื่อวานนี้ (8 มีค 57) มีเพื่อนรุ่นพี่ 2 ท่าน มาที่บ้าน มาถามผมเรื่องนี้
โดยเปรยว่า "การไปนั่งสมาธิ" ตามสถานที่ปฏิบัติธรรมต่างๆ เป็นความลำบาก ทรมาน และรู้สึกทุกข์มากกว่าเดิม

ผมก็เลยถือโอกาสอธิบายหลักคิดที่ผมใช้ ก็คือ "ทางสายกลาง" ที่มุ่งเน้นทำลายกิเลส แบบค่อยๆเป็น ค่อยๆไป

ฝีนบ้าง แต่ไม่ถึงกับทรมาน ทีละน้อยๆๆ แบบเดียวกับการ "ดัดต้นไม้" 
ที่ต้องอาศัยจังหวะเวลา และความอดทน "รอ"

ทำทุกวันไปเรื่อยๆ หลักการนี้ ต้นไม้ใหญ่ขนาดไหน ก็ดัดได้ทั้งนั้น ยิ่งเล็กยิ่งดัดง่าย
ไม้เลื้อยยิ้งดัดง่ายกว่าไม้ยืนต้น 
แต่ที่ดัดยากมากก็ ไม้ล้มลุก (เพราะเกิดเร็วตายเร็ว) สมาธิสั้น แบบบุคคล "ออธิสติก"

แต่ทั้งเล็กทั้งใหญ่ รีบร้อนเมื่อไหร่ "กิ่งหัก" แน่นอน

และอาการที่เพื่อนรุ่นพี่เล่ามานั้นก็เสมือนหนึ่ง ไปพยายาม "ดัดไม้แก่" ไม่รอจังหวะ ไม่รอเวลา ไม่ดูความพร้อม ฯลฯ
ที่จะรีบๆๆๆ ปรับให้เข้ารูป "มาตรฐาน" ที่ตั้งใจไว้ ในเวลาเร็ววัน หรือ ทันที หรือ ทันใจ
ที่น่าจะเป็นไปได้ยากมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ที่อาจจะเกิดอาการ "กิ่งหัก" ทุกข์ ทรมาน เกินกว่าที่จะก้าวหน้า ในการพัฒนาตนเอง

ผมจึงแนะนำให้เพื่อนรุ่นพี่ท่านนั้น ลองใช้หลักคิด ทางสายกลาง ทำตลอดเวลาเมื่อสะดวก คิดทัน และนึกได้ ไปเรื่อยๆ

และแนะนำ "ภาพฝัน" เป้าหมายสูงสุดของสมาธิ 
ก็เปรียบเสมือนเครื่องยนต์ เครื่องจักร ของเครื่องบิน หรือรถยนต์ ฯลฯ
ที่เฟือง หรือเพลาทุกตัว จะต้องหมุนนิ่งอยู่ที่เดิมอย่างสอดคล้องกันทั้งระบบ

อย่างมี "สมาธิ" มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
แม้จะเร็วเท่าไหร่ก็ยังต้องนิ่ง ซึ่งก็คือ "มีสมาธิขั้นสูงๆๆๆ" ขึ้นไปเรื่อยๆๆๆๆๆๆๆ
ไม่นิ่งมาก ไม่สูงมากก็ไปหมุนช้าๆ ไปพลางก่อน พอทำได้สูงมาก ค่อยขยับไปเร็วขึ้นตามลำดับๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

จนถึงสมาธิขั้นสูงสุด เร็วเท่าไหร่ก็ไม่แกว่งออกนอกสมาธิ

นี่คือความหมายของ "สมาธิ" ในชีวิตจริงที่ผมเข้าใจ ตีความ และนำมาใช้ในชีวิตของผม

ที่ภายนอกนั้น "ดูนิ่งๆ" แต่มีความเร็วของการหมุนที่ไต่ระดับความเร็วไปเรื่อยๆ ที่มองจากภายนอกไม่เห็น
แบบ รู้ได้ด้วยตนเอง ไม่โกหกหลอกลวงตัวเอง

นี่คือชีวิตจริง และการทำสมาธิของผมครับ
ทำอย่างนี้ และเป็นอย่างนี้ และคงจะทำต่อไปแบบนี้ครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 563502เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2014 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2014 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สมาธิดี สติมา ปัญญษเกิด ครับท่าน

ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ใด ผู้ที่เริ่มฝึกใหม่ย่อมจะต้องรู้สึกลำบากเมื่อฝึกนั่งสมาธิเนื่องจากจิตยังพยศและใจที่อยากยังไม่สามารถปล่อยวาง หากลองฝึกทำความเพียรแบบไม่ต้องตั้งใจมากแต่ด้วยใจที่อดทน หากทำได้นานพอสักวันหนึ่งความรู้สึกที่สบายก็จะเข้ามาแทนที่นั่นคือปัญญาที่แท้จริง การศึกษาปฏิปทาของพ่อแม่ครูอาจารย์ในอดีตจะเป็นกำลังใจที่ดี เราจำต้องพบ "กามสุขัลลิกานุโยค" และ "อัตตกิลมถานุโยค" ก่อน เราจึงจะพบ "ทางสายกลาง" ครับผม

จริตของแต่บุคคลย่อมแตกต่าง กรรมฐานมี 40 กอง ขึ้นอยู่กับจริตของผู้ฝึก เจริญสติอยู่ตลอดเวลาก็ทำให้เกิดสมาธิ ธรรมะของพุทธองค์ล้วนแล้วแต่ถูกต้องทั้งนั้น หากแต่จะเหมาะสมกับผู้ฝึกหรือไม่นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ธรรมะของพุทธองค์เหมือนป่าใหญ่ แต่ธรรมที่จะเป็นหนทางสู่นิพพานมีแค่กำมือเดียว เราต้องหาใบไม้กำมือเดียวที่เหมาะกับเราให้พบ ไม่ใช่ใบไหนก็ใช้กับเราได้ อุปมากับยาต้องถูกกับโรคมันถึงจะรักษาได้ อย่ายึดมั่นถือมั่น พิจารณาให้ดีก็คงค้นพบหนทางที่เหมาะสมกับตนเองได้ ..สวัสดี

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท