เเกนนำ ปศพพ.(๔)


ขับเคลื่อตามบริบทของเรานั่นล่ะ "พอเพียง"

ร่วมสังเกตการณ์ ณ นาเชือก

        หลังจากที่ดงทองได้ประเมินเสร็จสิ้นไปเเล้วนั้นเพียงไม่นาน การประเมินก็เกิดขึ้นอีกครั้งเเต่ในครั้งนี้เป็นการประเมินโรงเรียนนาเชือก ซึ่งในครั้งนี้ กระผมเองก็โชคดีอีกเล้วที่ได้ไปร่วมสังเกตการณ์ด้วย ซึ่งในครั้งนี้เหมือนกับว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการที่มาตรวจเยี่ยมเลย เดินทางขึ้นรถมากับคณาอาจารย์  ครู เเละนักเรียนอีก 2คน มาเรียนรู้ร่วมกัน การประเมินในครั้งนี้ถือว่าเป็นการมาตรวจเยี่ยมว่า นาเชือก ไปได้ไกลเพียงใดเเล้ว  มาเยี่ยมนาเชือกในครั้งนี้ ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2556 เดินทางมาด้วยรถตู้ของทางผู้ใหญ่ เดินทางมายังโรงเรียนนาเชือก เป็นเวลาสายๆ พอเข้ามาในหอประชุมเห็นครูนั่งอยู่เต็มไปหมด เเสดงว่าครูมีส่วนร่วมเยอะมาก ทำให้เป็นพลังในการขับเคลื่อน หลังจากเปิดการประมเินเเล้วก็เดินทางมายังโครงงานของเด็กๆ ที่มีหลายๆโครงงานที่เด่นๆมาจัดเเสดง หลายโครงงานเป็นการเเก้ไขปัญหา เป็นการเรียนรู้บ้านเกิดที่ดีมาก

        เดินไปโครงงานหนึ่งกระผมเองก็ไปสอบถาม ที่โครงงานเขาไม่ใหญ่เขาคิดเล็กๆเเต่สามารถใช้ได้จริงเเล้วก็ง่ายด้วยเป็นการเเก้ไขปัญหาชีวิตในเเบบหนึ่งของมุมชีวิต เขาทำที่รองกระติบข้าว ที่จะเป็นเหมือนที่รองขาตู้ที่มีน้ำเป็นวงอยู่รอบทำให้มดเเดงไม่ขึ้น เพียงเเค่ทำที่ตั้ง เราก้ไม่ต้องกังวลว่ามดเเดงนั้นจะขึ้น (เพียงง่ายๆ)  เดินไปอีกโครงงานหนึ่งไปอีกโครงงานของเด็กน้อยที่เขาสำรวจพืชใต้หนองน้ำในชุมชนตนเอง เรียนรู้ที่บ้านเกิดตนเอง ผมเองถามเขาว่า ทำไมเขาต้องสำรวจ เด็กบอกว่า เพราะอยากรู้ คำๆนี้มีความหมายลึกซึ้ง เพราะอยากรู้ หมายถึงเขาอยู่ในชุมชนเขาอยากรู้ชุมชนของตนเอง เขาเริ่มมีเเนวคิดมาจากการอยากรู้ก่อนเป็นอันดับเเรกที่จะก้าวสู่ขั้นต่อมา(ทรรศนของผม) เดินไปอีกโครงงาน เห็นนกตัวใหญ่ที่ทำด้วยยาง ถามพี่เขาว่ามันคืออะไร พี่เขาตอบว่า มัน คือ หุ่นไล่กา กามันกลัวนกตัวใหญ่ๆ ถ้าเราเอาอันนี้ไปตั้งไว้มันก็จะกลัวเเล้วไม่ลงมาทำให้ไร่นาเสียหาย  ซึ่งก็เป็นเเนวคิดง่ายๆไม่มีอะไรที่ซับซ้อน เเล้วสิ่งนั้นมันคุ้มค่า เเล้วผมสังเกตเห็นอีกสิ่ง คือ เด้กไม่ได้ยึดติดกับว่าต้องเป็น 3 ห่วง 2 เงื่อนไขอันใดเลย พอเพียงอาจเข้าไปถึงเเก่นใจเเล้วก็ได้ เพราะสิ่งที่เขาพูดมานั้นเป็นหลักคิดพอเพียงทั้งหมด 

        หลังจากที่ได้เดินชมโครงงานเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว ก็มาสรุปงานร่วมกัน ณ หอประชุมหลังเดิม คราวนี้ครูก็มารอเราเต็มไปหมด ทำให้กระผมเองรู้สึกถึงความอบอุ่นตามไปด้วย เวทีสรุปกระผมเองนั้นก็ให้ความเห็นว่าควรเสริมตรงการปรับโครงงานเข้าสู่ชีวิตจริงอีกนิด จะทำให้การเรียนรู้อยู่คู่กับชุมชนมากเลยครับ ในใจของกระผมเองนั้นก็คิดอยู่ว่าขอชื่นชมคุณครูทุกท่านที่สละเวลาอันล้ำค่ามาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันจำนวนมากขนาดนี้  การขับเคลื่อน ปศพพ.เข้าสู่สถานศึกษานั้นคงไม่ยากเกินไปสำหรับนาเชือก เพราะนาเชือกเป็นปัญญาชนที่ดีอยู่เเล้ว กระผมเองก็รู้สึกว่าผู้บริหารก็ไฟเเรง ครูเเกนนำก็ไฟเเรง การประเมินในครั้งนี้ไม่ใช่การประเมินเเต่เป็นการมาเยี่ยมชม มาเยี่ยมว่านาเชือกดำเนินพอเพียงไปได้เพียงใดบ้างเเล้ว หลังจากที่ได้พุดคุยกับคุณครูหลายท่าน พบว่าคุณครูมีความเป็นกันเอง ครูมีความเป็นธรรมชาติที่สุด นักเรียนก็มีความเป็นธรรมชาติ 

        จุดเเข็งของนาดูนเป็นความธรรมชาติของทุกๆคนที่ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริหาร ครู เเละนักเรียน เเต่ภายใต้ความเป็นธรรมชาติเหล่านั้นมีความไฟเเรงอยู่ โครงงานของเด็กหลายโครงงานนั้นเป็นการเเก้ไขปัญหาชีวิตเพียงทั้งสิ้น โดยที่ไม่ต้องเลิศหรูสิ่งใดมากมาย เพราะเราคือเรา ขับเคลื่อตามบริบทของเรานั่นล่ะ "พอเพียง" ประสบการณ์ในครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งที่สองที่กระผมเองได้ร่วมสังเกตการณ์ ตามวิถีพอเพียง เเล้วอาจมีอีกครั้งต่อไปซึ่งขึ้นอยู่กับโอกาส...ความพอเพียงสามารถยืดหยุ่นได้..เพราะเป็นทางสายกลาง โดยส่วนตัวนั้นกระผมเองก็มองว่านาเชือกเดินมาถูกทางเเล้ว ... พอเพียง ๆ ๆ ... 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 563477เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2014 20:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2014 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นคนที่เขียนหนังสือได้ดี ใช้ภาษได้เก่งมาก

ชื่นชมในความคิด ขอให้เชื่อมั่นว่าทำดี แล้วจะได้ดีแน่นอน

คิดสร้างสรรค์๖นเองก็..ฉลาด

กระผมเองยังต้องรับคำวิจารณ์อีกเยอะครับ... ขอบขอบคุณ "ครู" ทุกท่านที่มาให้กำลังใจครับ..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท