การบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร


การบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร

         เมื่อวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2557 อาจารย์พร  บุญมี จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา ได้มาให้ความรู้เรื่อง การบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร ทำให้บุคลากรของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท มีความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น

         การบริหารความเสี่ยง หมายถึง  กระบวนการที่นำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรในทุกระดับ โดยได้รับการออกแบบให้สามารถ ระบุเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อองค์กร และจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้  เพื่อให้ได้รับ ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลนการบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ ซึ่งความเสี่ยงเป็น โอกาส ที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือ เหตุการณ์ซึ่งไม่พึงประสงค์ ที่ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ (Objection) และเป้าหมาย (Target) ที่กำหนดส่วนการประเมินความเสี่ยงเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วย การวิเคราะห์  การประเมิน และการจัดระดับความเสี่ยง โดยพิจารณาจากการประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง และความรุนแรงของผลกระทบจากเหตุการณ์ความเสี่ยงโดยอาศัยเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ ทำให้การตัดสินใจจัดการกับความเสี่ยงเป็นไปอย่างเหมาะสม ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ความเสี่ยงด้านทรัพยากร (งบประมาณ อาคารสถานที่ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ)  ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ของสถาบัน ความเสี่ยงด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน เช่น การบริหารหลักสูตร การบริหารงานวิจัย งานประกันคุณภาพการศึกษา ด้านบุคลากรโดยเฉพาะประเด็น จรรยาบรรณ ของอาจารย์ และบุคลากร การบริหารความเสี่ยงเชิงรุก หรืออื่น ๆ ตามบริบทของสถาบัน ระดับของความเสี่ยงพิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงกับผลกระทบของความเสี่ยงที่ประเมินได้ จัดเรียงลำดับจากระดับสูงมาก สูงปานกลาง น้อย ควรเลือกความเสี่ยงที่มีระดับสูงมาก และหรือระดับสูง  มาจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงในขั้นตอนต่อไป

กลยุทธ์การบริหารจัดการความเสี่ยง มี 4 ประเภท

  1. การหลีกเลี่ยง (Avoid) คือ หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
  2. การลด (Reduce) เป็นการดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดขึ้นหรือผลกระทบของความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
  3. การถ่ายโอน (Transfer) เป็นการมอบหมายให้ผู้อื่นเข้ามาร่วมหรือแบ่งความรับผิดชอบในการจัดการความเสี่ยง
  4. การยอมรับ (Aecept) ความเสี่ยงที่เหลืออยู่ อยู่ในระดับที่ยอมรับได้โดยไม่ต้องดำเนินการเพิ่มเติม

       การบริหารความเสี่ยงต้องได้รับการสนับสนุน และมีส่วนร่วมโดยทุกคนในองค์กรบริหารความเสี่ยงเพื่อให้ การบริหารจัดการภายในองค์กรมีประสิทธิภาพประสิทธิผลลดความสูญเสียการไม่บรรลุเป้าหมายให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสแก่องค์กรให้มากที่สุด

       เกณฑ์มาตรฐานตัวบ่งชี้คุณภาพที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

  1. สกอ. ตัวบ่งชี้ 7.4 การบริหารความเสี่ยงในองค์กร
  2. สภาการพยาบาล ตัวบ่งชี้ที่ 2 ระบบบริหารความเสี่ยง  ตัวบ่งชี้ที่ 15 แหล่งฝึกปฏิบัติการพยาบาล
  1. มคอ.4  หมวด 5 การวางแผนและการจัดการ   หัวข้อ 5.5  การจัดการความเสี่ยง

       ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารความเสี่ยงขึ้นกับวัฒนธรรมองค์กร ค่านิยม การสร้างความตระหนักว่า ความเสี่ยงเป็นหน้าที่ของคนทุกคนและทุกงาน ต้องสร้างแรงจูงใจ ลดการตำหนิ  แก้ปัญหาที่ระบบมองให้เป็นโอกาสการพัฒนา  ขณะเดียวต้องเตรียมความพร้อมให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดี ต่อการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง มีระบบการค้นหาความเสี่ยงที่ครอบคลุม กระบวนการงานของหน่วยงานย่อยและมีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงตามความรุนแรง มีการสื่อสารอุบัติการณ์ความเสี่ยงและการแก้ไขปัญหาให้บุคลากร และนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ คือ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ของวิทยาลัยต้องมีความมุ่งมั่นทุ่มเท 

 

หมายเลขบันทึก: 563237เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2014 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2014 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

.. ขอบคุณค่ะ เรื่องบริหารความเสี่ยงดีดีนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท