สอนน้อยเรียนมาก (Teach Less, Learn More/ TLLM)


ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More ผู้สอนต้องสอนให้น้อยลงหรือ Teach  Less แต่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากขึ้นหรือ Learn More นั่นคือผู้สอนต้องกระตุ้นให้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งบทบาทการสอนของผู้สอนแม้จะน้อยลง แต่บทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของผู้สอน คือ ผู้สอนต้องมีการวางแผนและออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน เตรียมสื่อและแหล่งเรียนรู้ และเตรียมคำถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

คำสำคัญ (Tags): #TLLM
หมายเลขบันทึก: 562983เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2014 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2014 17:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ที่มา facebook.com/chaturoneducation

เมื่อวานนี้ผมมีประชุมในเรื่อง เสวนาการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สามารถนำไปใช้ได้จริง จึงจำเป็นต้องดำเนินการใน 2 ส่วน คือ

1.รับฟังความคิดเห็นอย่างเต็มที่ของผู้เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ผู้ผลิต คือคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ไปจนถึงผู้ที่จะนำไปใช้ในระดับสถานศึกษา
2. ส่งต่อเรื่องนี้จากคณะกรรมการหลักสูตรฯ ไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จากนั้นเสนอให้ รมว.ศธ. ลงนามประกาศใช้ต่อไป ซึ่งต้องการดำเนินโดยเร็วที่สุด โดยผ่านกระบวนการรับฟังอย่างดีและมีประสิทธิผล คือ ใช้แล้วเกิดผลดีจริงๆ และสอดคล้องกับการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาไทย ที่จะต้องมีการปรับปรุงการเรียนการสอนคู่ขนานไปกับหลักสูตร เพื่อไม่ให้เกิดความลักลั่นและให้การดำเนินการทั้งหมดได้ผลดี มีประสิทธิผล และสามารถดำเนินการไปพร้อมกันได้

ในส่วนของสาระสำคัญของหลักสูตรใหม่ ก็คือ การปรับหลักสูตรให้สอดรับกับคุณลักษณะพึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ ทักษะการทำงาน ทักษะทางอาชีพ และการเรียนรู้ใหม่ๆ ในโลกที่มีข้อมูลข่าวสารมากมายอย่างไม่จำกัด ที่สามารถเผยแพร่หรือเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว เพื่อต้องการให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้และมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์มากกว่าการท่องจำเนื้อหาสาระ โดยจะต้องปรับการเรียนการสอน เช่น ภาษาต่างประเทศ จะเน้นการเรียนเพื่อการสื่อสาร เรียนจากการใช้จริง รวมทั้งต้องปรับระบบการทดสอบวัดผลด้วย

นอกจากนี้ จำนวนชั่วโมงเรียนคาดว่าจะน้อยลง แต่จะจัดการเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เน้นทักษะการเรียนรู้ โครงงาน การแก้ปัญหา ซึ่งเรื่องของเวลาการเรียนจะต้องพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติม โดยเฉพาะคำพูดที่ว่า “ใช้เวลาเรียนมาก ได้ความรู้น้อย” เพราะในประเทศที่มีการแข่งขันด้านการศึกษาสูงๆ จำนวนเวลาเรียนจะรวมทั้งในโรงเรียนและที่บ้าน คือ เวลาทำการบ้าน เวลาเตรียมตัว บางประเทศใช้เวลาเรียนมากจึงสำเร็จ แต่บางประเทศสำเร็จทั้งๆ ที่ใช้เวลาน้อยกว่า และบางประเทศเรียนไม่มากแต่ใช้เวลาที่เหลือในการทำกิจกรรมในโรงเรียน เป็นต้น

นายจาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ร่วมประชุมเสวนาการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2557 ที่ห้องราชาบอลรูม โดยมีคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อนุกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านมาตรฐานการศึกษาและหลักสูตร คณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์/วิทยาศาสตร์/สังคมศาสตร์/มนุษยศาสตร์ ผู้บริหาร ศธ. รวมทั้งผู้บริหารจากหลายหน่วยงาน อาทิ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) นายกสมาคมครู หน่วยงานการศึกษาสังกัดต่างๆ ที่ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และนักวิชาการ เข้าร่วมกว่า 200 คน

24 มีนาคม2557

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท