ฉบับที่ ๐๐๕ การประชุมกำหนดยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนลดปัจจัยเสี่ยงด้านยาสูบ สสส.


วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา ทางศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบ

คุมยาสูบ(ศจย.) ได้จัดประชุมภาคี สสส. กำหนดยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงด้านยาสูบ ของ สสส. ณ ห้องอุบลชาติ

โรงแรมสวิสโซเทล เลอร์คองคอร์ด กรุงเทพฯ บรรยากาศภายในงานมีผู้เข้าร่วมจาก

เครือข่ายต่างๆ จำนวน 40 คน ช่วงเช้าของการประชุม มีการนำเสนอสถานการณ์ปัจจัยเสี่ยง

ด้านยาสูบ โดย คณะทำงานวิชาการ ศจย. ต่อจากนั้นมีการนำเสนอความก้าวหน้าตาม

ข้อเสนอแนะของ

WHO capacity assessment

โดย ผศ.ดร.อรุณรักษ์ มีใย คูเปอร์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิชาการ ศจย.

ช่วงบ่ายมีการทำกิจกรรม maping เครือข่าย และต่อด้วยแบ่งกลุ่มระดมสมอง

(share goals, share visions, share strategies)

สรุปการประชุม แผนยุทธศาสตร์ที่ควรทำเร่งรัดภายใน 3 ปีมีดังนี้

  • ปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมายตามพรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์, พรบ.คุ้มครองผู้ไม่สูบ, พรบ.ยาสูบ โดยเพิ่มความรู้ของผู้ปฏิบัติงาน และระบบที่ให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพในการบังคับใช้กฎหมาย
  • ป้องกันเยาวชน โดยควบคุมการตลาดแบบใหม่, ผลิตภัณฑ์ยาสูบใหม่
  • สิทธิการเข้าถึงบริการเลิกบุหรี่ การได้รับคำปรึกษาและยาอดบุหรี่ first line, ระบบข้อมูลระดับชาติผู้ได้รับบริการเลิกบุหรี่ จนถึงเลิกบุหรี่สำเร็จ, การช่วยเลิกบุหรี่เชิงรุกที่ระดับตำบลและอสม. ด้วยโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมาตรการทางสังคม
  • จุดจัดการ (สสจ.) มีบุคลากรหลัก รับผิดชอบงานควบคุมยาสูบ และยั่งยืนทั้งภารกิจและงบประมาณ, สานพลัง เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด, มีภาคีอื่น กระทรวงอื่นมาร่วมอย่างจริงจัง, มีพี่เลี้ยงทางวิชาการ วิเคราะห์กลุ่มประชากรที่มีปัญหาและช่วยพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงาน, ทีมนักจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ระดับพื้นที่
  • DE-normalize บริษัทบุหรี่ , บริษัทยาเส้นและสื่อที่ส่งเสริมการสูบบุหรี่เป็นเรื่องปกติ
  • ควันบุหรี่มือสอง: เขตปลอดบุหรี่, ที่ทำงานปลอดบุหรี่( smoke free workplace (29% reduction))
  • ปรับปรุงสัมพันธภาพระหว่างองค์กรควบคุมยาสูบและหน่วยงานของกระทรวงอื่นๆ เช่น การปรับเปลี่ยนนิยามหรือคำ “ยาสูบพันธุ์พื้นเมือง”, “additive”
  • Monitoring & evaluation

            –  ใช้ข้อมูลงานวิจัย ในการวางแผนแก้ปัญหาจริง

            –  วิจัยประสิทธิผลของมาตรการระดับประเทศ

            –  พัฒนาเครื่องมืออย่างง่าย เพื่อผู้ดำเนินโครงการนำไปนับวัดผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการได้

            –  เครื่องมือวัด สำหรับโครงการขับเคลื่อนจังหวัดปลอดบุหรี่

  • ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนผ่านแกนนำ: ช่วยแกนนำเลิกบุหรี่ (ลดกี่%ใน3ปี) และเป็นต้นแบบ เป็นสื่อบุคคล
  • สรรพสามิตเห็นด้วยใน การปรับเปลี่ยน “ยาเส้นพันธุ์พื้นเมือง” ขอแรงภาคีร่วมคิด, หาข้อมูลและร่วมดำเนินการแก้ไข, จัดให้มีการจัดการความรู้(Knowledge Management) ภายในสรรพสามิตและเสริมหน่วยปราบปราม
  • ทีม Social marketing สสส. เสนอ ให้มีนักสืบเพื่อสืบข้อมูล เป้าหมาย แรงจูงใจของการตลาดแบบใหม่ ช่องโหว่ ช่องว่างซึ่งจะมีการแทรกแซงอย่างไรได้อีกในอนาคต ถ้ามีการควบคุมแล้วจะมีช่องทางไปขายทางไหนอีก และจะวางแผนรับมืออย่างไร
  • การบังคับใช้กฎหมายพรบ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ ในสถานประกอบการ

เผยแพร่บนเว็บไซต์

http://www.trc.or.th/th/home-26/home-26/572-mapping-national-tobacco-control-program-matrix-thailand.htm

ศจย.

27 ก.พ. 57

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 562891เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2014 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2014 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท