มิงกะลาบา...คว้าโอกาสการลงทุนในพม่ารับ AEC


สวัสดีครับชาวBlogทุกท่าน 

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้รับเชิญเป็นองค์ปาฐกเรื่อง มิงกะลาบา...คว้าโอกาสการลงทุนในพม่ารับ AEC ในงานสัมมนา "มิงกะลาบา...คว้าโอกาสการลงทุนในพม่ารับ AEC" จัดโดยสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ร่วมกับนิตยสารการค้าอาเซียน ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารปัญจภูมิ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 562774เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2014 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2014 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน Chira Academy

การบรรยายเรื่อง มิงกะลาบา ... คว้าโอกาสการลงทุนในพม่ารับ AEC

วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13.30 – 16.00 น.

ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารปัญจภูมิ

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การพูด ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สะท้อน 3 แนว

1. ประสบการณ์ที่ทำกับพม่า – เน้นความลึกซึ้ง บ้าคลั่งในการทำธุรกิจ และเป็นพันธมิตรร่วมกัน การบ้าธุรกิจอย่างเดียวจะไม่ยั่งยืน ควรมีมุมมองทางเศรษฐกิจ การทูต ทุกคนฟังแล้วให้คิดไปด้วยกันในการหาความรู้ และเรียนรู้เรื่องพม่าอย่างครบถ้วนจะทำให้ประสบความสำเร็จ ให้ได้รับการเรียนรู้และกระตุ้นและแบ่งปันกันอย่างแนวคิด Learn Share Care

2. Connection ต่าง ๆ ที่สะสมกันไว้ เนื่องจากพม่าเป็นประเทศปิดมาก่อน เป็นความสัมพันธ์ที่ดี ธุรกิจยุคใหม่เป็น Networking และต้องแบ่งปันกัน อยากเห็นนักธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของความถูกต้อง มี Relationship ที่ดีต่อกัน อยากให้ทุกคนได้ใช้โอกาสด้านนี้

3. Concept เรื่องธุรกิจนั้นเป็นเรื่องข้ามศาสตร์ ที่ต้องเข้าใจเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ซึ่งเรียกว่า Diversity หมายถึงความเข้าใจพื้นฐานว่ามีความสำคัญกันอย่างไร

การสร้างบรรยากาศวันนี้ขอให้เรียนรู้ร่วมกัน เน้น Learn Share Care ไม่ใช่เฉพาะแค่ไทย แต่ให้ Care คนในพม่าด้วย

วัตถุประสงค์

1. ศึกษาพม่าในมิติต่าง ๆ มองให้ครบถ้วน

2. เป็นพันธมิตรกัน ทำอย่างไรให้สัมมนาต่อเนื่องเป็นแบบ Deep Dive

3. ใช้ AEC เป็นตัวกระตุ้น สร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งทั้งเปิดเสรีการค้า และการลงทุน การเปิดเสรีอาเซียนในครั้งนี้ โอกาสที่ไทยไปลงทุนในพม่า ไทยอาจถือหุ้นได้เกิน 49% แต่ต้องระวังสิงคโปร์และมาเลเซียที่เข้ามาถือหุ้นในไทยด้วยเช่นกัน

4. อยากเห็นนิตยสารการค้าอาเซียนทำร่วมกับปัญญาภิวัฒน์ และมูลนิธิฯ กับคนฟัง จะเป็นการสร้างพลังที่น่าสนใจ

สิ่งที่มีคุณค่าที่สุดคือร่วมมือกันไปสู่ Success ในอนาคต เพราะยุคต่อไปของโลกเราอยู่คนเดียวไม่ได้ Trend ของโลกคือเอาความหลากหลายมาเป็น Policy และสร้าง Harmony ขึ้นมา และสุดท้ายน่าจะมีองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้ Debate กัน

ประสบการณ์ที่ทำกับพม่า

ดร.จีระ ไปพม่าเมื่อประมาณ 20 กว่าปีมาแล้วสมัยที่ทำอยู่ที่ธรรมศาสตร์ เนื่องจากได้ทุนจากซาซากาว่า Foundation ครั้งแรกได้ทุนมาอย่างดี แต่ต่อมานโยบายเปลี่ยนเลยต้องคืนทุนกับ ซาซากาว่าไป จึงทำให้ไม่ได้ทำพม่าในช่วงนั้น แต่ได้ไปเจรจาหารือกัน

การเข้าไปในอาเซียนอย่าคิดว่า GDP เราใหญ่กว่าเขา

มูลนิธิฯ ได้ทำงานเกี่ยวกับวิชาการหลายเรื่อง มีการทำ Leadership Forum ทั้งหมด 5 ครั้ง ถ้าประเทศไทยถ้ามีไอเดียดี ๆ มีความบ้าคลั่งและความสามารถในการจัดการ คนไทยทำได้ สิ่งที่พูด 2 เรื่องคือ Globalization กับ Human Resource

การทำงานของมูลนิธิฯ เป็นการทำงานระหว่างประเทศ โอกาสที่เด็กรุ่นใหม่ทำงานเป็น Volunteer ก็มีความยินดี

ดร.จีระ ได้เข้าไปทำงานกับพม่าอีกครั้ง ทำเรื่อง Tourism Globalization and Sufficiency Economy สนับสนุนโดยกระทรวงการต่างประเทศ จากการไปในครั้งดังกล่าว พบว่าเขาบ้าความรู้ แต่สำหรับคนไทยไม่ค่อยกล้าพูดในเวทีโลก ยกเว้นคนที่เป็นนักเรียนนอก

เวลาไปพม่า ก็ใช้วัฒนธรรมเป็นตัว Link

ทุนที่สำคัญที่สุดคือทุนทางวัฒนธรรม พม่าไม่บ้าเงิน ถ้าเชื่อมโยงให้เชื่อมโยงกับเขาทางวัฒนธรรม ไม่เคยเห็นคนพม่าพูดถึงความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น พม่ามองไทยดีมาก อยากให้คนไทยมองพม่าให้ครบ อย่ามองมิติใด มิติหนึ่ง

ปี 2005 เชิญพม่ามาที่ประเทศไทยในโครงการ Sustainable Cultural Tourism

ปี 2007 กลับไปที่พม่าอีกครั้งหนึ่งเรื่องเกษตรแปรรูป ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาเน้นมากในเรื่องนี้ พม่าเรียนรู้ที่จะไม่ผลีผลาม เขาพร้อม เขาจึงเดินไม่ใช่รีบเดินแล้วฟองสบู่แตกเหมือนไทย

การสร้าง Connection

ได้ทำการศึกษาว่ามีศิษย์เก่าพม่าเรียนที่ไทยกี่คนจากคำแนะนำขององคมนตรีนายแพทย์เกษม วัฒนชัย อย่ามองว่าการที่ประเทศไทยเคยรวยกว่าพม่า ให้ทุนพม่าเยอะ แต่ต้องศึกษาว่าพม่าที่เคยเรียนในไทยอยู่ที่ไหน และจากการศึกษาพบว่าในปัจจุบันคนพม่าไม่ได้อยากเรียนแค่ปริญญาตรีแล้ว เขาอยากเรียนปริญญาเอก เรียนแพทย์ ไทยไทยด้วย

ความต่อเนื่องกับการทำงานร่วมกับพม่าที่มูลนิธิฯ

ข้อเสียเรื่อง Facility พม่ายังไม่พร้อม ถ้านักธุรกิจไปพม่า อย่าให้ไปลงทุนในด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยเขาจะดีใจมาก การจัดวิชาการในพม่าเขาจะมีความสนใจมาก

สรุปคือ เรื่องประสบการณ์ และ Connection ที่มีกับ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ถ้าคนในห้องนี้สนใจสามารถสอบถามได้ อย่าเน้นเรื่องการรับเงิน หรือให้เงินในการทำโครงการต่าง ๆ อย่าทำเพราะ พม่าโปร่งใสในเรื่องนี้มาก ควรใช้ความสัมพันธ์ที่ดี และนับถือซึ่งกันและกันมากกว่า

การสร้างความร่วมมืออันดีกับพม่า เน้นปรัชญา 3 ข้อคือ

1. Mutual Respect

2. Equality

3. Trust

ถ้ามี 3 ตัวนี้จะทำให้ธุรกิจ Sustainability ได้

การแบ่งเขตการปกครอง

พม่ามีชนกลุ่มน้อย อยากให้ดูภูมิศาสตร์และประชากรให้ดี

ประชาคมอาเซียน

ต้องวิ่ง 3 ขา ให้ดูว่าในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

สิ่งที่ต้องทำ 3 อย่างคือ

1.การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม

ไทยกับพม่าความขัดแย้งยังน้อยเมื่อเทียบระหว่างไทยกับมาเลเซีย เช่น SMEs ไทยกับมาเลเซียแข่งกันมาก โอกาสที่ SMEs ไทยไป Access มาเลเซีย กู้เงินยากมาก อยากให้เวลามองอาเซียนให้ศึกษาให้ดี

ถ้าเป็นเรื่องภาษีระหว่างประเทศ เรื่องการลงทุน แลกเปลี่ยนบุคลากร ไทยกับพม่ามีโอกาสมากกว่าประเทศที่มีการแข่งขันกัน

2. สร้างเสริมขีดความสามารถการแข่งขัน

3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค

4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

พม่ากับการเปิดประเทศ

พม่าไม่ได้เปิดเฉพาะทางเศรษฐกิจ แต่เปิดการเมืองด้วย ให้อองซานซูจี เป็นทูตทำให้ภาพการเปิดประเทศของพม่าเด่นขึ้น แสดงให้เห็นว่าเขาเปิดประเทศค่อนข้างมาก

ถ้ามีการปฏิรูประบบการเงิน อยากให้คนไทยไปช่วย

การปฏิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยน การเงินความจริง แบงค์ชาติน่าจะเข้าไป แต่น่าเสียดายคนที่ดูแลตอนนี้เป็นสิงคโปร์ แต่ที่ดีคือเรื่องตลาดมืดมีน้อยลง

กฎหมายของพม่า ข้อดีเขียนกำกับไว้ ถ้าไทยจะไปลงทุนกับเขาให้อ่านตรงนี้

1. เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพม่า

2. ถ่ายทอดเทคโนโลยี

3. เพิ่ม Productivity และให้เกิดการแข่งขันในประเทศเขา

4. ให้การลงทุนทำให้ธุรกิจพม่าไปสู่ International Standard และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

ข้อดีของการปฏิรูปในครั้งนี้

เป็นเกมส์ที่ลดบทบาทของจีน เห็นชัดว่าพม่าอยากมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่นเรื่องพลังงาน พม่ามีศักยภาพในการทำเขื่อนที่จะทำไฟฟ้าจากแม่น้ำสาละวินมหาศาล

การไฟฟ้ามีบริษัทลูกชื่อ EGAT I ทำให้เขารู้จักกับพม่า พม่าก็อยากมีอำนาจต่อรองมากขึ้น

พม่าบอกว่าถ้ามีประเทศอื่นเป็นพันธมิตร เกมส์อันนี้ไม่ควรเล่นคนเดียว อาจเอาจีนเป็นพันธมิตรก็ได้ และหลาย ๆ โปรเจคในอนาคตต้องมีแนวร่วมหลาย ๆ ด้าน

การฉกฉวยโอกาสการลงทุนในพม่า

ต้องถามตนเองก่อนว่า ขณะนี้ไทยไม่ได้เข้าพม่าโดยเริ่มต้นจาก 0 อย่างเช่นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พม่าสนใจมาก อย่างเช่นเขามาขอเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวจาก ม.ธรรมศาสตร์ และ ม.ศิลปากรเป็นต้น

เป็นที่น่าสนใจว่าไทยน่าจะมีความสัมพันธ์กับพม่าดีกว่านี้

ที่สำคัญที่สุดขณะนี้คือเรื่องการท่องเที่ยว พบว่าประเทศไทยไปลงทุนทางการท่องเที่ยวหลายด้าน เช่น ด้านโรงแรม พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวของพม่าเพิ่มขึ้นปีละ 30 % ตอนจัด World Economic Forum กฟผ.ได้เอาโรงไฟฟ้าเก่า ๆ ไปช่วยพม่า ซึ่งพม่าชื่นชมมาก

การใช้ Labor Intensive Industry เช่น Garment พลังงาน ก๊าซจากพม่า เขื่อนจากแม่น้ำสาละวิน พบว่ามีแรงงานพม่าในไทยไม่ต่ำกว่า 3- 4 ล้านคน ให้ลองคิดว่าในอนาคตจะทำอย่างไร ถ้าพม่าเปิดประเทศแล้วดึงเอาคนของพม่ากลับประเทศ อยากให้สถาบันฯ วิจัยความสัมพันธ์ในด้านนี้ เมื่อเปิด AEC จะมีโครงข่ายด้านนี้อย่างไร

ความสัมพันธ์ของไทยกับพม่าที่เข้าไปไม่ได้เริ่มจาก 0 ไทยเป็นอันดับสามรองจาก จีน และสิงคโปร์ สรุปคืออยากให้ไทยเน้นความสัมพันธ์ที่ดี ไม่ได้มองในภาพรวมอย่างเดียว

ความแตกต่างค่าจ้างขั้นต่ำของไทยกับพม่ายังมีอยู่ เช่นเรื่องท่องเที่ยว การศึกษา การเกษตร การเกษตรแปรรูป พม่าอยากทำ Food Processing แต่ขาดคน ขาด Facility

การไปที่พม่าไม่ใช่เน้นเงินอย่างเดียว อยากเน้นที่ Transfer Technology และให้อาเซียนเป็นตลาดส่งออกไป

เรื่อง Transport แต่ก่อนนี้คนไปพม่าต้องลงที่กรุงเทพฯ ใช้สนามบินสุวรรณภูมิกับดอนเมืองประมาณ 70% แต่ปัจจุบันมีสนามบินอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมา ถ้ามีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น อยากให้ศึกษาเรื่อง Transportation และ Logistics ให้ดี

สรุปคือ จะมองจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร จุดบวกในห้องนี้ถือเป็นกำไร การลงทุนระหว่างประเทศยังต่ำอยู่ ค่าแรงถูก พม่ามี Natural Resource มากกว่าไทย เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบป้อนมาที่ประเทศไทย และโรงงานที่ตั้งอยู่ แต่ระวังเป็นกลลวง ที่เราคิดว่าจะตักตวงเขาได้ เราควรเน้นเรื่องความยั่งยืน เขามองว่าอนาคตเขาเป็นอย่างไร เพราะเขาเน้นเรื่องความยั่งยืนมาก ดังนั้นจุดเหล่านี้จึงเป็นประเด็นที่คนที่มอง Holistic ศึกษาให้ดี อีกประเด็นที่น่าสนใจคือพม่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรมนุษย์ที่เรียนรู้เร็ว ครั้งนึงเคยมีเลขาธิการยูเอ็นชื่อ อูทัน พม่านอกจากมีศาสนาพุทธที่เข้มแข็งมากกว่าไทย ยังเป็นคนที่ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน พัฒนาแล้วคนไทยต้องได้ประโยชน์ด้วย

ยกตัวอย่างเรื่องข้าว 50 ปีที่แล้ว พม่าข้าวเป็นที่ 1 ของโลก หลังจากนั้นพม่าล้มเหลว ถ้าไทยกับพม่ากับกัมพูชากับลาวจับมือกันเรื่องพันธุ์ข้าว จะดีมาก เราไม่ควรแข่งกัน อย่างคนเวียดนามที่ชนะไทยเพราะว่ารัฐบาล แต่เมื่อไรก็ตามที่รัฐบาลไทยกลับมาพัฒนาคน พัฒนาพันธุ์ข้าว ไทยก็จะกลับมารุ่งเรืองเหมือนเดิม อีกเรื่องที่น่าสนใจคือภูมิศาสตร์ ประเทศไทยใกล้พม่ามาก

นายพิษณุ สุวรรณเชฎ เอกอัครราชทูตไทย ณ นครย่างกุ้ง ประเทศพม่า บอกว่าส่วนใหญ่นักลงทุนที่ไปลงทุนที่พม่ามองแต่เรื่องกำไร อยากให้นักลงทุนมองว่าพม่าได้อะไร นี่คือจุดที่สำคัญของคนที่อยู่ในวงการนอกธุรกิจ

สรุป

ประเด็นที่สำคัญที่สุดคืออยากให้ทุกคนที่ฟังเป็นนักเรียนของความเข้าใจในความหลากหลายของประเทศเหล่านั้น ไม่ใช่เฉพาะเรื่องธุรกิจเท่านั้น

1. ประเทศพม่ากำลังปรับตัว ต้องศึกษากฎระเบียบให้รอบคอบ รู้จริง มีการศึกษาเรื่องการเงิน การเอาเงินออกนอกประเทศ โครงสร้างพื้นฐานยังไม่พอเพียง เปลี่ยนจากสังคมนิยม เป็นทุนนิยม มีการจัดระบบ มีกรมทะเบียนการค้า มีระบบภาษี ส่วนพม่ากำลังเรียนรู้อยู่ เป็นสิ่งที่ต้องระวัง

2. ทัศนคติในการสร้างมูลค่าร่วมกัน คือไปแล้วคนไทยได้ แต่เราจะแบ่งปันกัน แบ่งปันการถ่ายทอดเทคโนโลยีพม่าได้อย่างไรบ้าง

3. ต้องศึกษาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมอย่างมากที่สุด

การทำให้ภาพครบถ้วนต้องรู้ความเป็นมาของประวัติศาสตร์ ตัวอย่างที่พม่ายังไม่เคยเห็นเหตุการณ์ที่ทำให้เขาเจ็บปวด แต่ที่เวียดนาม มีพิพิธภัณฑ์ที่ทำให้เขาเจ็บปวด ประเทศไทยเคยให้ที่เป็นฐานทัพของสหรัฐอเมริกาในการบอมเวียดนาม ต้องรู้จักวิธีการพูดที่ดีกับประเทศนั้น ๆ ด้วย

สงครามในการทำธุรกิจในประเทศเหล่านี้ ต้องเป็นสงครามที่ใฝ่รู้เรียนรู้ อย่าบ้าคลั่งธุรกิจอย่างเดียว ตัวอย่างประเทศจีนอยู่รอดเช่นตั้งสถาบันขงจื้อ เขามองภาพรวมทุกอย่างเขาต้องการสร้างวัฒนธรรม

ภูมิศาสตร์พม่ากับไทยน่าสนใจมาก เป็นทั้งแหล่งธุรกิจและแหล่งยาเสพติดต้องศึกษาให้ดี อยากเห็นธุรกิจของเมืองไทยในความสัมพันธ์กับพม่าเป็นการเรียนรู้ในการระดมศักยภาพของคน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตรัสว่า เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา จึงอยากให้นักธุรกิจได้นำมาใช้ คือต้องเข้าใจเขา ต้องรู้จักและศึกษาเขาจริง ๆ และพัฒนาสู่ความยั่งยืน

Peter Drucker พูดว่า Turn Idea into Action และต้อง Sustainable Success

ผู้นำที่ดีต้องมี Skill อันหนึ่งคือ ถ่อมตัวและพร้อมที่จะรับฟัง

อยากให้การลงทุนไทยกับพม่าคือ Opportunities ที่ทำให้เกิดความยั่งยืนได้ อย่าเน้นผลประโยชน์ระยะสั้นในมิติเดียว แต่ให้เน้นการรวมพลังเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคต

การร่วมแสดงความคิดเห็น

Dr. Tang : ประเด็นในวันนี้สำคัญมากเพราะเป็นรูปแบบการพัฒนา Ecnonomic Modelที่ดี ตัวอย่างประเทศจีนเป็นประเทศที่มี GDP โต แต่มีทรัพยากรจำกัด การลงทุนในพม่าจะเป็นทิศทางการลงทุนรูปแบบใหม่ที่เน้นเรื่องความยั่งยืน

ดร.จีระ : ในโลกในอนาคต รูปแบบ Model ที่เป็นอยู่ คือการเติบโตอย่างรวดเร็ว มี GDP สูงก็ไม่มีใครอยากอยู่ การลงทุนในพม่าไม่ควรเข้าไปขยายเศรษฐกิจโดยใช้ GDP เพราะมีความเสี่ยง เช่นนักการเมืองที่ให้อีสานปลูกยางพารา ซึ่งวันนี้ยางพาราราคาตก และยางพาราเป็นพืชที่ปลูกบนเขาสิ่งนี้จึงทำลายสิ่งแวดล้อมอีก อยากให้สนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมนี้ด้วย อย่าเน้นธุรกิจเฉพาะระยะสั้น

คุณธารทิพย์ : สนใจเรื่องการศึกษากับพม่า ดร.จีระพูดได้ดีมากที่ว่าการแข่งขันในอาเซียนควรศึกษาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละประเทศเป็นอย่างไร พม่าน่าสนใจเพราะว่าในอดีตพม่าเคยเข้มแข็งมาก น่าสนใจที่จะศึกษาเรื่องวัฒนธรรม ถ้าเศรษฐกิจ ไม่มีคนเก่งมาทำประเทศก็ไม่สามารถก้าวหน้าได้

ดร.จีระ : พม่าต้องการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาก ไม่ว่าจะเป็น IT ศึกษา Facility การเงิน Supply Chain และในสิงคโปร์ก็มีคนเข้ามามาก ถ้าไทยรอ ประเทศอื่นก็เข้าไป ถ้ารอรัฐบาล ก็อีกนาน ถ้ารอธุรกิจก็อยู่ที่สถานะของธุรกิจ พม่าต้องการส่งคนมาเรียนที่ไทยมากเลย แต่เขาต้องการทุน ถ้าไม่มี สิงคโปร์อาจกินใจพม่าไปได้

คุณอรสา : การให้ทุนระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีระหว่างองค์กรหรือไม่

ดร.จีระ : มีบางธุรกิจใหญ่ ๆ เข้าไปเช่น กฟผ. ปตท. เข้าไป แต่ต้องมีคนกระทุ้ง แต่อย่ารอกระทรวงศึกษาฯ หรือกระทรวงอื่น ๆ เพราะอาจช้าไป ถ้าคนในห้องนี้ รวมตัวกันได้ และมีการประชุมเรื่องพม่าต่อ จะทำให้โครงการอย่างนี้เกิด แต่สิ่งสำคัญคือต้องต่อเนื่อง ต้องมีการ Follow up เฉพาะพม่า

ผู้เข้าร่วมฟัง : ขอสอบถามในส่วน Micro ในภาคธุรกิจเอกชน ร้านค้าซื้อมาขายไป ที่ไปลงทุนที่พม่า เช่นร้านไอทีที่เปิดในเมืองไทยแล้วจะขยายไปต่างประเทศ คำถามคือข้อกำหนดการโอนเงินระหว่างเมืองไทยกับพม่า จะมีความยุ่งยากมากน้อยแค่ไหน มีข้อจำกัดหรือไม่ เช่นซื้อมา ขายไป มีข้อจำกัดหรือไม่

ดร.จีระ : ขณะนี้กำลังปฏิรูปการเงิน จะขอไปเช็คข้อมูลให้ เพราะถ้าไม่โอนเงินกลับมาคงไม่มีประเทศไหนไปทำ แต่เข้าใจว่าคนที่ไปทำคือ IMF กับ สิงคโปร์ แต่อยากให้แบงค์ชาติเข้าไป ไทยจะได้รู้กลไกของเขา และรู้สึกดีมากที่ร้านไอทีไปเปิด ส่วนที่น่าสนใจอีกเรื่องคือร้านกาแฟ อยากให้ SMEs ของเราหรือ one person ไป แล้วมีเจ้าหน้าที่ของพม่ามาดูแล คนมีชื่อเสียงในพม่าจะทำงานด้านกีฬา

ถ้าตั้งใจไปทำไอที นอกจากย่างกุ้งแล้วขอให้ไปที่ มันดาเลย์ และเนบิดอร์ เพราะเป็นแหล่งที่ใหญ่แต่ยังขาด Modern Trade และ Shopping More

ผู้เข้าร่วมฟัง : อยู่ใกล้ชิดกับเด็กพม่า เห็นเด็กพม่าบอกว่าพม่ามีการควบคุมเรื่องการสื่อสารการใช้อินเตอร์เนตมาก รัฐบาลควบคุมหมด ถ้าลงทุนที่พม่าจะมีผลกระทบทางด้านนี้หรือไม่ และอีกเรื่องการใช้ Social Network เหมือนในจีน มีการ Sensor และ Control หรือไม่ อุปกรณ์ต่าง ๆ ทางด้านการสื่อสารเช่น Sim ถูกลงหรือไม่

ดร.จีระ : เป็นเรื่องจริง แต่ก่อนติดต่อใครไม่ได้ แต่ช่วงหลังดีขึ้น แต่เรื่องการควบคุมไม่แน่ใจขึ้นอยู่กับรัฐบาลของเขา แต่ถ้าอองซานซูจีขึ้นมาคิดว่าน่าจะเปิดหมด เขาไม่ได้แค่เซนเซอร์อย่างเดียวแต่ปัญหาอยู่ที่ Facility ด้วย พม่าในเรื่อง Media Communication ดีแน่แต่เป็นเรื่องที่ต้องนำไปคิดต่อคือการพัฒนา IT และศักยภาพคนของเขาที่อ่อนแอ

ถ้าพม่ามาเยี่ยมเมืองไทย และเราไปเชื่อมโยงกับเขาจะเป็นประโยชน์มากขึ้น

ผู้เข้าร่วมฟัง : การนำเข้า การจดทะเบียนมีปัญหาพอสมควร เพราะพม่ายังไม่มีความรู้เรื่องนี้

ดร.จีระ : ปัญหาเรื่องทำธุรกิจ พม่าต้องจัดระบบให้ดี แต่ถ้าไทยมีนโยบายรุกเช่น การร่วมมือกับกรมพัฒนาธุรกิจ และเรื่องอื่น เห็นด้วย และจะศึกษาเรื่องเหล่านี้มากขึ้น วิจัยที่ ผอ.ปัญญาภิวัฒน์ว่าไหวและถ้ายังไม่มีใครทำอาจจะร่วมมือกันได้

ผู้เข้าร่วมฟัง : จากที่อาจารย์บอกว่ามีการปฏิวัติทางการเงินที่พม่า ประเทศไทยจะมีการเข้าไปช่วยตรงนี้เพื่อกระชับความสัมพันธ์มากขึ้น

ดร.จีระ : การเงินเห็นอยู่แล้วว่ามีปัญหาเพราะถ้าไม่ปฏิรูปเรื่องการเงิน การคลังต้องเจ๊ง สำหรับประเทศไทยต้องมีแบงค์ชาติเข้าไป และให้มีมหาวิทยาลัยไปร่วม ให้มีการร่วมมือระหว่างประเทศอย่างเช่น USAID อย่างอเมริกาช่วยสร้างความสัมพันธ์ ประเด็นเด่นชัดคือมี Strategy อาจเชิญคนที่มีปัญญาอย่าง ดร.สมเกียรติ TDRI ร่วมด้วย เราต้องใช้สื่อในการร่วมกระตุ้นให้คนตระหนักมากขึ้น พม่าเป็นสังคมนิยม ไม่มีตลาด ทุกอย่างกำหนดด้วยนโยบายของรัฐบาล ค่าใช้จ่ายกินข้าวแกงข้างถนนประมาณ 50 บาท ค่าใช้จ่ายแพงมาก ถ้าไม่ปรับปรุงแล้วใครจะไป ในที่สุดต้องปรับตัว โรงแรมบางแห่งราคาแพงมาก คราวหน้าอาจให้เชิญแบงค์ชาติ TDRI มาร่วมประชุมด้วย

เรื่องพม่าอยากให้ลึก วัดผล ต่อเนื่อง สงครามไม่ได้ชนะที่สัมมนา

ถ้าเป็นกลุ่มที่เอาชนะอุปสรรค ต้องใช้วันนี้เป็นโอกาสที่เรารู้จักกัน

ถ้าหวังจะแก้ปัญหาเรื่องการเงิน แนะนำว่า TDRI กับ แบงค์ชาติดีที่สุด

สังคมไทยต้องเป็นคนที่รู้จักความสัมพันธ์ และต้องเป็นความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อง

ผู้เข้าร่วมฟัง : เคยได้ยินว่าจะทำธุรกิจพม่าให้ประสบความสำเร็จต้องรู้จักกับรัฐบาลโดยเฉพาะรัฐบาลทหาร การค้าชายแดนไม่เพียงพอกับการเติบโตเร็วขณะนี้ จึงอยากเข้าไปเอง แต่เพียงพอหรือไม่ที่ต้องหาพันธมิตรกับรัฐบาลพม่าโดยเฉพาะทหาร

ดร.จีระ : ทหารเป็นจุดเริ่มต้น แต่อาจลดบทบาทลงในอนาคตเนื่องจากจะต้องเปิดประเทศ พม่าก็จะมีการค่อย ๆ ผ่อนลง แต่ยังมีนักวิชาการ คนที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับทหาร แต่คนเหล่านั้นต้องรู้จัก ไม่จำเป็นต้องรู้จักทหาร แต่ต้องมีคนแนะนำเข้าไป จึงอยากให้ปัญญาภิวัฒน์และนิตยสารการค้าอาเซียน จัดอีกครั้ง ไปศึกษาและสร้าง Connection ที่พม่า เอาแค่ 5 Sector ไป 5 วัน ไปมันดาเลย์ เนบิดอร์ ย่างกุ้ง และถ้าคิดว่าจะเอาจริงด้านการก่อสร้าง ก็ต้องสร้างความสัมพันธ์แน่นอน แต่อย่าลืมหอการค้า นักธุรกิจที่จะเข้าไปติดต่อด้วย

ผู้เข้าร่วมฟัง :ความสวยงามของพม่าคือวัฒนธรรม และศาสนาพุทธ ซึ่งศาสนาพุทธแข็งแรงมากกว่าประเทศไทย พบว่าหลัง 5 โมงเย็น ร้านปิดหมด และมีคนส่วนใหญ่สวดมนต์หลัง 5 โมงเย็น ถ้าทุนนิยมเข้าไปมากขึ้นจะเปลี่ยนวิถีชีวิตหรือไม่

ดร.จีระ : พม่าเห็นความล้มเหลวของไทยแล้ว คนในพม่าอาจจะระมัดระวัง แต่อยู่ดี ๆ อาจไม่พัฒนาเลยไม่ได้ ไม่มีศูนย์การค้า โรงหนัง อาจเป็นการทำลายโอกาสที่สมดุล เพราะอยู่ดี ๆ เข้าวัดอย่างเดียวไม่ไหว ดังนั้น State of Development ต้องระมัดระวัง อย่างไทยเปิดมากเกินไป เห็น KFC แมคโดนอล สตาร์บัคส์ ไทยไม่มี Urban Planning ระมัดระวังเรื่องเศรษฐกิจทุนนิยมด้วย อย่าทำทุกอย่าง

ผู้เข้าร่วมฟัง : เคยไปพม่าเมื่อ 7-8 ปีก่อน ได้เข้าไปมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ห้องทานข้าวเป็นพม่าลายดอก ๆ มีเอาปิ่นโตมาแชร์กัน เมื่อ 2-3 วันก่อนอ่านมติชนพูดเรื่องปิ่นโตและการลงทุนในพม่าพบว่าปิ่นโตไทยดีมาก ต้องหิ้วลายปิ่นโตหัวม้าลายออกว่าเป็นการลงทุนที่ดีมาก ดังนั้นการลงทุนในพม่าไม่ใช่การลงทุนในเรื่องพืชอย่างเดียว แต่เรื่องในชีวิตประจำวันก็สามารถขายได้

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษาของพม่าถ้าจบมัธยม ถ้าเทียบเท่าประเทศไทยเทียบแค่เกรด 11 ไม่เท่า ม.6 ของประเทศไทย จึงต้องขวนขวายเรียน กศน.ของอเมริกา เพื่อให้มีวุฒิเพิ่มขึ้น และแสวงหาทุนจากที่ต่าง ๆ เพื่อเรียนต่อในประเทศไทยด้วย ที่ม.รังสิต มีทุนสนับสนุนพบว่าเขาเรียนสังคม เศรษฐศาสตร์ การเมืองเป็นส่วนใหญ่เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ไม่เลือกเรียนด้านธุรกิจการลงทุนเพราะว่าเขาไม่มีงานทำ

อยากทราบว่าที่บอกว่าคุณภาพทรัพยากรมนุษย์พื้นฐานดีสามารถพัฒนาได้ มีปัจจัยอะไร

ดร.จีระ : พม่าเรียนหนังสือด้วยความมุ่งมั่นไม่ใช่ค่านิยม พื้นฐานพม่าดีไม่ว่าจะเป็น Basic Science พื้นฐานดี ความจริงคนไทยน่าจะมีพื้นฐาน Left Brain ก่อน แล้วเมื่อชอบสาขาอื่นค่อยไป แต่เราแยกเกินไป อย่างเมืองนอกเก่งจริงเรียน Basic Science และถ้าชอบไปเรียน Literature แต่ประเทศไทยไปเวอร์ที่ค่านิยม ในต่างประเทศภาษาอังกฤษ Literature นำโลก แต่พม่าเรียนหนังสือเพื่อเป็นพื้นฐาน เหมือนขึ้นบันได แต่ของประเทศไทย นักการเมืองจบปริญญาเอก แล้วมีปริญญาเอกไปเพื่ออะไร

มีคนลือว่านักเรียนที่เข้าเรียน Basic Science จะมาจากกลุ่มประเทศ GMS ประเทศไทย Basic Science อ่อน ไทยต่อยอดในสิ่งที่อ่อนแอ คนพูดเรื่องนี้ ดีที่สุดคือ ดร.พรชัย ไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่เรียน Apply Science ก่อนเรียน Basic Science ถ้า Basic ดี เรา Shift ได้ ถ้าเรามีพื้นฐานในการเอาชนะ

อย่าง IT ไทยน่าจะมีศักยภาพในเรื่องนี้ ไม่เช่นนั้นฟิลิปปินส์จะเข้าไป

ผู้เข้าร่วมฟัง : เป็นคนที่ไม่รู้จักพม่าเลย แต่อยากเข้าไปลงทุนอย่างยิ่ง อยากทราบว่าพม่ามีความมั่นใจอะไรบ้างที่สร้างให้นักลงทุนพอก้าวเดินไปได้หรือไม่

ดร.จีระ : ศักยภาพพม่าวันนี้ ต้องหาช่องว่าง เช่น เกษตร เกษตรแปรรูปอาหาร Modern Mall จิวเวอรี่ สิ่งทอ การบริการต่าง ๆ ให้ดูว่า Sector ใดที่ไทยมีศักยภาพแต่พม่ามีไม่พอเราสามารถเข้าไปร่วมมือกับเขาได้ ไม่ใช่ไปเพราะอยากไป แต่ต้องรู้ว่าเราเก่งอะไรก่อน อย่างเช่น MK อาจไปแน่ หรือ IT อาจมีการทำ Cyber Café ซึ่งในพม่าขาดมากเพราะโครงสร้างพื้นฐานไม่ดี สรุปคือต้องศึกษาตนเองก่อนว่าตนเองมีศักยภาพอะไรและช่องว่างในพม่ามีอะไรบ้าง

ผู้เข้าร่วมฟัง : แม้พม่าเปิดประเทศมามากแล้วแต่ยังอยู่ในอิทธิพลของนายพลอาวุโสเป็นไปได้ที่พม่าจะล้มกระดานอีกครั้งหนึ่ง และวิเคราะห์ประเด็นของการศึกษาไทยทำไมถึงล้มเหลว

ดร.จีระ : พม่าคนที่จะขึ้นมาเป็นใหญ่ได้คือคนที่คุมกำลังและปราบชนกลุ่มน้อย ต้องเป็นนักรบก่อน พม่าจะเข้มแข็ง คราวนี้ตันส่วย รู้แล้วว่าการเปลี่ยนแปลงของโลกทำให้พม่าต้องเพิ่ม Economic Development โดยร่วมกับพันธมิตรจากต่างประเทศอย่างจีนจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำ ที่ร่วมปฏิวัติซ้อนไม่น่าจะมี โอกาสล้มกระดานในอนาคตไม่น่าจะมี แต่ก็ไม่สามารถการันตีได้

การศึกษาไทย พูด 2 ประเด็นคือ

1. วิธีการเรียนรู้ Learning how to learn เรียนเยอะแต่ทำงานไม่เป็น

2. กระทรวงศึกษาธิการต่างกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขมีเครือข่าย แต่กระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์อำนาจอยู่ที่เขาจะให้มีคุณภาพได้อย่างไร ดังนั้นในอนาคตเรื่องการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น การศึกษาในอนาคตต้องกระจายไปในต่างจังหวัดในท้องถิ่น ตัวอย่างมหาวิทยาลัยในอเมริกาขึ้นกับรัฐบาลท้องถิ่นเก็บภาษีมาลงทุน แต่ของไทยขึ้นกับรัฐมนตรีที่เป็นส่วนกลาง ดังนั้นถ้าจะทำการศึกษาขอยกตัวอย่างโรงเรียนเล็ก ๆ ที่เขาไม่คาดถึงว่ามีความสามารถขับเคลื่อนองค์กร เช่นโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง โรงเรียนโยธินบูรณะ มี Bilingual อันดับต้น ๆ ของไทย เราต้องยกย่องโรงเรียนที่เขากล้า และมองอนาคตการศึกษา ผอ.ส่วนมากเป็นหัวคะแนนนักการเมือง

Dr. Tang :

1. การลงทุนที่พม่าต้องลงทุนที่ New Model คือพัฒนาสิ่งแวดล้อมด้วย

2. เรื่องการค้า สิ่งสำคัญต้องถามว่าคนพม่าได้อะไรบ้าง ไม่ใช่เราได้อะไรบ้าง

3. คนพม่าเก่งมาก เรียนรู้เก่งและ แก้ปัญหา (Improvise) เก่งมาก เพราะเขามีปัญหาเยอะ

การทำอย่างไรเข้าสู่พม่าได้ เราต้องไปศึกษาเอง เช่นจัดทริป อย่างเช่นที่อาจารย์แนะนำให้ไป

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท