วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

สรุปการจัดการความรู้เรื่อง การเผยแพร่งานวิจัย (ครั้งที่ 1)


จากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเผยแพร่งานวิจัย ณ ห้องประชุม 1601 ชั้น 6 อาคารเรียน 1 ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 11.30-14.00 น. มีอาจารย์นำเสนอ 4 ท่านได้แก่

              อ.ดร.สิรีวัฒน์ อายุวัฒน์   จากภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน

              อ.ดร.อัศนี วันชัย          จากภาควิชาพื้นฐานและพัฒนาวิชาชีพ

              อ.จารุวรรณ รังสิยานนท์  จากภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และผดุงครรภ์

              อ.ดร.กรวิกา พรมจวง     จากภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

ผลการประชุมการจัดการความรู้ ได้ข้อสรุปดังนี้

ขั้นตอนการตีพิมพ์

  1. ขั้นเตรียมก่อนการตีพิมพ์ ต้องวางแผนก่อนการตีพิมพ์ ดังนี้

         1.1. เลือกวารสาร โดยมีหลักการเลือกดังนี้

  • วารสารต้องอยู่ในฐานข้อมูลที่ได้รับการรับรอง ดูฐานข้อมูลวารสารต่างประเทศจากเวบไซด์ SciMago หรือ วารสารในประเทศจากเวบไซด์ TCI
  • เลือกวารสารที่เหมาะสมกับเรื่องที่จะเขียน วิธีการเลือกโดยศึกษาจากเอกสารอ้างอิงจากบทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราจะเขียนว่ามีวารสารฉบับใดบ้างที่บทความนั้น ๆ อ้างอิง
  • จัดลำดับวารสารที่จะส่งตีพิมพ์ 3 อันดับ
  • ศึกษา Impact Factor หรือดูว่าอยู่ในฐานอ้างอิงของ PubMed หรือไม่

        1.2 ศึกษา Author Guidelines เพื่อศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของงานวิจัยที่จะตีพิมพ์ว่าเป็นเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ แนวทางการเขียนต้นฉบับและเงื่อนไขของวารสารนั้น ๆ เช่น รูปแบบ จำนวนตัวอักษร จำนวนรูปภาพ ตาราง รูปแบบการอ้างอิง ค่าใช้จ่ายมีหรือไม่มี เป็นต้น

        1.3  พริ้นตัวอย่างของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารมาดูเป็นแนวทาง เลือกบทความให้ตรงกับรูปแบบที่วางแผนจะเขียน เช่น วิจัยเชิงคุณภาพ วิจัยเชิงปริมาณ Systematic Review เพื่อดูลักษณะการเขียนบทความ

  1. ขั้นลงมือเขียน

        2.1 วาง Outline

        2.2 เขียนต้นฉบับหลาย ๆ ต้นฉบับ 1, 2, 3, และอื่น ๆ

        2.3 ให้ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยอ่าน

        2.4 อย่าเขียนทุกอย่างลงในบทความฉบับเดียว คำนึงถึง Guidelines เป็นหลัก

  1. ขั้นเตรียมตีพิมพ์

        3.1 เตรียม Cover letter ถึงบรรณาธิการ ชี้แจงว่าเป็นวิจัยชนิดไหน IRB ที่ไหน

        3.2 จัดแบ่งไฟล์ เช่น เนื้อหาหลัก ตาราง รูปภาพ บทคัดย่อ

  1. ขั้นส่งตีพิมพ์

       4.1 Copyright จากผู้เขียนทุกคน

       4.2 ลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบการเขียนบทความทางออนไลน์สำหรับวารสารนั้น ๆ

       4.3 ดำเนินการตามขั้นตอนของวารสาร

       4.4 รอรับอีเมล์ ว่าบรรณาธิการได้รับบทความแล้ว

       4.5 กระบวนการ Review มีดังนี้ บรรณาธิการตรวจสอบเนื้อหาและรูปแบบว่าเหมาะสมกับวารสารหรือไม่ ส่งบทความถึง Reviewers ให้ข้อเสนอแนะ บรรณาธิการตัดสินใจขั้นสุดท้าย

       4.6 รอฟังผล ปกติจะ 6-8 สัปดาห์ คำตอบมี 4 แบบ

            4.6.1 Accept

            4.6.2 Minor Revision

            4.6.3 Major Revision

            4.6.4 Reject

  1. ขั้นดำเนินการหลังได้รับคำตอบ

         5.1 ถ้าได้รับการตอบรับแบบมีเงื่อนไขให้แก้ไข

               5.1.1 พิจารณาข้อเสนอแนะของบรรณาธิการและ Reviewers

               5.1.2 ดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะ

               5.1.3 ทำจดหมายชี้แจงข้อแก้ไขพร้อมทำตารางเปรียบเทียบสิ่งที่เสนอแนะกับสิ่งที่เราแก้ไข

         5.2 ถ้าได้รับการปฏิเสธ

               5.2.1 อ่านข้อเสนอแนะ แก้ไข

               5.2.2 หาวารสารใหม่โดยลดระดับวารสารลงมา

          5.3 ถ้าได้รับการตอบรับ รอเจ้าหน้าที่ติดต่อเพื่อแก้ไขข้อสงสัยต่าง ๆ ตรวจสอบรอบสุดท้ายก่อนตีพิมพ์

      6. เหตุผลที่โดนปฏิเสธ

          6.1 ไม่ทำตาม Guidelines

          6.2 เขียนเหมือนรายงานส่งครู

          6.3 ข้อมูลไม่ถูกต้อง ผิดข้อเท็จจริง ไม่ทันสมัย

          6.4 สไตล์การเขียนอ่านแล้วงง ผิดหลักไวยกรณ์

          6.5 หัวข้อไม่เหมาะสมกับวารสารนั้น ๆ ไม่เหมาะกับวารสารนั้น ๆ ไม่เหมาะกับกลุ่มผู้อ่าน

          6.6 ประเด็นจริยธรรมการวิจัย (Ethical concerns)

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการตีพิมพ์ผลงานวิจัย

  1. มีเวลาในการเขียนบทความ
  2. มีเพื่อนหรือผู้ร่วมเขียนที่ดี ช่วยอ่าน ช่วยวิจารณ์งานเขียน
  3. ทำตาม Guidelines อย่างเคร่งครัด
  4. เขียนเรื่องที่น่าสนใจ ทันสมัย
  5. ข้อมูลต้องถูกต้อง ไม่ผิดข้อเท็จจริง ทันสมัย
  6. ตรวจสอบไวยากรณ์ให้ถูกต้อง
  7. เลือกวารสารที่เหมาะสมกับบทความ 

ขั้นตอนการนำเสนองานวิจัยในเวทีระดับชาติหรือนานาชาติ (Oral or Poster Presentation)

  1. แสวงหาเวทีในการนำเสนอ เช่น การประชุมวิชาการ

        1.1 สมัครไปร่วมนำเสนอผลงานวิจัย และเข้าร่วมประชุมวิชาการ

             1.1.1 ส่งบทคัดย่องานวิจัย

             1.1.2 ศึกษาหัวข้อ รูปแบบ ตามที่ผู้จัดประชุมกำหนด

        1.2 ติดตามผลการตอบรับหรือปฏิเสธ

  1. การเตรียมต้นฉบับผลงานวิจัยหรือ Proceeding

         2.1 วางแผนขั้นตอนการนำเสนอ เช่น ความสำคัญของปัญหา กรอบแนวคิด ระเบียบวิธีการวิจัย ผลการวิจัย และสรุปผลการวิจัย

         2.2 ตรวจสอบความถูกต้อง การสะกดคำ จำนวนคำ ภาษา

         2.3 รูปแบบการนำเสนอตามที่เวทีวิจัยกำหนด

         2.4 ให้เพื่อนหรือผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบบทคัดย่อภาษาอังกฤษให้ถูกต้องตามไวยากรณ์

  1. การเตรียมสื่อ เช่น สไลด์ หรือโปสเตอร์

         3.1 หลีกเลี่ยงภาษาพูดหรือภาษาสแลง

         3.2 การนำเสนอตาราง รูปภาพ หรือสถิติ ควรใช้ทศนิยมไม่เกิน 2 ตำแหน่ง ขนาดตัวอักษรใหญ่ อ่านง่าย และเข้าใจง่าย อ้างอิงด้วยอักษรตัวเล็ก

         3.3 เก็บไฟล์สำรองไว้หลาย ๆ ที่ เช่น แผ่นซีดี Thump drive หรือฝากไว้ในอีเมล์ของตนเอง 1-2 อีเมล์

  1. การเตรียมนำเสนอตามวัน เวลา สถานที่

        4.1 เตรียมตัวผู้นำเสนอ ซักซ้อมการนำเสนอให้เหมาะสมกับเวลาที่กำหนด ซ้อมให้เพื่อนฟัง ซ้อมจนจำได้ทุกประโยค ซ้อมกับเครื่องจริง

        4.2 ไปเตรียมตัวก่อนเวลา ตรวจสอบสถานที่ที่ผู้จัดประชุมกำหนด ความพร้อมของสื่อ

        4.3 เตรียมนามบัตร

  1. การนำเสนอ

        5.1 นำเสนอช้า ๆ ชัดเจน เสียงดังทั่วถึง

        5.2 การแต่งกายที่เหมาะสม

        5.3 ท่าทางการนำเสนอ ทั้งท่ายืน และท่านั่ง สง่างาม การสบตาผู้ฟัง

        5.4 แบ่งเวลาการนำเสนอ ฟังคำถามให้จบ วิเคราะห์คำถาม ทวนคำถาม ตอบคำถาม ตรวจสอบว่าตอบตรงคำถามหรือไม่

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการนำเสนอเวทีวิชาการ

  1. เลือกเวทีให้ตรงกับหัวข้อ
  2. หัวข้อมีความทันสมัย
  3. นำเสนอให้ตรงกับประเด็นของการประชุมวิชาการ
  4. รูปแบบการวิจัยต้องมีความถูกต้อง
  5. นำเสนอการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
  6. ผู้วิจัยควรเป็นผู้เตรียมสไลด์เอง และนำเสนอเอง

 

 

หมายเลขบันทึก: 562574เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2014 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2014 07:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

บรรยากาศการและเปลี่ยนเรียนรู้ไม่เครียดดีค่ะ

เนื้อหามีความชัดเจน ได้แนวทางนำไปสู่การปฏิบัติ ประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานของตนเองได้ ขอบคุณมากคะ

เนื้อหาอ่านเขัาใจง่าย เหมาะกับการเรียนรู้. น่าจะเผยแพร่ต่อไปอีกครับ. เป็นบทความการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี.

หลักการที่ให้ดีมาก แต่ถ้าจะให้ดีต้องมีเวลาในการเขียน

เนื้อหามีความชัดเจน เข้าใจง่ายเหมาะสมที่จะนำไปเป็นแนวทางในเตรียมการเผยแพร่และนำเสนอ

ดีมากเลยครับ ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันบทความดีๆ ทำใหทราบถึงวิธีการเผยแผ่งานวิจัย

ไปเวทีภายนอกครับ

เจ้าร่วมแลกเปลี่ยนแล้วมีประโยชน์มากค่ะ..ดีใจที่ได้ฟังเพราะได้ทราบแนวทางการเผยแพร่วิจัยทั้งในและต่างประเทศ..ขอชื่นฃมทุกท่านค่ะ

มีประโยชน์ และเป็นแนวทางที่ดีกับคณาจารย์ทุกท่านในการที่จะตีพิมพ์ผลงาน คะ นอกจากนั้นทำให้ทราบเครือข่ายในวพบ.ที่จะช่วยในการเตรียมเนื้อหาเพื่อตีพิมพ์คะ

สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการเตรียมตัวเพื่อส่งผลงานตีพิมพ์ในวารสารได้ ขอชื่นชมทุกท่านคะ

จะส่งบทความไปแต่ละที่ และได้คะแนนเท่าไหร่ ดูตรงไหนนะค่ะ วันนั้นหนูหาเองและก็ลืมเองค่ะ ใครพอจำได้บ้าง แฮะๆๆๆ

สำหรับวารสารไทยเข้าไปในเว็บของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ได้เลยค่ะ ล่าสุดที่รับรองถึง 31 ธันวาคม 2557 http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/Evaluation...

ส่วนรอบที่ 3 ศูนย์กำลังดำเนินการประเมินใหม่ 20 ก.พ. 57 ค่ะ

วารสารต่างประเทศเข้าไปในเว็บ SCIMAGO ข้างล่างนี้น่ะค่ะ

http://www.scimagojr.com/journalrank.php

บรรยากาศสนุกเป็นกันเอง เป็น KM ที่รู้สึกดีได้แลกเปลี่ยนความรู้จริงๆค่ะ

ขอบคุณ ดร.อัศนี ที่ให้ข้อมูลเพิ่มค่ะ

จะนำไปใช้ในการตีพิมพ์ บทความวิจัยในวารสารต่างประเทศคะ

ดีมากคะ อยากให้มีภาคภาษาอังกฤษ

เป็นแนวทางในการที่จะตีพิมพ์ผลงานวิจัยและวิชาการที่ดีมากค่ะ และเป็นแรงบันดาลใจให้ส่งผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ต่อปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท