ละครกับการเรียนรู้


... การเรียนรู้คู่กับละครเร่ เป็น PBL ได้เช่นเดียวกับโครงงาน ...

ละครเร่ กับการเรียนรู้ที่ "พอดี"

 

       ละครเร่ในมุมมองของกระผมเอง นับได้ว่าเป็นอีก ศาสตร์หนึ่ง ที่เป็นส่วนหนึ่ง ของการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 เป็นการเรียนรู้ที่พอดี ซึ่งนอกจากที่โครงานที่เด็กได้ทำเเล้วเกิดการเรียนรู้ ในบ้านเกิดของตนเองพร้อมกับการที่จะเเก้ไขปัญหาหรือเรียกว่าการเรียนรู้อยู่บนสภาพปัญหาเเล้วนั้น การละครเร่ยังเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่เป็นอีกทางเลือกในการพัฒนาความคิดของเด็กให้ก้าวทัน พร้อมรับกับการเปลี่ยนเเปลงที่จะเกิดจะอยู่ตลอดเวลา  นับได้ว่าก็เป็น (PBL) เช่นเดียวกับโครงงาน เพราะศาสตร์ของละครเร่เป็นกระบวนการกลุ่มที่ต้องใช้ทักษะมากมายที่เข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ สมาธิ  ความเชื่อ จินตนาการ  ความรู้ที่ศึกษา  การเขียนบทละคร  การกำกับบทละคร  การดูว่าภาพที่สื่อออกมาชัดเจนหรือไม่  การยอมรับคำวิจารณ์เเล้วไปปรับปรุงเเก้ไข เเล้วที่สำคัญมีเป้าหมาย คือ การเชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายได้มองดูบนตนเองในประเด็นปัญหาที่จะเกิดขึ้น หรือเป็นการลงสู่ชุมชนจริงๆเพื่อเเก้ไขปัญหาจริงๆในเเบบของการใช้ความค่อยเป็นค่อยไป พร้อมที่จะเปลี่ยนเเปลงผู้คนให้ไปในทางที่ดี 

         การเรียนรู้เเบบละครเร่เป็นการเรียนรู้บนสภาพปัญหา เช่นเดียวกันกับโครงงานที่เราให้เด็กๆได้ทำ ทักษะของละครเร่ยังย้ำเตือนให้ผู้เเสดงกล้าเเสดงออกมากยิ่งขึ้นไปอีก มีการฝึกคิดเป็นภาพ ให้เห็นเด่นชัดเป็นภาพอย่างชัดเจน เเต่การที่จะเห็นซึ่งภาพในเเต่ละฉากนั้นต้องใช้กระบวนการกลุ่มเข้าร่วมด้วยช่วยกัน ในระหว่างที่กำลังจัดตำเเหน่ง การคุยกันย่อมเกิดขึ้น การถกประเด็นกันย่อมเกิดขึ้น เพราะการละครเร่ต้องเป็นการสื่อสารเป็นสิ่งหลัก "ไม่งั้นจะมองภาพไม่ออกเเละไม่เข้าใจกัน" ถกประเด็นกันก็เพื่อที่จะสื่อสารเป็นคนเเสดง เป็นสิ่งต่างๆออกมาให้ผู้ชมได้เข้าใจชัดเจนว่าสิ่งนั้นคืออะไร   การละครเร่เน้นย้ำความเชื่อ  จินตนาการ  เเละสมาธิ  มีกระบวนการคิดหลักๆในการเขียนเรื่องละคร 1 เรื่องขึ้นมา คือ 5 ภาพ (เเต่การที่จะได้มาซึ่ง 5 ภาพนั้นเราต้องศึกษาก่อนเป็นสิ่งเเรก) อันได้เเก่

        การศึกษางาน เป็นการศึกษาเรื่องราวของกลุ่มเป้าหมายของเรา หรือตำนาน หรือ นิทานนั้นอย่างลึกซึ้ง เพื่อที่จะนำมาเขียนเป็น 5 ภาพของละครได้ เเล้วเมื่อได้ข้อมูลของเราเเล้ว ก็ต้องมานั่งคุยกันในเรื่องการวางเรื่องใน 5 ภาพของเราด้วยการระดมสมอง กระบวนการกลุ่ม

        ภาพที่ 1 คือ ภาพของจุดเริ่มต้นของละคร ซึ่งจุดเริ่มต้นนี้ก็เหมือนกับจุดเริ่มต้นทั่วๆไป ตามเรื่องที่เราจะทำขึ้นมา อาจเปรียบได้กับ สภาพปัญหาทั่วไปของโครงงานที่เราจะทำ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร เเต่ก่อนเป็นอย่างไร  ที่มานั้นมาอย่างไร มีหลักการหรือทฤษฎีอะไรที่เป็นจุดเริ่มต้นทำให้เกิดเรื่องราว

        ภาพที่ 2 คือ ความขัดเเย้งของเรื่อง หรือปมของเรื่อง เป็นความต่อเนื่องมาจากภาพเเรก ที่ภาพเเรกเป็นสภาพปัญหาทั่วไป หรือเเต่เดิมของเราเป็นอย่างไร ภาพที่สองนี้ชวนเรามานั่งคิดว่า "มันเกิดอะไรขึ้น" ที่ทำให้ปัจจุบันเราเปลี่ยนเเปลงไป ทั้งๆที่เราเคยทำเช่นนี้เมื่อก่อนเเล้วเรามีความสุข เเล้วทำไมเมื่อเราได้ทำสิ่งนั้นในเวลานี้เเล้วเราไม่มีความสุข หรือจุดที่เป็นปัญหาของเรานั้นคืออะไร  ปัญหาที่เกิดขึ้นของสังคมเรานั้นคืออะไร เกิดมาได้อย่างไร (ทำให้ต้องงนึกย้อนดูอีกครั้งเเล้วอาจศึกษาเข้าอีกรอบหรือหลายๆรอบก็เป็นได้)

        ภาพที่ 3 คือ ผลที่เกิดขึ้น ภาพนี้จะให้เเนวคิดในการมองโลกกว้างว่า สิ่งที่เป็นปัญหานั้นจะส่งผลกระทบในทั้งด้านดี เเละด้านเสียอย่างไร ต่อใคร เเล้วเขาเป็นอย่างไร ซึ่งเปรียบได้กับผลเเห่งพฤติกรรมขอเราเป็นอย่างไร  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  ด้านสังคม  ด้านสิ่งเเวดล้อม ด้านวัฒนธรรม หรือด้านจิตใจ เป็นการมองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจะส่งผลอะไร อย่างไรได้บ้าง เพื่อที่จะนำไปสู่วิธีการในการเเก้ไขปัญหา

        ภาพที่ 4 คือ วิธีการเเก้ไข ซึ่งเปรียบได้กับ การเเนะนำกลุ่มเป้าหมายของเรา ให้มีพฤติกรรมไปในทางที่ดี เเต่ต้องตั้งอยู่บนฐานของความจริงที่สามารถทำได้ เปรียบได้กับการดำเนินงานของเราว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดภาพฝันของเราที่อยากให้ปัญหานั้นดีขึ้น วิธีการเเก้ไขนั้นนอกจากที่เราจะไปย้พเตือนกลุ่มเป้าหมายเเล้ว อาจตั้งอยู่บนสิ่งที่เราจะไปช่วยกลุ่มเป้าหมายจริงๆก็สามารถทำได้ตามความเหมาะสม ตามความคิดของเรา ที่มองว่าเหมาะสม

        ภาพที่ 5 คือภาพฝันที่อยากจะให้เกิดขึ้น เป็นความหวังสูงสุดหรือผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นเป้าหมายที่อยากให้ สิ่งนั้นๆ ปัญหานั้นๆดีขึ้นมา ด้วยเเนวคิดที่จะเเก้ไขปัญหาของเราเอง สิ่งที่อยากเห็นเมื่อเราได้เเก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับศักยภาพของเรา  อาจใช้สิ่งที่เราจะไปทำให้กลุ่มเป้าหมายดีขึ้น ใช้ภาพที่เห็นว่าจะเป็นผลเเห่งการพัฒนาหากเขาได้ปรับเเนวคิดออกมาให้เห็นเป็นภาพ 

        เมื่อได้ครบ 5 ฉากเเล้วสิ่งสำคัญที่จะต้องทำต่อไป คือ การเขียนบท ซึ่งในการเขียนบทนี้ มีการถกประเด็นกันด้วยกระบวนการกลุ่ม  ตั้งเเต่เริ่มเขียน เเล้วมานั่งคุยกันอีกครั้งก็ต้องคิดอีกว่า มีความเหมาะสมหรือไม่ รุนเเรงไปหรือไม่ จากนั้นไม่นาน "ถ้าคุยกันมากเกินไปจะไม่เห็นภาพ" ก็ต้อง ทำทันที เพราะจะได้มองเห็นภาพกันทุกคน การทำเห็นเห็นภาพนี้เองเป็นการลุกขึ้นเเสดงลองดูเลย เเล้วมาดูกันอีกที ว่าเหมาะสมหรือไม่ ฉากสมดุลหรือไม่  เเล้วต้องซ้อมกันไปทีละฉากๆ คุยกันไปทีละฉาก เเล้วนำมารวมกันเป็นละคร 1 เรื่อง  วิธีการเดียวที่จะทำให้ละครออกมาดี คือ การวิจารณ์ เมื่อมีการวิจารณ์เเล้วนั้น การยอมรับเเละปรับตัว หรือความยืดหยุดก็เกิดขึ้น ในตัวของผู้เเสดง

        การละครเร่ เป็นกระบวนการกลุ่มที่มีทั้ง การคุยงานกันก่อนทำ ขณะทำ เเละหลังทำอย่างครบถ้วน มีการมองดูภาพที่เราอยากจะสื่อว่าชัดเจนหรือไม่  เป็นการเรียนรู้ทั้งข้อมูลเเละทักษะการใช้ร่างกายรวมไปถึงการใช้สมอง ในการเชื่อมโยงระหว่างตำนานกับปัญหาของเราเอง เชื่อมโยงในการเล่นธาตุประกอบให้เนื้อของละครมีความสนุก  มีการใช้จินตนาการที่เป็นตัวตนของเราเอง เน้นย้ำความมั่นใจความเชื่อในตนเองให้เพิ่มขึ้น เน้นย้ำสมาธิที่สามารถปรับใช้ได้กับงานทุกอย่างทำให้นิ่งขึ้น เเล้วสิ่งสำคัญยังทำให้รู้จักตนเองมากยิ่งขึ้น 

        ละครเร่เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุดเหมือนกับโครงการ คือ มีการต่อยอดขึ้นไปเรื่อยๆ จากคำวิจารณ์ จากคำเเนะนำ ทำให้มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา  ละครเร่ไม่ได้จำกัดขอบเขตทางการคิด เป็นการคิดให้เหมาะสมกับการสื่อสาร ออกไปสู่สังคม เป็นการเปิดให้มีความคิดอิสระเเต่ต้องตั้งอยู่บนฐานของความจริง 5 ภาพของละคร เป็นรูปเเบบในการคิดที่เหมือนๆกับโครงงาน ทักษะภายใน จินตนาการ ความเชื่อ  สมาธิ ทำให้พัฒนาการทางด้านความคิดดีขึ้น ทำให้ได้ฝึกสมอง  ทักษะภายนอก ทำให้ร่างกายมีสมรรถภาพดียิ่งขึ้น ... การเรียนรู้คู่กับละครเร่ เป็น PBL ได้เช่นเดียวกับโครงงาน ... 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 562070เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ใครได้ประโยชน์จาก "ละครเร่" มากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปน้อย.... สมมติคำตอบมี ๓ ชื่อ ... ใช่คำตอบเดียวกับที่ยึดถือกันมาหรือไม่... หากไม่ แสดงว่า เรากำลัง "ปรับ" มาใช้กับ วัตถุประสงค์ของเรา..

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท