ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง


วิจัย เรื่อง ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง วิชาการสร้างงานสื่อผสม เรื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา

ผู้วิจัย
นายณัฐพล บัวอุไร
ตำแหน่งครู คศ.1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4

ผลการวิจัย
1. นักเรียนได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง วิชาการสร้างงานสื่อผสม เรื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และการศึกษาพัฒนาการด้านความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนและการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยได้ทาการวัดระหว่างเรียนจำนวน 4 ครั้งนั้น แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนที่ทำการวัดทั้ง 4 ครั้ง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีแนวโน้มว่าความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนที่ทำการวัดครั้งที่ 4 มากกว่าครั้งที่ 3 ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 1 ตามลาดับ และความสามารถในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเรียนรู้ของนักเรียนที่ทำการวัดทั้ง 4 ครั้ง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีแนวโน้มว่าความสามารถในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเรียนรู้ของนักเรียนที่ทาการวัดครั้งที่ 4 มากกว่าครั้งที่ 3 ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 1 ตามลำดับ

2. นักเรียนได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง วิชาการสร้างงานสื่อผสม เรื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีนี้ในระดับมาก (13 ประเด็น) รองลงมาคือระดับมากที่สุด (5 ประเด็น) โดยนักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎี
การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทาให้นักเรียนได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น ทำให้รู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียนมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ตนเองสามารถใช้เครื่องมือ Social Media ในการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น สามารถค้นคว้าหาความรู้และเผยแพร่องค์ความรู้ ทำให้เกิดทักษะในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล มีความสามารถในการสรุปองค์ความรู้ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
สมบูรณ์ สามารถสรุปองค์ความรู้เป็นความเข้าใจของตนเอง เกิดความคิดสร้างสรรค์ สามารถหาคำตอบในประเด็นที่ต้องการได้ และนักเรียนส่วนใหญ่มีความต้องการให้มีการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ Social Media ในรายวิชาอื่น ๆ และรองลงมาเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทำให้นักเรียนก้าวทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากขึ้น รู้จักเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากขึ้น สามารถค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้บนอินเทอร์เน็ต
ได้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้นักเรียนมีแหล่งเรียนรู้และเผยแพร่ผลงานหรือองค์ความรู้สู่อินเทอร์เน็ต และนักเรียนส่วนใหญ่ต้องการให้มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Social Media อีก

บรรณานุกรม

ณัฐพล บัวอุไร. “ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง วิชาการสร้างงานสื่อผสมเรื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา”, รายงานการวิจัยในชั้นเรียน. 2554.

ที่มา http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/997/948/original_random-130512112320-phpapp01.pdf?1392721895

 

 

หมายเลขบันทึก: 561896เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท