งานวิจัยแผนกการบัญชี


บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเรื่อง การดำเนินชีวิตในระบบเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นโครงการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1) ศึกษาสภาวะการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนในเขตพื้นที่ อบต. และผู้บริหารของ อบต.    ที่มีต่อแนวทางการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน โดยใช้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549)

2) ศึกษาความสามารถในการพึ่งตนเองตามแนวทางของระบบเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในด้านจิตใจด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเทคโนโลยี และด้านเศรษฐกิจ

3) ศึกษาความสอดคล้องของการดำเนินชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่ อบต. กับแนวทางของปรัชญาและระบบเศรษฐกิจพอเพียง ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 3,100 คนประกอบด้วย ผู้บริหารของ อบต. 100 คน และประชาชน 3,000 คน ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ อบต. ในจังหวัดที่เป็นตัวอย่าง 4 หมู่บ้าน บ้านหนองบัวแดง บ้านหนองแวง บ้านหนองปล้อง บ้านนางแดดวังชมพู ช่วงเวลาเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2555 ตัวอย่างเป็นหญิงร้อยละ 63.4 ชาย ร้อยละ 36.6 อายุเฉลี่ย 46.7 ปี ระดับการศึกษา ส่วนใหญ่ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 หรือต่ำกว่ารวมร้อยละ 75.6 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด ร้อยละ 31.5 รายได้บุคคลเฉลี่ยต่อเดือน 5,999 บาท รายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน 10,562 บาท โดยมีรายจ่ายครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน 7,778 บาท ตัวอย่างร้อยละ 32.7 มีเงินออม และร้อยละ 60.2 มีหนี้สินโดยเป็นหนี้สินหลักหมื่น ร้อยละ 63.1ในการดำเนินชีวิตของตัวอย่างที่เป็นประชาชนในเขตพื้นที่ อบต. ตามแนวทางในระบบเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องของความสามารถในการพึ่งตนเองใน 5 ด้านได้แก่ ด้านจิตใจด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านเทคโนโลยี และด้านเศรษฐกิจ ตัวอย่างมีความสามารถอย่างเพียงพอครบทุกด้าน แม้ว่าจะอยู่ในระดับไม่สูงมากนัก ถือได้ว่าตัวอย่างมีจิตสำนึกในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมากพอสมควร และในการดำเนินชีวิตของตัวอย่างที่สอดคล้องกับแนวทางปรัชญาของระบบเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 71.6 ของตัวอย่าง ที่เห็นว่าการดำเนินชีวิตของตนเองสอดคล้องค่อนข้างมากถึงมากกับแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ มีตัวอย่างร้อยละ 88.6 ที่รับรู้/รับทราบเกี่ยวกับแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยส่วนใหญ่รับรู้/รับทราบจาก สื่อโทรทัศน์ และวิทยุมากกว่าจากหน่วยงานราชการหรือจาก อบต. หลักการที่สำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ตัวอย่างรับรู้/รับทราบมากที่สุด (ร้อยละ 75.3-85.7) มี 4 หัวข้อ คือ

               1) เศรษฐกิจพอเพียงมีหลักการมุ่งลดรายจ่ายเป็นสำคัญ และยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้

2) เศรษฐกิจพอเพียงเป็นระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้

3) เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การดำรงชีวิตโดยยึดสายกลางอยู่ได้ตามฐานะ ไม่เดือดร้อนและมีอิสรภาพ

4) การปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย การยึดความประหยัดประกอบอาชีพโดยสุจริต และละเลิกแก่งแย่งผลประโยชน์

 

 

 

 

 

 

 

                               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #งานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 561464เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2014 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2014 16:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท