ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๙๕. ระพี สาคริก ๘๐ ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้


อ่านแล้วได้วิชาฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมุ่งมั่นอดทน ขยัน และเห็นใจคนยากจน รวมทั้งรังเกียจความอยุติธรรม หรือการเอาเปรียบสังคม และเอาเปรียบคนอื่น ท่านเขียนเล่าไว้อย่างงดงาม ตีความต่อ ว่า ได้สัมผัสความเป็นคน “หัวแข็ง” เชื่อมั่นในตนเอง และมองลึกเข้าไปในคุณค่าของสิ่งต่างๆ ที่คนทั่วไปหลบหลีก แต่ท่านมองว่าความยากลำบาก จะช่วยฝึกฝนให้เป็นคนที่ “มีดี” ที่คนอื่นไม่มี เพราะมัวหลบหลีก ไม่เรียนรู้จากความยากลำบาก

 

          ผมได้รับแจกหนังสือ ระพี สาคริก  ๘๐ ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประสบการณ์ชีวิตในโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์แม่โจ้ในการประชุมสภาสถาบันอาศรมศิลป์ เมื่อวันที่ ๑๐ ม.ค. ๕๗   ตอนนั้นผมนั่งติดกับท่านศาสตราจารย์ระพี    หลังจากพลิกๆ ดูหนังสือแล้ว ผมก็กระซิบถามท่านว่า อาจารย์เขียนใหม่ทั้งหมดหรือครับ”    ท่านตอบว่าใช่    ผมนึกในใจว่า อายุ ๙๒ แล้ว ความจำดีเหลือเกิน

          ระหว่างนั่งประชุมสภาฯ และท่านให้ข้อสังเกตเรื่องต่างๆ    ผมตั้งข้อสังเกตกับตัวเองว่า ท่านน่าจะจำเรื่องราวต่างๆ แบบบันทึกวีดิทัศน์ลงสมอง     คือไม่ใช่แค่จำเป็นภาพ แต่เป็นภาพเคลื่อนไหวทีเดียว

          เสียดายที่ค้นหาหนังสือเล่มนี้บน อินเทอร์เน็ต ไม่ได้    ผมจึงถ่ายรูปปกมาให้ดู   

          อ่านแล้วผมได้ทั้งข้อสังเกตวิธีฝึกฝนตนเองให้ความจำดี และเป็นคนละเอียดละออ รวมทั้งการฝึกฝนตนเองด้านอื่นๆ     และได้ความรู้เรื่องสังคม การจัดการองค์กร และการศึกษาด้านการเกษตรในสมัยเกือบ ๘๐ ปีก่อน  

          โชคดี ที่ ศ. ระพี ท่านเขียนแบบปอกเปลือกสังคมทีเดียว    ได้เห็นความไม่ถูกต้องในสังคมมากมาย    และได้เข้าใจรางๆ เรื่องสภาพของธุรกิจกล้วยไม้สมัยผมเพิ่งเกิด    และช่วยให้ต่อติด (เดาเอา) ว่า ศ. ระพี ท่านเอากล้วยไม้ป่ามาค้นคว้าวิธีขยายพันธุ์ และผสมพันธุ์    และเผยแพร่โดยไม่หวงวิชา     ท่านจึงเป็นที่รักและเชิดชูของคนทั่วไปว่าเป็นบิดาแห่งกล้วยไม้

          อ่านแล้วได้วิชาฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมุ่งมั่นอดทน ขยัน   และเห็นใจคนยากจน    รวมทั้งรังเกียจความอยุติธรรม หรือการเอาเปรียบสังคม และเอาเปรียบคนอื่น    ท่านเขียนเล่าไว้อย่างงดงาม

          ตีความต่อ ว่า ได้สัมผัสความเป็นคน หัวแข็งเชื่อมั่นในตนเอง    และมองลึกเข้าไปในคุณค่าของสิ่งต่างๆ ที่คนทั่วไปหลบหลีก    แต่ท่านมองว่าความยากลำบาก จะช่วยฝึกฝนให้เป็นคนที่ มีดี”    ที่คนอื่นไม่มี เพราะมัวหลบหลีก ไม่เรียนรู้จากความยากลำบาก

          ใช่แล้ว ศ. ระพี สาคริก เป็นยอดคนในด้านการเรียนรู้    ทั้งเรียนจากการปฏิบัติ การสังเกต และจากการอ่านหนังสือ

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒  .. ๕๗

 

หนังสือ ระพี สาคริก  ๘๐ ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ประสบการณ์ชีวิตในโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์แม่โจ้” 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 561375เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2014 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2014 13:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท