ฉบับที่ ๑๐ เลิกได้แล้วโยม


     ผู้เขียนมีโอกาสได้อ่านหนังสือเรื่อง “เรื่องเล่าจากเขาและเธอ” หนังสือเล่มนี้เป็นแรงบันดาลใจที่เกิดขึ้น

จากการที่ได้ยินได้ฟังคำบอกเล่าจากเหล่าศิลปิน ดารา และนักสื่อมวลชน แต่ละท่านที่มีโอกาสแสดงความรู้สึก

จากใจออกมาในวาระที่ได้รับรางวัล “ศิลปินเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ประจำปี” หนังสือเล่มนี้ เขียนโดย

เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ผู้เขียนอยากเล่าตัวอย่าง ประสบการณ์การทำงาน

ช่วยคนเลิกบุหรี่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป

เลิกได้แล้วโยม

โดย คุณปณตพร วะระขะจี โรงพยาบาลโพทะเล พิจิตร

 

 “ยมหมอ อาตมาอยากเลิกบุหรี่” ดิฉันเป็นพยาบาลผู้รับผิดชอบคลินิกเลิกบุหรี่

เงยหน้ามองเสียงที่ได้ยิน ดิฉันพบกับพระภิกษุรูปหนึ่ง อายุประมาณ 30 ปีเศษ

รูปร่างท้วม ผิวคล้ำ ดิฉันรีบลุกขึ้น “นมัสการหลวงพี่ค่ะ เรียนเชิญค่ะ”

หลังจากนั้นจึงซักถามถึงการที่พระภิกษุรูปนี้เดินเข้ามาที่คลินิกเลิกบุหรี่แห่งนี้

“อาตมาสูบบุหรี่ก้นกรอง วันละ 2 ซองกว่า บางวันก็เกือบ 3 ซอง แต่ตอนนี้

อาตมาป่วยเป็นโรคเบาหวาน อายุก็ 35 แล้ว โยมหมอ อาตมาก็คิดว่าการสูบบุหรี่

มันน่าจะเกี่ยวกับโรคเบาหวานที่อาตมาเป็นอยู่เลยอยากเลิกบุหรี่ มีคนป่วยเป็นเบาหวานด้วยกัน

เขาบอกว่า ที่นี่มีคลินิกช่วยเลิกบุหรี่ อาตมาสนใจมาปรึกษาโยมหมอเนี่ย” ดิฉันนำพระภิกษุรูปนี้

เข้าสู่กระบวนการบำบัดในทันที โดยให้ท่านดู VCD เรื่องพิษภัยของบุหรี่และวิธีการเลิกสูบ

เป็นกลยุทธ์ในการสร้างความตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดกับสุขภาพ จากนั้นถามถึงข้อดี

ข้อเสียของการสูบบุหรี่ การใช้เงินสำหรับซื้อบุหรี่ เมื่อท่านลองคำนวณ “โอ้โอ! สูบมา 20 กว่าปี

ใช้เงินมาเกือบ 4 แสนแล้ว ตอนนี้ไอมีเสมหะตลอด เหนื่อยด้วย” ดิฉันซักประวัติและประเมิน

ภาวการณ์ติดนิโคติน และเข้าสู่กระบวนการบำบัด ตั้งแต่หาที่ปรึกษา หากำลังใจ หาเป้าหมาย

หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น วิธีการจัดการกับความเครียด ไม่ท้าทายตนเอง แถมเรื่องการใช้มะนาวอม

ดูด เคี้ยวทั้งเปลือก เพื่อลดความอยาก และก่อนจบ จ่ายชาชงหญ้าดอกขาวให้ท่านไป

 

ดิฉันติดตามพระภิกษุรูปนี้เป็นระยะ จนครบ 12 เดือน คำตอบคือ “อาตมาเลิกได้แล้วนะโยม”

ถึงวันนี้ 2 ปีกว่าที่พระภิกษุรูปนี้หันหลังให้กับบุหรี่โดยเด็ดขาด และยังสามารถนำลูกศิษย์วัด

มาเข้าคลินิกเลิกบุหรี่ ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ดิฉันได้เรียนรู้ว่า ความสำเร็จของผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่

และผู้บำบัด ประกอบด้วยทั้งสองส่วนคือ ความตั้งใจจริงของผู้บำบัด มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง

และที่สำคัญคือ พลังแห่งความสำเร็จนี้คือ การที่โรงพยาบาลโพทะเล

มอบประกาศนียบัตร “บุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่สำเร็จในชุมชน” ให้แก่พระภิกษุรูปนี้

หัวใจดิฉันยิ้มและพองโตทุกครั้งที่คิดถึงประสบการณ์เรื่องนี้

 

ถอดความโดย รติกร เพมบริดจ์ [email protected]

 

Admin blog ศจย.

5 ก.พ.57

 

หมายเลขบันทึก: 560971เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2014 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2014 12:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เลิกบุหรี่ได้เป็นดี แต่เลิกที่จะเห็นการเมืองมีเพียงฝ่ายรัฐบาลขาดฝ่ายค้านไม่น่าจะได้

หันมารณรงค์เลิกบุหรี่กันเถอะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท