เครื่องร่อน_บินดีหรือไม่ดี CG มีส่วนสำคัญ!


อ่านให้จบแล้วจะพบทางสว่างเรื่องเครื่องร่อน...ฟันธง!!!

           ปัญหาที่ชวนปวดเศียรเวียนเกล้าของเราชาวโค้ชผู้ฝึกสอน เครื่องร่อน  นักบินน้อย สพฐ. ทั้งหลายก็คงจะหนีไม่พ้นกับการที่สู้อุตส่าห์สร้างสรรค์เครื่องร่อนขึ้นมาแล้วไม่เป็นไปตามที่ใจปรารถนาเป็นต้นว่า ร่อนนาน ก็ไม่ได้ ร่อนไกล ก็ไม่เวิร์ค...อะไรประมาณนั้น?

          ถ้า เครื่องร่อน หรือจะเป็น เครื่องบินพลังยาง ของเรามีอาการอย่างที่ว่ามานี้ก็ขอให้ลองตรวจสอบตำแหน่ง CG ว่าอยู่ถูกที่ถูกทางแล้วหรือยัง  ซึ่งตามหลักการแล้วก็จะอยู่ประมาณ 1 ใน 3 นับจากชายหน้าปีก (นั่นคือทฤษฎี) แต่ถ้าเอาแบบบ้านๆ สำหรับผมแล้วของแบบนี้มันเคลื่อนที่ได้บ้างเพราะความแตกต่างของวัสดุที่ใช้ในการสร้าง  ประมาณว่าอยู่ซักกึ่งกลางปีกบวกลบเล็กน้อยถึงปานกลางก็ยังไหว...ถึงยังไงก็ลองร่อนดูก่อนก็แล้วกัน

          ซึ่งการหาจุด CG วิธีที่ง่ายสุดๆ ก็คือใช้นิ้วชี้หรือนิ้วกลางยกปีกเครื่องร่อนทั้ง 2 ข้างให้ลอยขึ้นในลักษณะที่ให้ลำตัวขนานกับพื้นโลกแล้วทรงตัวอยู่ได้แบบนิ่งๆ  ถ้าหัวเชิดหรือหัวทิ่มก็ค่อยๆ ปรับขยับดินน้ำมันตามอาการ  และที่สำคัญถ้าอยากเห็น เครื่องร่อนบินนาน ที่บินได้ดีๆ มีสีสันอันสะสวยแล้วล่ะก็อย่ารอช้าให้พิมพ์คำว่า  เครื่องร่อนครูสุทธิพร  ใน Google แล้วคลิกที่แท็บ วิดีโอ...โชว์นี้น่าดูซ้ำนะขอบอก

และก่อนจะไปถึงตรงนั้น...แวะชมคลิปเด็ดๆ เรียกน้ำย่อยตาม Links นี้ก่อนก็แล้วกัน

http://www.youtube.com/watch?v=HcH3TfZNyEA

http://youtu.be/6c3b2NCagnI  

http://www.youtube.com/watch?v=-0-ONUezkHA&feature=youtu.be 
http://www.youtube.com/watch?v=uskl6-EzG_w

หมายเลขบันทึก: 560858เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2014 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2014 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท