12 หลักคิดพอเพียง จากปฏิทินประจำปี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ปราดแรกที่เห็นปฏิทินประจำปี ๒๕๕๗ ที่ได้รับแจก ผมประทับใจมาก ชื่นชมทั้งคนทำ คนคิด คนออกแบบ มากๆ นึกอยากนำมาบันทึกแลกเปลี่ยนสักวันแน่ๆ วันนี้โอกาสดี จึงนำมาแบ่งปันครับ ....

ผมพยายามสืบค้นดูว่า ใครนะที่สังเคราะห์คิดได้หลักแหลมเช่นนี้ พบว่า ปฏิทินเล่มนี้ได้อ้างอิงถึงคุณพีระนันท์ จันทร์แก้ว  แต่คุณพีระนันท์เองก็อ้างอิงแหล่งที่มาเป็น เว็บไซต์ www.daratham.net  ซึ่งผมพยายามสืบค้นก็หาไม่เจอว่าคนคิดจริงๆ เป็นใคร รวบรวมไว้ที่ไหน.....


ที่ประทับใจไม่ใช่เพราะความสวยงามหรือศิลปะดิไซน์ที่ดูดี .... เพราะผมเองไม่ค่อยมีสุนทรียศิลป์ห่างไกลการเสพศิลป์กินใจจากทางตาหูจมูกปาก...ส่วนใหญ่กิเลสในตัวมาจากใจคิดเป็นส่วนใหญ่

สิ่งที่ประทับใจคือ ความหมายและคุณค่าของ ความสื่อจากภาษาเกี่ยวกับ ๑๒ เทคนิคนำคิดให้ชีวิตพอเพียง ...

๑) พอใจ : พอใจที่จะทำสิ่งต่างๆ ด้วยใจรัก อย่างถูกต้องเหมาะสม
    Having a Heart of Zeal but in Proper


 ๒) พอดี: รู้จักประมาณ รู้จักพอดี กระทำการสิ่งใดต้องระลึกรู้ด้วยปัญญา
              Living in Moderation


๓) พอมี : เลี้ยงชีวิตให้พอมีอยู่เสมอ ไม่ประมาท มีความมั่นคง
             Leading a Secure and Heedful


๔) พอกิน : รู้จักประมาณในการกิน การใช้ ให้พอกิน สมควรแก่กาย และจิตใจผ่องใส
                Balancing One's Body and Mind


๕) พอใช้ : รู้จักประหยัดอดออม ใช้จ่ายตามความเหมาะสม ไม่หลงในอบายมุข
               Practicing Mindful Spending



๖) พอเหมาะ : รู้จักไตร่ตรอง ตามเหตุผล มีใจเป็นกลางอย่างมีสติ
                    Knowing Equanimity



๗) พอรู้ : มีความเข้าใจและไต่ตรองให้พอรู้ ถึงอายตนะ 6 มีสติ ไม่ยึดติด ไม่ให้เกิดกิเลส
             Practicing Mindfulness and Non-Attactment


๘)  พอตัว : รู้จักก่อร่างสร้างงาน สร้างใจ ให้พอตัว เข้าใจในธรรมชาติ
                Cultivating Faith and Wisdom in the Law of Nature


๙) พอตน : ฉลาดคิด รู้จักพิจารณา รู้จักตัวเอง มั่นคงอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา
                Following Virtuous Conduct, Meditation, and Wisdom


 ๑๐) พออยู่ : ตั้งตนให้ถูกวิธี รู้จักดำรงชีวิตให้พออยู่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ปัจจุบัน
                  Being in the Present


 ๑๑) พอควร : มีความเข้าใจในการดำเนินชีวิตตามเหตุปัจจัย กระทำการสิ่งใดอย่างพอสมควร ยึดมั่นอยู่ในธรรม
                    Knowing Principles, Knowing Causes



 ๑๒) พอให้ : รู้จักเป็นผู้ให้ ส่งผ่านความสุขในการดำรงชีวิตให้แก่ผู้อื่นได้เติบโตต่อไป
                  Giving, Being Kind, and Contributinf to Social Harmony



สรุปอีกทีครับ
พอใจ : พอใจที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยใจรัก อย่างถูกต้องเหมาะสม
พอดี : รู้จักประมาณ รู้จักพอดี กระทำการสิ่งใดต้องระลึกรู้ด้วยปัญญา
พอมี : เลี้ยงชีวิตให้พอมีอยู่เสมอ ไม่ประมาท มีความมั่นคง 
พออยู่ : ตั้งตนให้ถูกวิธี รู้จักดำรงชีวิตให้พออยู่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ปัจจุบัน
พอกิน : รู้จักประมาณในการกิน การใช้ ให้พอกิน สมควรแก่กาย และจิตใจผ่องใส
พอใช้ : รู้จักประหยัดอดออม ใช้จ่ายตามความเหมาะสม ไม่หลงในอบายมุข
พอเหมาะ: รู้จักไตร่ตรอง ตามเหตุผล มีใจเป็นกลางอย่างมีสติ
พอควร : มีความเข้าใจในการดำเนินชีวิต ตามเหตุปัจจัย กระทำการสิ่งใดอย่าง พอสมควร ยึดมั่นอยู่ในธรรม
พอรู้ : มีความเข้าใจและไตร่ตรองให้พอรู้ ถึงอายตนะ 6 มีสติ ไม่ยึดติด ไม่ให้เกิดกิเลส
พอตัว : รู้จักก่อร่างสร้างตัว สร้างใจ ให้พอตัว เข้าใจในธรรมชาติ ( ไตรลักษณ์ - อนิจจัง - ทุกขัง - อนัตตา )
พอตน : ฉลาดคิด รู้จักพิจารณา รู้จักตัวเอง มั่นคงอยู่ใน ศีล สมาธิ ปัญญา
พอให้ : รู้จักเป็นผู้ให้ส่งผ่านความสุข ในการดำรงชีวิตชีวิตให้แก่ผู้อื่น เติบโตต่อไป

๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓๓

หากสังเคราะห์ด้วยคณิตศาสตร์ (ภาษาของวิทยาศาสตร์) โดยเปรียบเทียบกับ "เอกลักษณ์ของการบวก" ซึ่งก็คือ เลขศูนย์ "๐" ที่แม้จะไปบวกกับเลขอะไรไม่ได้ทำให้ค่าเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อไปต่อท้ายเลขอะไรจะทำให้เพิ่มมูลค่าขึ้นมาได้สิบเท่าทันที  และ "เอกลักษณ์ของการคูณ" คือ หนึ่ง "๑" ซึ่งจะคูณกับเลขอะไรก็ไม่ทำให้ค่าใดๆ เพิ่มขึ้น แต่ถ้าเอาไปวางไว้ข้างหน้าเลขใด จะเพิ่มค่าให้เลขนั้นกว่าสิบเท่าทันทีเช่นกัน

ผมคิดว่ามีคำที่เป็น "เอกลักษณ์" ของความพอเพียงอยู่ ๒ คำ ได้แก่คำว่า "ดี" กับคำว่า "รู้"  สองคำนี้เมื่อเอาไปต่อท้ายหรือก่อนหน้าคำต่างๆ ที่อยู่ข้างหลังคำว่า "พอ" ที่อยู่ในปฏิทินนี้ จะได้องค์ประกอบของความพอเพียง

ใจดี มีดี อยู่ดี กินดี เหมาะดี รู้ดี ทำดี ฯลฯ
รู้ใจ รู้อยู่ รู้กิน รู้ทำ รู้ตัว รู้ตน รู้ใช้ รู้ให้ ฯลฯ


หรือท่านว่าไง....................

คำสำคัญ (Tags): #พอเพียง
หมายเลขบันทึก: 559978เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2014 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2014 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

และคือความแตกต่างในความเป็นมนุษย์ ที่ไม่ยอมรู้และเรียน..ที่จะพอกันที

แค่คำว่าพอกับจะพบกับสุขมากมายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท