นาฏศิลป์กัมพูชากับไทยใครลอกใคร


      เข้าไปในยูทูปหลายปีแล้วเห็นการถกเถียงกันประจำว่าไทยลอกกัมพูชา กัมพูชาลอกไทย เอาชาตินิยมที่ฝรั่งฝังหัวมาด่ากัน ประเทศในอินโดจีนอยู่ใกล้เคียงกันวัฒนธรรมถ่ายเทกันไปมาเป็นปกติ การมีวัฒนธรรมร่วมกันไม่เห็นแปลกยิ่งดีใหญ่ที่พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มีวัฒนธรรมคล้ายกัน การปรับตัวเข้าหากันนั้นไม่ยาก
     หลักฐานจารึกของจีนกล่าวว่าในอาณาจักรขอมนั้นคนทอผ้าไหม ล้วนเป็นคนสยามหรือเสียมเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งสิ้น แลชาวสยามหรือเสียมได้เคยเป็นภายใต้อำนาจของขอม จึงรับวัฒนธรรมกัมพูชาไว้มากมาย เช่นที่ลพบุรีและ สุโขทัย รวมทั้ง อโรคยาศาลาในอีสาน ปราสาทหินทางตอนใต้อีสานก็แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์พี่น้องของ ดินแดนในไทยและกัมพูชา
     เมื่อต้นอยุธยาพระเจ้าอู่ทอง ได้เข้าตีแลยึดเมืองหลวงของขอมไว้ได้ กวาดต้อนคนในนครหลวงมาไว้อยุธยาเป็นอันมาก ทั้ง นักปราชญ์ พระและปุโรหิต อารยธรรมชาวอยู่ธยาจึงผสมผสาน ศิลปะขอม มอญ สุโขทัยและละโว้ เข้าด้วยกัน พัฒนาเป็นวัฒนธรรมอยุธยาตอนปลาย และต้นรัตนโกสินทร์
      ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เจ้านายกัมพูชา ถูกนำมาเลี้ยงดูเป็นตัว
ประกันเติบโตในเมืองบางกอก เมื่อกลับไปครองราชย์ จึงนำศิลปและวัฒนธรรมกรุงเทพฯไปเผยแพร่และนำการฟ้อน การแสดง การก่อสร้าง ไปสร้างสรรเมืองพนมเปญ และมีเจ้านายไทยบางท่านหนีลี้ภัยการเมืองไปกัมพูชา นำคณะละคร โขนไทยไปด้วย
        อารยธรรมที่ไทยปรับปรุงแล้วก็คืนกลับไปยังกัมพูชา กัมพูชาจึงอนุรักษ์ศิลปะไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไว้ได้ ทำให้เราได้เห็นถึงท่วงท่ารำที่อ่อนช้อย เชื่องช้า ผิดแปลกไปจากการร่ายรำของศิลปินไทยในปัจจุบันที่พัฒนาไปอีกหลายแนวทาง
      เราน่าจะภูมิใจร่วมกันที่ได้ร่วมพัฒนาวัฒนธรรมที่งดงามให้เกิดขึ้น
ในดินแดนของพวกเราชาวสยามและกัมพูชาว่างดงามยิ่งนัก

 

 

หมายเลขบันทึก: 559788เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2014 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มกราคม 2014 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)


สวยงาม และมากด้วยคุณค่ายิ่งนักจ้ะ ขอบคุณจ้ะ

การลอกเลียน..เป็น..ธรรมชาติ..ที่มีมา..พร้อม..กำเนิด...เป็นต้นแบบสำคัญ...มนุษย์ก็เช่นกัน....

ชอบประโยคเหล่านี้มากครับ "เอาชาตินิยมที่ฝรั่งฝังหัวมาด่ากัน ประเทศในอินโดจีนอยู่ใกล้เคียงกันวัฒนธรรมถ่ายเทกันไปมาเป็นปกติ" เอาชาตินิยมเป็นตัวแบ่งต้นกำเนิด แบ่งฝักฝ่ายอย่างไม่ดูรากเหง้าอารยธรรม กำเนิดของคนในแผ่นดินสุวรรณภูมิการรับและถ่ายทอดวัฒนธรรมเป็นเรื่องปกติธรรมดาจริงๆเลยครับ

วัฒนธรรมประเพณีไม่มีพรมแดน..สืบทอดเป็นมรดกมายาวนานทั้งในมิติของการอนุรักษ์และพัฒนา ขอบคุณที่ช่วยกันเผยแพร่ค่ะ

ขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท