ทัศนะเชิงการหน้าที่ของการสอนภาษา A functional view of language teaching ตอนที่ 3


2. ภาษาในฐานะที่เป็นระบบความหมาย (Language as a meaning system) ต่อ

 

     ในปี 1975 Michael Halliday ได้จัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับลูกชายของเขาที่กำลังเรียนรู้ภาษาแรก ซึ่งก็คือ ภาษาอังกฤษ โดยปกติแล้วพวกเราคิดว่าจะได้เรียนรู้เรื่องเด็กๆที่กำลังเรียนภาษาเพื่อที่จะพูดหรือเรียนรู้ที่จะคุย แต่หนังสือของ Halliday กลับตั้งชื่อว่า การเรียนรู้วิธีการที่จะสื่อความหมาย (Learnig How to Mean) การรับรู้ภาษา (the acquisition of languge) เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ การรับรู้ในระบบสื่อความหรือระบบสร้างความหมาย ก่อนหน้านี้พวกเขาได้ผลิตคำต่างๆที่เด็กๆสามารถที่จะเข้าใจได้ คำเหล่านี้ก็มีการส่งสัญญาณของความหิว, การเจ็บปวด, หรือความยินดี ต่อมาพวกเขาก็เริ่มที่จะใช้คำต่างๆให้มาอยู่ร่วมกันด้วยวิธีการเช่นเดียวกับที่ Lana ใช้ในเรื่องของหล่อน เมื่อเด็กๆมีการพัฒนาทางสติปัญญามากขึ้น สิ่งนี้จะก็เพิ่มความต้องการใหม่ๆให้แก่เด็ก สิ่งที่พวกเราจะเห็นก็คือการพัฒนาระบบความหมายที่มากขึ้น กล่าวในอีกแง่หนึ่งก็คือจะมีความแจ่มชัดและซับซ้อนมากขึ้น Halliday มองภาษาว่าเป็นเหมือนกับการกระทำหน้าที่ (language as functional) ภาษาดำรงอยู่ก็เพราะมันมีความต้องการเชิงหน้าที่ และภาษาจะถูกปรุงแต่งและพัฒนาไปตามหน้าเหล่าโน้น ภาษาจะมีบทบาทหน้าที่ (metafunction) อยู่ 3 อย่าง ก็คือ ในแง่เชิงสื่อความคิด (ideational) ในแง่ตัวบท (texual) และในแง่เชิงปฏิสัมพันธ์ (interpersonal) พวกเราเห็นว่าการแบ่งเช่นนี้อาจเป็นเรื่องขี้โม้เกินไป แต่เราก็เห็นแล้วว่าหน้าที่เชิงสื่อความคิดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารในเรื่องสารที่พื้นฐานที่สุด หน้าที่ตัวบททำหน้าที่ในการปรุงแต่งภาษาทำให้สารสามารถเข้าถึงผู้ฟังและผู้พูด หน้าที่เชิงปฏิสัมพันธ์มีหน้าที่เกี่ยวกับการนำเสนอตัวตน (self) พวกเราจะให้เราปรากฏตัวอย่างไรต่อคู่สนทนา พวกเราต้องการที่จะให้ความสำคัญแก่ความสามัคคีหรือไม่ หรือพวกเราต้องการที่จะนำเสนอความแต่งต่างของพวกเรา พวกเราต้องการที่จะออกห่างหรือใกล้ชิด พวกเราต้องกาที่จะสุภาพหรือขี้โมโห

     พวกเราอาจคิดในเรื่องสิทธิพิเศษในเชิงการสื่อสาร สิทธิพิเศษอันแรกก็คือการทำให้สารของเราเป็นที่เข้าใจในหมู่คนอื่น เรื่องราวของ Lana มีความสำเร็จเป็นอย่างดีในเรื่องนี้ สิทธิพิเศษอันดับสองเป็นเรื่องของผู้ฟังหรือผู้อ่าน เป็นเรื่องที่ทำให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านเข้าใจสารที่ผู้ออกมาได้ดียิ่งขึ้น Lana ทำได้ไม่ดีในเรื่องนี้ ซึ่งก็คือ ผู้ฟังหล่อนจะต้องเป็นผู้ฟังที่มีสมาธิและรู้บริบทของหล่อนเป็นอย่างดี แต่ถ้าคนไม่มีสมาธิและไม่รู้บริบทของหล่อนก็จะเข้าเรื่องราวของหล่อนได้ยาก ในแง่เชิงปฏิสัมพันธ์ Lana มีเครื่องมือที่ไม่ใช่อวัจนภาษา (non-linguistic device) เช่น รอยยิ้มของหล่อนเมื่อสารของหล่อนได้รับการเข้าใจ และหล่อนมักจะพูดเรื่องนี้กับผู้ฟังจำนวนมากมายและในหลายสถานการณ์

 

หนังสืออ้างอิง

Dave Willis. A functional view of language teaching

 

หมายเลขบันทึก: 559591เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2014 06:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มกราคม 2014 06:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท