เรื่องเล่าจากโครงการ “ลดมลพิษพื้นชีวิตดิน”


 กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน “จิตอาสา พัฒนาชุมชน

เรื่องเล่าจากโครงการ

โครงการ “ลดมลพิษพื้นชีวิตดิน

 

        จากนิยามคำว่าการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในหัวข้อ “ปลูกใจรักษ์โลก” นั้นจะเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ต่อทุกเยาวชนคน ทั้งที่รู้ว่าเป็นโครงการที่ไม่มีอะไรตอบแทนให้ แต่เป็นโครงการที่ต้องการผู้ที่มีจิตอาสาเข้ามาทำโครงการ เป็นสิ่งที่สนใจ เป็นสิ่งน่าศึกษา เรียนรู้ การทำงานเป็นกลุ่ม จะได้ทั้งความสามัคคี ได้ฝึกทั้งกระบวนการคิดเชิงเหตุผล เชิงระบบ เชิงวิเคราะห์ เชิงสังเคราะห์ และการแก้ไขปัญหา สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่หาได้ยากและมีค่าที่สุดในการทำงาน และการทำโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นสิ่งที่คนทั่วไปหาโอกาสทำได้ยาก ผมจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ “ปลูกใจรักษ์โลก” กับเพื่อนๆกลุ่มเยาวชนกลุ่มฮักนะเชียงยืนครับผม

         เมื่อครั้นเสียงออดของโรงเรียนดังกังวานขึ้น “ขณะนี้เวลา 12 นาฬิกาตรง หมดเวลาเรียนคาบที่4” มีเพื่อนคนหนึ่งที่ผมสนิทกับเขามาตั้งแต่เรียนด้วยกันอยู่มอต้นแล้ว เขาชื่อนายธีระวุฒิ ศรีมังคละ เขาเป็นนักวิชาการนิดนึ่ง ซึ่งเขาก็เข้ามาชักชวนเรา ไปเข้ากลุ่มทำโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ป่า น้ำ ดิน อากาศ โดยมีมูลนิธิกองทุนไทยสนับสนุน นู้น นี่ นั่น เอาซะงงไปหมด เรียนอยู่ดีๆ ก็มีกิจกรรมเข้ามาซะงั้น ฮ่าๆๆ แต่ก็ดีนะ เขาก็พูดคร่าวๆให้ผมฟัง ผมก็ตอบตกลง(ง่ายเนาะไม่รู้ว่ามันจะหลอกเราไหม) ฮ่าๆๆ ที่ตอบตกลงจากที่เล่า อืมผมก็คิดว่าน่าจะเป็นผลดีต่อตัวเองที่จะได้เรียนรู้ระบบการเรียนนอกห้องเรียนและเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ในขณะนั้นก็มีเพื่อนๆอีกหลายคนสนใจเยอะเลยนะตอนแรก ฮ่าๆๆ ต่อมาก็พากันไปคุยอาจารย์ พอคุยเสร็จได้ประเด็น เริ่มประชุมวางแผน ได้ความว่าจะทำเป็นสองโครงการ ทั้งโครงการน้ำ และดินอย่างไม่เป็นทางการนะครับ จึงมีเพื่อนบางคนคัดคร้าน และที่แอบน้อยใจว่าจะต้องแยกกัน เมื่อตกลงกันตามนั้น เราก็ให้การบ้านให้กับทุกคนลองไปศึกษาวางแผนเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำและต้องดำเนินการอย่างไร เมื่อกลับมาถึงบ้านผมก็มานั่งคิด เอาความรู้เก่าๆ ที่จำใส่สมองไว้ตลอดมา ฮ่าๆๆ นั่นก็คือกระบวนการในการทำโครงงาน ที่ได้ศึกษามาตั้งแต่ ม.3โดยได้ผ่านมาเป็นเวลานานพอสมควร ผมก็นึกออกว่า “ อืม เราก็เคยทำโครงงานมาก่อนนะ และที่ว่าจะทำโครงการมันน่าจะใช้กระบวนการทำงานเหมือนกันนะ” แต่น่าจะมีข้อแตกต่างนิดนึ่งมั้ง ทำให้ผมคิดได้ว่าปัจจุบันทรัพยากรที่ลดน้อยลงไปเรื่อยๆและเมื่อหมดไปแล้วจะไม่สามารถหาอะไรทดแทนได้เลยนั่นก็คือ “ทรัพยากรธรรมชาติ” ซึ่งการที่เราจะรักษา แลเห็นคุณค่าของมันนั้นเป็นเรื่องยากและไม่ค่อยมีใครเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติมากนัก เพราะคนหรือเยาวชนส่วนใหญ่จะไม่ตระหนัก และรวมถึงตัวผมด้วย(ในตอนนั้น) แต่สิ่งที่ทุกคนรู้ๆกัน นั่นก็คือปัญหานั้นเห็นได้มากในสังคมของเรา ก็จะเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จึงทำให้ได้ข้อสรุปว่า น่าจะทำโครงการเกี่ยวกับน้ำมากกว่า เพราะในเขตอำเภอเรามีปัญหาเกี่ยวกับแหล่งเน่าน้ำเสีย และต่อมาเราจึงเอาเรื่องโครงการที่ได้ไปศึกษามาไปสรุปร่วมกัน โดยทุกคนเห็นส่วนใหญ่ว่าจะทำโครงการเกี่ยวกับเรื่องน้ำ จึงร่วมกันตกลงและทำโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำ แต่เมื่อเราได้สรุปทำโครงการน้ำโครงการเดียว จึงทำให้ต้องหยุบกลุ่มเข้าหากัน และมีเพื่อนบางคนไม่เข้าร่วมโครงการเลย

         เมื่อได้ข้อสรุปเดียวกันแล้ว เราจึงได้ร่วมกันก่อตั้งเป็นกลุ่มเยาวชนจิตอาสาที่ชื่อว่า “เยาวชนกลุ่มฮักนะเชียงยืน” รวม 9คน กลุ่มของพวกเราเริ่มดำเนินการโครงการอนุรักษ์น้ำ และจึงได้ลงพื้นที่สำรวจสภาพปัญหาของแหล่งน้ำขัง ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ที่เป็นปัญหาใหญ่มากเลย จึงทำให้เราแลเห็นถึงปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ เป็นปัญหาน้ำขังในพื้นที่ ทีแรกคิดว่าเป็นพื้นที่สาธารณะ เพราะพื้นที่นั้นอยู่ติดกลับถนน กลับกลายเป็นพื้นที่ที่ใช้ทำการเกษตรของชาวบ้าน บ้านเชียงยืน ที่เป็นปัญหาน้ำขังในพื้นที่มานานกว่า10กว่าปี มีพื้นที่มากกว่า 10 ไร่ ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เลย และจึงเป็นที่ทำมาหากินของคนในชุมชนบางส่วน แต่บางส่วนก็ส่งผลกระทบให้แก่ชุมชนหลายชุมชน จึงทำให้เราแลเห็นปัญหานี้ เราจึงนำปัญหามาวิเคราะห์ร่วมกันในกลุ่มกลับพบว่า ปัญหานี้ถึงแม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและมีผลกระทบต่อเกษตรการมาก แต่เป็นปัญหาที่มีคนๆเดียวเป็นเจ้าของพื้นที่  เราน่าจะสามารถแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติได้ในส่วนหนึ่ง แต่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุนั้นจะเป็นผลดีต่อเจ้าของพื้นที่มากกว่าคนในชุมชนนั้น จึงอาจทำให้คนในชุมชนหรือเกษตรกรคนอื่นมองไม่เห็นถึงสภาพปัญหาในส่วนนี้ด้วยครับ

        พวกเรากลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน ได้ร่วมกันเขียนเป็นโครงการนี้ขึ้นมา และเพื่อนำเสนอส่งเข้าประกวด จึงผ่านเข้ารอบ ทำให้พวกเราดีใจมาก จนทำอะไรไม่ถูก ฮ่าๆๆ และจากนั้นพวกเราก็ดำเนินโครงการมาเรื่อยๆ จนพวกเราได้ลงสำรวจพื้นที่ครั้งที่สอง พบว่าสภาพปัญหาน้ำที่ขัง อยู่ในพื้นที่มากกว่า10ไร่ ในช่วงเวลานั้นเกิดภัยแล้ง ทำให้น้ำที่ขังอยู่ เป็นเวลานาน ลดลง จนแหล่งน้ำนั้นเกือบจะแห้งไปทั้งแอ่ง จึงเป็นที่ดีใจของเจ้าของพื้นที่และคนในชุมชนหลายชุมชน แต่เป็นที่เสียใจต่อคนที่ทำมาหากินกับแหล่งน้ำนั้น พวกเรากลุ่มเยาวชน “ฮักนะเชียงยืน” จึงแลเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น และได้มาปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาว่า สามารถเปลี่ยนโครงการนี้ได้ไม่ และแจ้งไปยังมูลนิธิกองทุนไทยที่เป็นผู้สนับสนุนโครงการ จึงตอบกลับมาว่าสามารถเปลี่ยนได้แต่ก็ต้องอยู่ในหัวข้อ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ(ปลูกใจรักษ์โลก)  พวกเราจึงกลับมาลองวิเคราะห์ถึงปัญหาใหม่รองลงมาอีก นั่นก็คือปัญหา เรื่องสารเคมีในดินของชุมชนบ้านแบก ตำบลนาทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม พวกเราจึงร่วมกันวิเคราะห์ถึงปัญหา พบว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ทั้งชุมชนพบเจอ แต่ไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องสารเคมีมากนัก ทางกลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน จึงเลือกที่จึงศึกษาถึงสภาพปัญหาสารเคมีในดินโดยมีชื่อว่าโครงการว่า “โครงการลดมลพิษฟื้นชีวิตดิน”  และเมื่อเราสำรวจและวิเคราะห์ออกมาว่า เกษตรกรในพื้นที่ที่ทำการเกษตรเกี่ยวกับการเพาะปลูกแตงแคนตาลูป จะมีผลกระทบต่อตนเองเต็มๆ และไม่ตระหนักถึงผลเสียหรือผลกระทบที่จะตามมาเลย

        กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืนจึงตัดสินใจที่จะแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ และกลุ่มเยาวชนจึงเริ่มลงมือสำรวจปัญหาและผลกระทบอย่างละเอียด จึงได้ลงพื้นที่สำรวจสภาพปัญหา พบว่า นอกเหนือจากการทำนาแล้วเกษตรกรทำการเกษตรการปลูกพืชพันธะสัญญา อาทิเช่น การปลูกแตงแคนตาลูป การปลูกแตงโม การปลูกฟักทอง หรือพืชชนิดอื่นๆ เยอะมากและในขั้นตอนการเพราะปลูกมีการใช้สารเคมีมาก เกือบทุกขั้นตอน และแล้วแต่ทางเกษตรพันธะสัญญาเขาจะส่งเมล็ดพืชมาให้ปลูก (ในที่นี้เกษตรพันธะสัญญาก็คือนายทุนที่เข้ามาทำกิจการใหญ่ เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินทุนให้กับเกษตรด้วยการนำเมล็ดพืชที่เขานำมาให้แล้วนำไปเพาะปลูก เกษตรกร จึงได้เงินเป็นกำไรตอบแทน )แต่เป็นผลเสียก็คือเกษตรกรไม่ได้ค่าตอบแทนจากการเช่าที่ดินเลยซักบาท  และในการเพราะปลูกนั้นจะเอาแต่เมล็ดเท่านั้น ผลของมันก็ทิ้งกองรวมกันไว้ ทำให้เกิดสภาพหน้าดินเสื่อมโทรมในกรณีที่ผลของพืชมีสารเคมีปนอยู่ด้วย และหรือไม่ก็นำผลไปขายให้กับแม่ค้าอีกด้วย โดยเกษตรไม่ตระหนักถึงผลกระทบของสารเคมีปนเปื้อนต่อผู้บริโภคเลย  และจากการสำรวจ พบว่าการปลูกแตงแคนตาลูปเป็นสาเหตุหลักของการเกิดสารเคมีในดินเพราะการเกษตรนั้นจะปลูกแคนตาลูปเป็นส่วนใหญ่ และในตอนนั้นยังไม่ค่อยมีการปรับปรุงสภาพดินมากนัก จึงส่งผลทำให้ดินเสื่อมโทรม จึงเป็นปัญหาที่เกษตรกรเป็นคนที่สร้างปัญหาขึ้นมาเอง รู้ถึงปัญหา แต่ไม่ตระหนักถึงปัญหา เพราะปัญหานี้เป็นปัญหาระยะยาวไม่สามารถเห็นผลได้อย่างรวดเร็ว ทางกลุ่มเยาวชนของพวกเราจึงตกลงที่จะแก้ปัญหาในการ สร้างความตระหนักให้แก่เกษตรกรมากยิ่งขึ้น เพราะเราไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาโดยการทำให้เกษตรกรเลิกปลูกพืชเกษตรพันธะสัญญาได้เลย เพราะเขาทำมานานกว่า30-40 ปี  และในเมื่อเราเป็นแกนนำในการแก้ไขปัญหานี้ เราจึงประชุมกันและสร้างกลุ่มเครือข่ายขึ้น ซึ่งเป็นเยาวชนบ้านแบกที่เป็นลูกหลานของเกษตรกร เพื่อเป็นเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ขึ้นมา (เครือข่ายส่วนหนึ่งจะเป็น เด็กนักเรียนที่อยู่บ้านแบกในโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม และ อีกส่วนหนึ่งจะเป็นเด็กนักเรียนที่เรียนอยู่โรงเรียนบ้านแบกเอง) และในการดำเนินงานทำให้เราได้เครือมาสองเครือข่ายและได้จัดทำค่าย คือ ค่ายกิจกรรมเพื่อนบอกเพื่อน และกิจกรรมรักบ้านเกิด โดยมีเป้าหมายดังต่อไปนี้

1. เป้าหมายแรก เป็นเป้าหมายของนักเรียนมัธยมโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ปัญหาโดยตั้งเป้าหมายว่าเราจะสร้างความตระหนักให้เครือข่ายของเราให้รักบ้านเกิด โดยการเน้นย้ำให้เพื่อนๆตระหนักรู้ ตระหนักทราบถึงพิษภัยของสารเคมีที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและส่งผลทางด้านสุขภาพของตนเองอย่างไร แล้วเป้าหมายสูงสุดคือตระหนักถึงผลเสียหรือผลกระทบจากการเพาะปลูกใช้สารเคมีที่จะเกิดขึ้น กลุ่มของเราจึงได้จัดค่าย “ค่ายเพื่อนบอกเพื่อน” ขึ้นซึ่งเป็นค่ายที่มีเป้าหมายให้แกนนำเยาวชนสร้างความตระหนัก ในบ้านเกิดของตัวเองมากยิ่งขึ้น เราจึงได้จัดค่าย เพื่อนบอกเพื่อนเพื่อเป็นแนวทางให้กลุ่มเครือข่ายรู้ถึงปัญหาที่แท้จริงในพื้นที่หมู่บ้านของตนเองด้วย

2. เป้าหมายที่สอง เป็นเป้าหมายที่เราต้องการสร้างความตระหนักให้แก่เครือข่ายของเรากลุ่มที่สอง โดยเป็นกลุ่มนักเรียนประถมที่อาศัยอยู่บ้านแบกและเรียนอยู่โรงเรียนบ้านแบกโดยเราได้ลงพื้นที่จัดค่ายที่โรงเรียนบ้านแบกขึ้นว่า “ค่ายรักบ้านเกิด”  ขึ้นมีเป้าหมายเพื่อให้เครือข่ายได้รู้ถึงปัญหา เพื่อตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมีที่จะส่งผลกระทบให้กับครอบครัวของตนเอง เพื่อสามารถนำไปบอกต่อกลับผู้ปกครองที่ทำการเกษตรว่าโทษ หรือพิษภัยของสารเคมี ร้ายแรงมากเพียงใดได้อีกด้วย และรักในบ้านเกิดของตนเองมากยิ่งขึ้น

      เมื่อเราจัดทำกิจกรรมค่ายทั้งสองเสร็จ ทีแรกก็เป็นที่น่าพอใจตรงไปตามที่ตั้งเป้าไว้ แต่ต่อมาคงไม่เป็นไปตามนั้น หรืออาจต้องใช้ระยะยาวในการนำไปปฏิบัติ จึงเป็นสาเหตุที่เราพอจะได้ข้อสรุปว่าเป็นปัญหาที่เยาวชนรู้และเข้าใจดี แต่ไม่ตระหนัก หรือนำไปปฏิบัติตาม โดยเรามีเป้าหมายร่วมกันที่จะการสร้างความตระหนักให้กับเกษตรกรเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญที่สุดโดยการนำเสนอ ผลเสียของสารเคมี ผลการตรวจเลือด ผลการตรวจความอุดมสมบูรณ์ในดิน ผลกระทบความเสื่อมโทรมของดิน และที่มีผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพร่างกาย และต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย และจะจัดทำค่ายคืนข้อมูลเป็นการสรุปร่วมในครั้งสุดเป็นครั้งต่อไป

     ที่สำคัญในการจัดทำโครงการนี้มา พวกเรากลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืนเราได้เป็นตัวแทนในการนำเสนอความก้าวหน้าที่แรกก็คือ แหล่งแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ที่จังหวัดนครนายก ต่อมาที่ SCB ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาใหญ่ กรุงเทพมหานคร  และนำเสนอโครงการในงาน เยาวชนต้นกล้า ณ อุทยานการเรียนรู้ TK Park  เซนทรัลเวิร์ด และเมื่อเราได้เข้าร่วมโครงการเรามีโอกาสได้ศึกษาถึงสภาพปัญหาของชุมชนเมืองกลับชุมชนชนบทว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างโครงการต่างมีปัญหาที่ไม่เหมือนกัน แต่มีสิ่งเดียวที่ทุกคนมีใจเป็นนักพัฒนา “จิตอาสา” คำว่าจิตอาสาทำให้ทุกคนทุกกลุ่มก้าวมาทำโครงการจากจุดเล็กๆ จนทำให้มาถึงจุดๆนี้ ก่อให้เกิดพลังอันเข้มแข็งที่จะก้าวหน้าและสู้ต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเราต่อไป และจากการไปเรียนรู้ปัญหาในชุมชนเมือง ทำให้ผมได้ข้อสรุปว่า สภาพปัญหาในชุมชนเมืองจะเป็นปัญหาอย่างมากต่อคนในสังคมเมือง เพราะคนในสังคมเมืองจะใช้ชีวิตอยู่กับการทำมาหากินที่มีอาชีพที่แตกต่างกันไป จึงส่งผลทำให้คนในสังคมเมืองส่วนใหญ่ ไม่ตระหนักถึงสภาพปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่และไม่สนใจในสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

        ในการดำเนินงานก็ผ่านมาจนมาถึงกิจกรรมสุดท้ายก็นั่นคือ กลุ่มของพวกเรามีเป้าหมายที่สำคัญมากที่สุดอีกเป้าหมายก็คือ การคืนข้อมูลให้กับเกษตรกรในพื้นที่ที่ทำการเกษตร โดยเราเลือกที่จะจัดค่าย โดยก่อนหน้านี้เราได้นำตัวอย่างดินของเกษตรกรที่ทำการเพราะปลูกพืชพันธะสัญญาบางส่วนไปตรวจเพื่อศึกษาถึงสภาพความเสื่อมโทรมของดินและความอุดมสมบรูณ์ของดินมาเพื่อนำเสนอให้กับเกษตรกรได้รับรู้ถึงผลเสียหรือผลกระทบในการทำเกษตรแบบสารเคมี โดยค่ายนี้ เราได้เชิญทั้งเกษตรกรผู้ที่ทำการเกษตรพืชพันธะสัญญา ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบเกี่ยวการรักษาในพื้นที่ นี้มาเพื่อร่วม “ร่วมเวทีเสวนา” เพื่อให้เกษตรกรได้รับรู้ถึงผลกระทบหลายๆด้านที่เกิดขึ้นในชุมชน แต่สิ่งหนึ่งที่ทางกลุ่มเยาวชนของพวกเราเลือกที่จะนำเสนอให้เกษตรกรได้รับรู้รับทราบนั่นก็คือ การแสดงละคร โดยเป็นละครที่กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืนเป็นนักแสดงเอง เขียนบทเอง โดยมีเป้าหมายให้เกษตรกรทราบถึงผลกระทบในด้านต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยในค่ายนี้เราได้มีกิจกรรมสนุกๆเข้าฐานเพื่อสร้างความตระหนักและร่วมกับเยาวชนเครือข่ายนักเรียนโรงเรียนบ้านแบก โดยมีเยาวชนเครือข่ายในโรงเรียนของเราคอยเป็นผู้ดูแลและแนะนำให้ความรู้ควบคู่กันไปด้วย

        จากการจัดทำค่ายนี้เสร็จแล้วพวกเราก็พอจะสรุปได้ว่า เกษตรกรเป็นเป้าหมายหลักที่ทราบถึงผลกระทบในด้านต่างๆเป็นอย่างดีแล้ว และเกษตรกรบางส่วนมีวิธีป้องกันพิษภัยสารเคมีมาโดยตลอด แต่ก็มีเกษตรส่วนใหญ่ที่ยังไม่แลเห็นถึงความสำคัญและยังไม่ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง และอาจจะต้องใช้เวลาเป็นเครื่องมือพิสูจน์ว่าเกษตรกรจะนำไปตระหนักและปฏิบัติต่อไปที่เชื่อมโยงไปสู่ด้านสุขภาพของพวกเขาด้วยก็อาจเป็นได้ 

        เมื่อโครงการนี้เสร็จสิ้นไปแล้ว เป็นระยะเวลาประมาณไม่เกิน 1 ปี จากที่เราได้ทำงานร่วมกันกับแกนนำต่างๆ จากหลายๆโครงการ หลายๆกลุ่มเยาวชน ล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มเยาวชนที่มีจิตอาสาร่วมกันอนุรักษ์ รักษา ทรัพยากรธรชาติและสิ่งแวดล้อม และได้มีโอกาสในการนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเยาวชนในหัวข้อโครงการต่างๆ มาโดยตลอด ทำให้ผมได้รู้ถึงการเรียนรู้จากสภาพปัญหาจริง กับเรียนวิชาทั่วไปในห้องเรียนนั้นมีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด และทำให้ผมได้รับความรู้รวมถึงประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ใครหลายคนในที่นี้ ไม่ได้มีโอกาสเหมือนกับผม จึงก่อเกิดเป็นพลังเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ เป็นกรอบกำลังใจให้ผมได้ค้นพบตัวเอง โดยซึ่งตลอดมาผมไม่รู้ว่าตัวตนที่แท้จริงของผมอยากเป็นอะไร ในที่สุดก็ค้นพบ จากที่กลุ่มของพวกเราได้ทำโครงการเกี่ยวกับสารเคมี ผมก็อยากที่จะรู้ อยากที่จะศึกษา เกี่ยวกับเรื่องของการพัฒนาและเกี่ยวกับสารเคมีควบคู่กันไป นั่นก็คือ อาชีพข้าราชครู สอนในรายวิชาเคมี จากที่กล่าวมาอาชีพนี้สามารถบูรณาการได้ทั้งที่นักพัฒนา (ที่เรียนรู้กับความเป็นจริงและสามารถถ่ายทอดความรู้ที่มีให้แก่ผู้อื่นได้อีกด้วย) และสารเคมีที่เราได้ศึกษาจริง (ทำให้ได้ศึกษาและปฏิบัติจริงจนก่อให้เกิดความเชี่ยวชาญสามสามารถถ่ายทอดให้กลับผู้อื่นได้) และการร่วมกันแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติก็เป็นสิ่งที่ดีงาม และเป็นที่พอใจกับสิ่งที่เราทำเพื่อประโยชน์ต่อตัวเราเองและสังคมชุมชนต่างๆ ได้อีกด้วย และพวกเราทุกคนจะช่วยกันอนุรักษ์ รักษาทรัพยากรธรรมควบคู่กับด้วยแลสิ่งแวดล้อมของเราไว้ตลอดไปเพื่อโลกอันสดใส ใบสีเขียวขอเราสืบต่อไป

หมายเลขบันทึก: 559578เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2014 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2014 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

..โครงการเป็นประโยชน์ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท