การประชุมสำรวจและระดมความเห็น (Pre-Planning) โครงการค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน


สวัสดีครับชาว Blog ทุกท่าน 

มูลนิธิพัฒนาทรัยากรมนุษย์ระหว่างประเทศร่วมกับสำนักงานกศน. จัดโครงการค่ายผู้นำนักพัฒนาการศึกษาของอาเซียน สำหรับสำนักงาน กศน. เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะ “ค่ายผู้นำ หรือ Leader Camp” เพื่อการพัฒนาแบบ “Train the Trainer” สำหรับตัวแทนจากจากสำนักงาน กศน. จำนวนรวม 200 คน ร่วมกับตัวแทนจากประเทศในอาเซียน จำนวน 20 คน รวมจำนวน 220 คน แบ่งการอบรมตามพื้นที่แบบคลัสเตอร์ (Cluster) แบ่งตามภาค ซึ่งจะจัดเป็นเป็นโครงการนำร่อง จำนวน 2 คลัสเตอร์ ได้แก่ คลัสเตอร์ภาคเหนือ และคลัสเตอร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งเป็นคลัสเตอร์ละ 110 คน

 

สำหรับวันนี้เป็นการประชุมสำรวจและระดมความเห็น (Pre-Planning) โครงการค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน ของกลุ่มภาเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 40 คน 

 

 

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 559561เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2014 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2014 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การประชุมสำรวจและระดมความเห็น (Pre-Planning)

โครงการค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียนกลุ่มภาคเหนือและกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วันเสาร์ที่18 มกราคม2557 เวลา09.00 – 12.30 .

โรงแรมอโมรา ท่าแพจังหวัดเชียงใหม่

นายประเสริฐ บุญเรืองเลขาธิการสำนักงาน กศน.: โครงการค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียนกลุ่มภาคเหนือและกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นโครงการที่ดีที่จะนำสู่ภาคปฏิบัติ มูลนิธิฯรับผิดชอบหลักสูตรและมีบทบาทที่พัฒนากิจกรรมทุนมนุษย์ของสังคมไทย ได้รับความร่วมมือจากผอ.กองจากทุกภาคส่วน

สิ่งที่ภาคภูมิใจคือ อ.จีระ มองไกล และนำวิทยากรจากอาเซียนที่จะมาให้ความรู้แลกเปลี่ยน และข้อดีคือได้ภาษา และแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กัน

ศ.ดร.จีระ: หากไม่มีกศน. ก็ทำไม่สำเร็จในโครงการนี้ ขอนำเสนอเพื่อพิจารณาดังนี้ ต

ต้องกระตุ้นให้ประเทศของเราเข้าสู่ความเป็นเลิศใน AEC จึงขอเน้นภาคเกษตรเพราะเป็นภาคที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้ว แต่ต้องทำให้มีมาตรฐาน และต้องลิงค์กับประเทศอาเซียน จึงขอให้เขาส่งวิทยากรมาด้วย เช่น ประเทศลาว ก็ต้องเน้นว่าจะมา implement กับไทยได้อย่างไร ซึ่งลาวมีวัตถุดิบมาก ส่วนพม่า เน้นเรื่องการแรรูป และพม่าต้องพึงพาประเทศไทย เพราะไปเป็นประเทศ Agro processing อย่างไรก็ตาม 5 วันนั้นถึงแม้ไม่ว่าแต่ทั้ง 200 คนต้องเข้าไป real sector ในกระทรวงเกษตรมีอยู่ 2 กรม คือ กลุ่มเกษตรกร คุณศิริชัยคุณสหกรณ์ ซึ่งในทางปรัชญาก็ไปในทางเดียวกันกับกศน.คือเน้นปรัชญาของพระเจ้าอยู่หัว ผมอยากสร้างฐานปีระมิดให้กับภาคเกษตร

หน้าที่ของผมคือฝึกผู้นำ และการพัฒนาคนต้องเน้นความต่อเนื่อง ถ้าเรามีความจริงใจกับประเทศของเรา ก็จะพัฒนาให้สำเร็จได้อย่างดี

หากเราจะให้คนภาคเกษตรมีปัญญา คนกศน.ก็ต้องช่วยเขา ใน 5 วันนี้ ฝึกเรื่องที่สำคัญคือกรอบความคิด วิธีการคิดที่ต้อง apply ทุก sector ใน 5 วันต้องช่วยกัน เน้นเรื่องความต่อเนื่องในการใช้ social media

  • -Pre-Planning มีไปเพื่ออะไร?
  • -Leader Camps เน้นอะไร
  • -กศน. àภาคเกษตรàไปสู่ ASEAN เป็นเรื่องที่ยังไม่เกิด
  • ประโยชน์ คือ เกิดแรงบันดาลใจ เกิดแนวร่วม

ASEAN 2015 เป็นตัวกระตุ้นให้ภาคเกษตรไทยของเราเน้นไปที่- High Standard
- High Production
- High Income
- Higher Income Distribution การกระจายรายได้

หากมีกศน.เป็นแนวร่วมช่วยให้ภาคเกษตรดีขึ้นเป็นเรื่องที่ดี อีกทั้งที่สำคัญต้องเน้นเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ โครงการนี้ท่านองคมนตรีมีความสนใจเป็นอย่างมาก

สิ่งที่คาดไว้

(1)ทำให้ภาคการผลิตของเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยดีขึ้น

(2)ถ้าดีถึงขนาดได้ร่วมมือกับ ASEAN มีโครงการต่างๆที่เชื่อมโยงกับ ASEAN ในด้านเกษตร การค้า การลงทุน และเกษตรแปรรูปก็เป็นเป้าหมายที่สำคัญ

นอกจากนี้อาจจะได้ประโยชน์ทางอ้อมตามมา เช่น

qFood Safety ลดการใช้สารเคมี เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมาก

qเพิ่มมูลค่าจากเกษตรโดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ซึ่งผมจะเรียกการเพิ่มมูลค่าว่า “3V”

§Value Added

§Value Creation

§ Value Diversity

เริ่มจากการเรียนรู้ร่วมกัน 5 วัน อาจจะเป็นจุดเริ่มต้น จึงเน้นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ที่ผมใช้มาเป็นเวลานาน คือ - 4L’s

  • -Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี
  • -Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
  • -Learning Opportunitiesสร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้
  • -Learning Communitiesสร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้
  • - 2R’s

- Reality - มองความจริง

-Relevance - ตรงประเด็น มีimpact ต่อตัวเอง ต่องานที่เราทำ และต่ออาเซียน

รศ.ดร.ประเสริฐ จรรยาสุภาพ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้: วันนี้ขอแลกเปลี่ยนไอเดีย แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน วันนี้จะลองมาคุยกันเรื่อง SWOT และบทบาทของกศน. ในการพัฒนาเกษตรกร

เรื่องที่หนีไม่พ้นเรื่องการเกษตรและเรื่องการเข้าสู่อาเซียน คำถามคือวันนี้เราจะทำอะไรได้บ้าง ประเทศไทยเน้นเรื่องข้าวมองระดับmacro พบว่าข้าวเราลดน้อยถอยลงไปอย่างเห็นได้ชัด ในอดีตเราเคยส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก ปัจจุบันเวียดนาม อินเดียแซง ประเทศไทยเป็นอันดับ 3 อีกทั้งเรื่องคุณภาพก็ตกลงไปด้วย คำถามคือ ทำไมเป็นอย่างนี้ และนโยบายของภาครัฐเป็นอย่างไร เกษตรกรในวันนี้สามารถผลิตข้าวเพื่อไปขายให้เยอะแต่ไม่เน้นเรื่องคุณภาพ และไม่มีใครคิดจะพัฒนาอย่างจริงจัง

เรื่องที่สองคือเรื่องเราขายวัตถุดิบทางการเกษตร แต่เราก็คิดว่าเราจะเพิ่มมูลค่าของผลผลิต

เกษตรกรในประเทศบวก 6 เช่นญี่ปุ่น เขามีการรวมตัวสร้างเครือข่ายทำให้เกิดการต่อรองที่ดี อย่างเช่นการมีสหกรณ์ที่เข้มแข็ง เช่น เชียงใหม่สหกรณ์สันป่าตอง สหกรณ์พร้าว ผลิตข้าวได้ดีไม่พอขาย มีบริษัทใหญ่อย่างเช่นแอมเวย์ผูกขาดซื้อข้าวที่นี่ การจำนำข้าวทำลายระบบตลาด รัฐบาลทำแบบนี้เป็นประชานิยม ช่วยประชาชนระยะสั้น

การเชื่อมโยงกับอาเซียน เรามองสินค้าการเกษตรเป็นวัตถุดิบอย่างเดียวไม่ได้แล้ว trend วันนี้คือ เน้นเรื่องorganic หรืออินทรีย์ 2 ปีที่แล้วผู้บริหารของแม่โจ้ ขอครวจเลือดคน พบว่ามีความเสี่ยงด้วย เนื่องจากบริโภคผักที่มีสารเคมีสูง อีกไม่นานประเทศสิงคโปร์มีหลายหน่วยงานส่งเสริมเรื่องเกษตรอินทรีย์ เขามองเรื่องนี้ก่อนเป็นเรื่องสำคัญ

ทำให้ประทศไทยต้องคิดว่าจะมี roadmap อย่างไรในเรื่องนี้

สรุปภาพรวมทางการเกษตรของไทยเริ่มเปลี่ยนไป เพราะไม่มีการพัฒนาคุณภาพคิดแต่เรื่องขาย และเน้นเรื่องการเชื่อมโยงกับอาเซียน

อ.จีระ :ขอถามอาจารย์เรื่องโครงสร้างอาเซียนเกษตร มีโครงการอะไรบ้างที่ร่วมมือกับอาเซียนในกระทรวงเกษตร

รศ.ดร.ประเสริฐ : มีทั้งกระทรวงเกษตร และ กระทรวงพาณิชย์ที่ทำในเรื่อง Organic ในอนาคต

อ.จีระ: ในอนาคตต้องเน้นเรื่องอาเซียนกับข้าวเป็นหลัก อาเซียนจะลดสินค้าเกษตรเป็นศูนย์ อินโดเป็นแหล่งค้าขายทางด้านเกษตรไม่ใช่น้อย การจะเชื่อมโยง Connection ในการเข้าไปอาเซียนก็จะทำให้เกิดประโยชน์มหาศาล

คุณศิริชัย: กศน.มีลักษณะคล้ายสหกรณ์เพราะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านต่างๆ เพราะกศน.มีสำนักงานส่งเสริม และการศึกษานอกระบบ ศูนย์ฝึกวิชาชีพ การเชื่อมโยงไปสู่อาเซียน

ค่ายผู้นำครั้งนี้ต้องนำไปสู่การกำหนดหลักสูตรขึ้นมาใหม่ ในการศึกษานอกระบบ เพราะปัญหาเกษตรด้านอาเซ๊ยน ต้องทำอย่างไรให้นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชนระดับรากหญ้า ปัจจัยสำคัญ คือ เรื่ององค์ความรุ้ และการพัฒนาผู้นำ ความร่วมมือสนับสนุนจากภาครัฐ สร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง ให้องค์กรทำงานครบวงจร และเรื่องธรรมภิบาล

ส่วนสหกรณ์ กำลังมีหลักสูตรสหกรณ์ในการศึกษาภาคบังคับตังแต่เด็กถึงมหาวิทยาลัย ซึ่งกศน.คงคิดคล้ายๆกัน

หลักสูตรนี้ผลักดันความรู้ให้แก่เกษตรกรเรา ทั้งเรื่องโครงสร้างการผลิต และโครงสร้างการตลาด ปัญหาคือ เรื่องประสิทธิภาพ คุณภาพการผลิต การใช้สารเคมี และต้นทุนการผลิต

ประเทศไทยมีปัญหากับเมล็ดพันธุ์ข้าว ซึ่งผลิตข้าวได้น้อยและไม่มีคุณภาพ เรื่องการผลิตก็ไม่พอ ต้องมีการแปรรูปด้วยซึ่งประเทศไทยแปรรูปร้อยละ 5 เท่านั้น และต้องเชื่อมโยงตลาด ในลาว พม่า เกษตรกรเป็นผู้ผลิต แต่มีการแปรรูปนั้นจีน เวียดนามเก่ง

เชียงใหม่เป็นแห่งแรกที่ทำชุมนุมสหกรณ์

โดยสรุป ขอให้โครงการนี้สร้างความรู้ ให้เกิดความหลากหลายตรงตามความต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุด เชื่อมโยงไปยังสถาบันเกษตรกร เครือข่ายของกศน.ควรเป็นเครือข่ายสำคัญในการเชื่อมโยงไปสู่อาเซียน

อ.จีระ: นอกจากองค์ความรู้แล้ว ต้องเอาความรู้ไปปะทะกับความจริง ต้องเพิ่ม productivity และ ต้องมี complementarity กัน ประเทศอาเซียน เพราะบางประเทศเป็นแหล่งผลิต ส่วนไทยเป็นแหล่งแปรรูป

หลังจากนี้ขอให้พูดถึงสิ่งที่อยากแนะนำเรื่องหลักสูตร และวิธีการเตรียมการในครั้งนี้ สร้างทุนมนุษย์อย่างไรไปสู่การเกษตร

คุณ....: งานกศน.เกี่ยวกับเกษตร ตรงที่จะพัฒนาเกษตรกรที่มีอยู่แล้วซึ่งอยุ่ในภาระหน้าที่ของเรา ต้องพัฒนาเกษตรกรให้มีมาตรฐาน

และสร้างเกษตรกรใหม่ ให้มีอาชีพเสริม เช่นการเพาะเห็ด เช่นอำเภอหนองไคล หนองคาย สามารถเพาะเห็ดมีรายได้ 10,000 บาทต่อเดือน

องค์ความรู้ต้องเป็นองค์ความรู้ที่กว้างขวาง และดึงภาคีเครือข่าย สร้างเกษตรใหม่ และพัฒนาเกษตรกรเก่า เพื่อพัฒนาผลผลิต การผลิต เข้าสู่อาเซียน

คนที่เป็นกลไกที่สำคัญคือ ผู้บริหารกศน.อำเภอ อบรมแล้วได้อะไร และจะต้องปฏิบัติจริง นอกจากสอนแล้วเอาองค์ความรู้ไปทำในพื้นที่เพื่อให้ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้ 5 วัน ควรให้ผู้บริหารกศน.อำเภอมาฟังด้วย

อ.จีระ: เราได้เลือกภาคเหนือ 102 คน บางท่านมาที่นี้แล้ว หากมีกลุ่มอื่นก็ต้องพิจารณาด้วย ซึ่งคนทีเข้ามาจะต้องไป train ต่อ ประเด็นที่สำคัญนอกจากได้องค์ความรู้ ก็ไปสอน สอนแล้วต้องimplement ไปปะทะกับเกษตรกรระดับรากหญ้า กศน.ทำให้เกิดการกระจายรายได้ องค์ความรู้ที่จะได้ในการรองรับอาเซียนใน 5 วันจะสรุปให้เป็นอย่างดี การศึกษายุคใหม่ You have to know What to do

ผู้บริหารกศน.: เรามีครูกศน.ตำบลที่ใกล้ชิดกับเกษตรกร กศน.จังหวัดต้องขยายไปยังพื้นที่ของตัวเองให้มากที่สุด หลักสูตรอาเซียนศึกษาสอนกว้างๆ แต่ไม่ได้ลงลึกว่าเกษตรกรของประเทศนั้นๆทำอะไร อุตสาหกรรมเกษตรมีอะไรบ้าง ซึ่งต่อไปก็ต้องคิดหลักสูตรที่เจาะจงกว่านี้

ผู้บริหารกศน. คนที่ 2 : ท่านประเสริฐ ให้ความสำคัญในการพัฒนาด้านเกษตรของพี่น้องประชาชน มีศูนย์ฝึกชายแดนทั่วประเทศ ช่วยดูแลพัฒนาองค์ความรู้ด้านเกษตรด้วย และเน้นการปฏิบัติจริงด้วย

การอบรมครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนในการปรับวิธีคิด เพื่อปรับกับกศน. และยุทธศาสตร์การทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อมพี่น้องประชาชนในการเปลี่ยนแปลงสู่อาเซียน

ผู้บริหารกศน.คนที่ 3 : สิ่งที่ดำเนินการค่ายผู้นำต้นแบบในเรื่องอาเซียน เน้นเรื่อง ASEAN trend ตอนนี้เน้นเรื่อง Aging society กระแสที่มีความรวดเร็ว ที่เชื่อมโยงไปยัง Customer Society ผลผลิตจะไปส่งเสริม ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้มากน้อยแค่ไหน การขยายผลต้องให้ศูนย์ฝึกทุกภาคเป็นผู้ผสมให้ได้สัดส่วนลงไปถึงสถานศึกษา

Aging society สุขภาพมีความสำคัญ อาหารอินทรีย์ก็สำคัญด้วย เรื่อง SMEs ต้องทำให้เข้มแข็ง ดังนั้นสิ่งที่กศน.ต้องทำคือให้หมู่บ้านต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ สังคม กศน. ต้องลงบทบาทให้ชัดเจนและลงตัว

ผู้บริหารกศน.คนที่ 4 : เรื่องงานวิจัย เน้นเรื่องกระบวนการคิด การรู้จักใช้เทคโนโลยีในกาทำงาน เรื่องการใช้ชีวิตให้สมดุล ร่วมกันอยู่ในสังคม ความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยในสังคมถ้าเราเข้าใจเรื่องนี้ก็เป็นประโยชน์มาก

ผู้บริหารกศน.คนที่ 5 : ยุทธศาสตร์อะไรที่ขับเคลื่อนกระบวนการความคิดใน 5 วันไปสู่พันธะสัญญาในภาคีเครือข่ายในเกษตร หากเราสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ และพันธกิจระหว่างมูลนิธิ และกศน.ได้ก็จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้

ผู้บริหารกศน.คนที่ 6 : อยากให้เน้นเรื่องการใช้ Social media ในวันแรกๆ ทำให้ทุกคนมีเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันได้ ก็จะทำให้แลกเปลี่ยนความรู้ได้ง่ายขึ้น

ผู้บริหารกศน.คนที่ 7 : หน่วยงานกศน.มีหลักสูตร Organic ภาคการเกษตร เกษตรกรรู้สึกดีที่ไม่ใช่สารเคมี แต่พอจริงๆแล้วก็ใช้สารเคมี เกษตรกรจะค่อยเป็นค่อยไปในการไม่ใช้สารเคมี กลุ่มเพื่อการผลิตเพื่อการคงอยู่เพื่อปากท้อง เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด ทำเกษตรเสร็จก็ไปรับจ้างต่อ หรือจ้างคนมาฉีดสารเคมี เสร็จแล้วก็รับเงินมา

เมื่อเรามารับองค์ความรู้ และอีก 5 วันก็ดีใจที่มีผู้บัญชาการพร้อมที่จะขับเคลื่อน และทีมงานผู้ปฏิบัติร่วมกับเกษตรจะขาดช่วงหรือไม่และต้องเขียนโครงการในบริบทของเขา แต่มีการปรึกษามาก่อนหรือไม่ว่ามีปัญหาอะไรจริงๆ เกษตรกรไม่ได้อยากมาเรียน แต่อยากแลกเปลี่ยนความรู้ อยากถามว่าถึงเวลาเขียนโปรเจคแล้วจะโดนใจเขาหรือไม่

อ.จีระ: ใน 5 วันได้รู้จักกันเพิ่มขึ้นระหว่าง 102 ท่าน และมีมาจากอาเซียนด้วย ต้องได้วิธีการเรียน ร่วมกับ Content ต้องสรุปว่า Where are we going from now และจะมีพี่เลี้ยงประจำกลุ่มดูแลเรื่องการเขียนโครงการอย่างใกล้ชิด และจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง การอยู่ด้วยกัน การมีโอกาสไปดูงานในอาเซียนด้วยกัน ผลผลิตคือทำให้ภาคการเกษตรพัฒนาไปได้

ผู้บริหารกศน.คนที่ 8 ผอ.ปัตตานี : เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่มีโอกาสทำและพัฒนาเกษตรกรไทยสู่อาเซียน ภาคใต้มียางพารา ปาล์มน้ำมัน ซึ่งเกษตรกรใช้สารเคมีแต่ไม่มีหน่วยงานภาครัฐทดลองว่าการใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนจะได้ผลผลิตที่ดี

ตัวแทนสหกรณ์เชียงใหม่: หากได้ความรู้จากระทรวงศึกษาเข้ามาก็จะสามารถส่งเสริมความรู้ได้ดีขึ้น เชียงใหม่แต่ละอำเภอ กศน.สามารถเชื่อมกับสหกรณ์แต่ละอำเภอได้

คุณศิริชัย: กศน.รู้จริงอยู่แล้ว ในการทำค่ายผู้นำ ก็จะนำประเด็นสร้างเกษตรกรใหม่ พัฒนาเกษตรกรเก่า ทำอย่างไรที่จะสร้างแรงจูงใจที่จะทำให้คนรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคเกษตรมากขึ้น

เรื่อง SME , Lgostic ก็เป็นปัญหาของภาคเกษตรไทย

ยุทธศาสตร์ที่กำหนดใหม่มีมาก สิ่งที่จะเติมเต็มคือ ให้วิทยากรเข้ามาเตรียมตัวก่อน ประเด็นต่อไป คือ ทำอย่างไรที่จะนำไปสู่ภาคปฏิบัติได้จริง การบูรณาการ การเชื่อมโยงทั้งหมดสำคัญ และให้มูลนิธิเป็นแกนนำในด้านวิชาการ

รศ.ดร.ประเสริฐ : วันนี้ได้ความคิดที่หลากหลายและคาดหวังสูง โครงการนี้เป็นจิ๊กซอว์ตัวหนึ่งในหลายๆตัว ต้องเน้นจุดหมายปลายทางว่าจะได้อะไร

  • -เรื่องเกษตรกรไม่ให้ใช้สารเคมี ต้องมีตัวอย่างให้เห็นว่าปลายทางจะเห็นอะไร
  • -สหกรณ์ต้องมีทั่วประเทศ ทุกตำบล และหมู่บ้าน มีปรัชญาให้ช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • -ต้องมีปรัชญาพัฒนาเกษตรกรให้ตรงกัน และเดิน Roadmap ว่าจะเดินแบบไหน
  • -เรื่องผู้สูงอายุ ในมุมบวก คือ กศน.มีลูกค้าเยอะ เป็นจุดเด่นที่จะมีภาระ และกิจกรรมมากขึ้น
  • -สหกรณ์ไม่ใช่นิติบุคคลอย่างเดียว แต่เป็นวิธีการ เป็นวาระแห่งชาติ ให้กลุ่มต่างๆมารวมตัวกันเพื่อทำงานร่วมกัน โดยวิธีการสหกรณ์ เพื่อช่วยตัวเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

คุณพิชญ์ภูรี: ประทับใจและเป็นเรื่องจริงจังจริงใจ ประเด็นหลัก 2 อย่าง คือ

1.องค์ความรู้

2. วิธีการ ทำอย่างไรให้ 5 วันประสบความสำเร็จ

Learning How to Learn.. ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

3V วัดได้จากแผน หลังจากได้รับความรู้ มีเครื่องมือ มี Coach

ทฤษฎีด้านซ้ายเป็นนามธรรม ส่วนด้านขวาเป็นความจริง reality และการทำให้ตรงประเก็น

ต่อไปเน้นว่าไปวิธีการไปแล้ว มาทำเป็นแผนได้หรือไม่

สิ่งสุดท้ายคือ ต้องการ innovation ต้องการให้ได้องค์ความรู้ใหม่ๆ

อ.ประสพสุข: หลายท่านมีองค์ความรู้ค่อนข้างมาก เราพยายามเชื่อมโยงกับอาเซียน ร้อยละ 70 ของไทยเป็นภาคเกษตร ซึ่งนำรายได้เข้าสู่ประเทศ ซึ่งเป็นรายได้แค่ร้อยละ 30 เท่านั้น ปัญหาคือ นโยบายของรัฐหลายประการ ทำให้ผลิตสินค้าเน้นปริมาณ โดยไม่ได้เน้นคุณภาพ

หลักการที่สำคัญของสหกรณ์คือ ต้องช่วยเหลือตัวเอง และให้ความร่วมมือ ผลที่ได้รับคือต้องติดตามผล ให้วิเคราะห์ไปสู่ภาครัฐ เน้นไปสู่รูปธรรมให้มากขึ้น

คุณจีระเดช: การเกษตรกรรม มักจะหายไปจากสังคมมาก สิ่งที่เกิดขึ้นคือการฉาบฉวยกลุ่มแรกคือ ตอนเรียนวิชาชีพ คือ กลุ่มพืชล้มลุก

กลุ่มที่สอง พ่อแม่มีอาชีพ เริ่มจากการเรียนวิชาชีพจากพ่อแม่ ซึ่งตรงกับกศน.คือ การศึกษานอกระบบ คือ กลุ่มมีราก

กศน.บางครั้งถูกมองข้ามจากระบบการศึกษา แต่ถูกมองว่าเป็นการศึกษาจากคนอายุมาก

การที่จะทำสินค้าให้เป็น Niche market ต้องถามว่าเราทำไปแล้วคุ้มหรือไม่

คุณชัยพร: ทางกศน.เป็นแหล่งความรู้ ภาคเกษตรก็มีความรู้ดั่งเดิมอยู่แล้ว จึงขอมองไปที่วัตถุประสงค์ที่เกษตรไปยังอาเซียน และทำอย่างไรให้เพิ่มมูลค่าในตัวของมันเอง ซึ่งหากจะทำอะไร ต้องคิดว่าต้องขายได้ และคิดเรื่องแปรรูป

อ.ทำนอง:ตัวอย่างที่มูลนิธิจัดที่เครดิตยูเนี่ยน พาไปดูงานที่เกาหลี ใช้แนวคิดของสหกรณ์ ถ้ามองสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี ใช้คนเป็นตัวผลักดันประเทศ ประเทศไทยช่วยเกษตรกรเยอะมาก แต่น่าคิดว่าทำไมเกษตรกรจนลงทุกที เป็นไปได้หรือไม่ให้ทำเป็น Farmer university หากผลักดันได้ก็ยั่งยืน

คุณวรวุฒิ: สิ่งที่อยากให้เน้นคือ เรื่องของบทบาทของกศน. บทบาทของCoach หน้าที่ Coach ที่เกี่ยวกับภาคเกษตรไปสู่อาเซียน และเน้นว่ามาตรฐานสังคมอะไรบ้างที่เราต้องนำมาพัฒนาต่อเกษตรกร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท