Splint ..จากสิ่งรอบตัว


 

สวัสดีค่ะ ในช่วงเวลาสุดท้ายของปี2556ที่ผ่านมา ดิฉันได้รับความรู้ดีๆจากการเรียนกับอาจารย์ป๊อปในวิชาการสังเกตและการให้เหตุผลทางคลินิกพื้นฐาน และมีโอกาสเรียนรู้กิจกรรมบำบัดจากเคสตัวอย่างทั้งหมด10เคส

 

ดิฉันจะขอนำเคสตัวอย่าง1เคส ที่ดิฉันให้ความสนใจมากที่สุดมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

 

เคสที่ดิฉันจะกล่าวถึงนี้ เป็นเคสของนักศึกษาชายจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มาพบนักกิจกรรมบำบัด(อาจารย์ป๊อป)เนื่องจากนิ้วโป้งมีอาการเกร็งเมื่อเล่นกีตาร์ไปนานๆ จนขัดขวางการเล่นเครื่องดนตรีที่เขารัก โดยนักกิจกรรมบำบัดจะใช้ PEOP (Person Environment Occupation Performance)FoR ซึ่งเป็น Occ Frame และ Physical Rehabilitation FoR ควบคู่กันไป มีสิ่งหนึ่งที่ดิฉันให้ความประทับใจเป็นพิเศษในการบำบัดเคสนี้ก็คือ อาจารย์ป๊อปได้มีการคิดค้นSplintแบบใหม่ที่ดิฉันรวมถึงเพื่อนๆทุกคนไม่เคยเห็นจากที่ไหนมาก่อน นั่นก็คือSplintที่ทำจากเทปใสนั่นเองค่ะ โดยนำมาพันรอบInterphalangeal Jointของนิ้วโป้ง เพื่อไม่ให้เกิดการextendมากเกินไป ลดอาการเกร็ง และมีการออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วโป้งร่วมด้วย

ซึ่งเจ้าสิ่งนี้ทำให้ดิฉันคิดว่า ถ้าเรามองเทปใสเป็นเพียงแค่ที่ติดกระดาษธรรมดา มันก็จะใช้ติดกระดาษได้เพียงอย่างเดียว แต่ถ้าเรามองว่ามันสามารถนำมาบำบัดรักษาคนได้ เจ้าเทปใสธรรมดาก็คือSplintดีๆนี่เองค่ะ

 

 

 

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอาจารย์ป๊อปที่ทำให้ดิฉันรู้จักกับคำว่ากิจกรรมบำบัดมากขึ้น และก้าวสู่ความเป็นนักกิจกรรมบำบัดเข้าไปอีกขั้นค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด#splint
หมายเลขบันทึก: 558618เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2014 02:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มกราคม 2014 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท