ดนตรีคือชีวิต


     ในเช้าตรู่วันที่ 26 ธันวาคม 2556 เป็นเช้าที่ท้องฟ้าแจ่มใสอากาศเย็นกำลังดี ในวันนั้นเป็นวันที่ผมจะต้องมาเรียนวิชาการสังเกตและการให้เหตุผลทางคลินิกพื้นฐาน กับอ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง หรือที่หลายๆรู้จักกันดีในนามว่า"อ.ป๊อป" ในวันนั้น อ.ป๊อป ได้นำกรณีศึกษาของผู้รับบริการจำนวน10เคสมาให้พวกผมที่เป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่2ได้มาศึกษาและปรึกษาหารือกันว่าเราจะรักษาเขาได้อย่างไรและใช้กรอบอ้างอิงอะไรมาใช้ในการรักษา ซึ่งใน10เคสนี้ผมจะยกตัวอย่างมา2เคสด้วยกันนะครับเนื่องจาก2เคสนี้มีความผิดปกติที่เหมือนกัน 

 

 

 

     ทั้ง2เคสนี้เป็นนักศึกษาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งและมารับบริการทางกิจกรรมบำบัดเนื่องจากอาการเกร็งที่นิ้วมือเวลาเล่นกีต้าร์แล้วไม่สามารถควบคุมนิ้วมือได้ตามต้องการก่อนอึ่นขอกล่าวก่อนว่าทั้ง2คนนี้ไม่ได้มารับบริการทางกิจกรรมบำบัดพร้อมกันนะครับ ซื่งในรายแรกมีอาการเกร็งที่นิ้วกลางและนิ้วนาง เวลาเล่นนิ้วทั้ง2จะไปพร้อมกัน ส่วนอีกรายมีอาการเกร็งที่นิ้วโป้ง ทั้ง2รายมีสาเหตุมาจากการเล่นกีต้าร์ต่อเนื่องนานเกินไป 

     เมื่อกลุ่มของผมได้ระดมความคิดกันก็ได้ข้อสรุปมาว่าจะรักษาผู้รับบริการทั้ง2รายนี้โดยใช้กรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัดคือPEO(Person Environment Occupation) ร่วมกับกรอบอ้างอิงที่ชื่อว่า Physical Rehabilitation ซึ่งก็ตรงกับที่อ.ป๊อปใช้ในการรักษา ซึ่งอ.ป๊อปใช้PEOซึ่งเปรียบเสมือนวงกลม3วงแทนในทั้ง3ด้านของบุคคลนั้นมาใช้เพื่อประเมินว่าทั้ง3ด้านของนักดนตรีทั้ง2คนนี้มีความผิดปกติในด้านไหน ส่วนอีกกรอบอ้างอิงคือPhysical Rehabilitationจะนำมาใช้เพื่อรักษาอาการทางด้านกายภาพของผู้รับบริการโดยอ.ป๊อปได้ทำsplintแบบพิเศษให้กับนักดนตรีทั้ง2ซึ่งหลังจากที่ได้รับบริการทางกิจกรรมบำบัดไม่กี่ครั้งอาการของเขาทั้ง2คนก็ดีขึ้นและสามารถเล่นกีต้าร์ได้ตามปกติ

 

 

     และสาเหตุที่ผมเลือกเคสนี้นำมาเขียนบันทึกก็เนื่องจากว่า ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่รักในการเล่นดนตรีผมจึงเข้าใจความรู้สึกทุกข์ของผู้รับบริการได้เป็นอย่างดีเพราะว่าสมองเขาสามารถส่งกระแสประสาทมาได้แต่นิ้วมือของเขานั้นไม่ได้เคลื่อนไหวไปอย่างที่เขาคิด ผมต้องขอขอบคุณอ.ป๊อปและเคสกรณีศึกษาทั้ง2คนที่ทำให้ผมนั้นใช้กรอบอ้างอิงต่างๆได้อย่างถูกต้องซึ่งก่อนหน้านี้ผมไม่เข้าใจว่ากรอบอ้างอิงต่างๆนี้ใช้อย่างไร

หากผู้อ่านท่านใดมีข้อสงสัยหรือมีคำติชมสามารถแสดงความคิดเห็นได้เลยนะครับ สุดท้ายนี้ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาอ่านการเขียนบันทึกครั้งแรกของผม หากมีข้อผิดพลาดประการใดผมต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ :)

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 558248เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2014 03:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2020 07:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท