beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

การประยุกต์แนวคิดโรงเรียนวิถีพุทธฉือจี้เข้าไปในการเรียนการสอนรายวิชาการจัดการดำเนินชีวิตกลุ่ม ๕๐๑


ชาวนา ไขน้ำเข้านา ช่างศร ดัดลูกศร บัณฑิต ย่อมฝึกตน

     คนที่ชวนไปดูงานที่โรงเรียนวิถีพุทธฉือจี้ คือ อ.อธิป ผอ.กองศึกษาทั่วไป ที่ชวนบีแมนไปบอกว่าจะไปดูพิธีชงน้ำชาของโรงเรียน แต่ไปจริงก็ไม่ได้ชงน้ำชาให้ดู..สิ่งที่ผอ.ต้องการจากบีแมน คือ การเอาความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ในฐานะที่เป็นผู้ประสานงานรายวิชา..

     ความจริงเรื่องที่ไปเรียนรู้มา สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายเรื่อง แต่สิ่งที่เห็นได้คือการที่ "ต้องนำกลับไปปฏิบัติ" ซึ่งเรื่องแรกที่คิดว่าทำได้คือเรื่องของการบรจาคทาน..กระปุกออมบุญ

     เรื่องที่นึกได้ก่อนคือ รายวิชาศึกษาทั่วไป ๐๐๑๒๓๖ การจัดการดำเนินชีวิต..กลุ่มที่สอนอย่างน้อยมี ๒ กลุ่ม เลือก กลุ่มพิเศษเรียกว่ากลุ่ม ๕๐๑ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เรียนทับซ้อนเวลากับกลุ่มปกติ คือ กลุ่มปกติเป็นเทอม ๒ แต่กลุ่มพิเศษนี้เรียนภาคฤดูร้อน (เทอม๓) ซึ่งมีช่วงเวลาของการเรียนสิ้นสุดเมื่อ ๗ มีนาคม ๒๕๕๗ คือมีเวลาเรียนเพียง ๒ เดือนเท่านั้น

    ตอนที่เปิดกลุ่มเรียนนี้ ก็ไม่ได้นึกถึงว่าจะเรียน ๒ เดือน ซึ่งจะต้องแยกสอนออกมา เพราะคนลงทะเบียนมีเวลาไม่ตรงกัน และส่วนมากจะเรียนจบในภาคฤดูร้อนนี้..ผู้เรียนมี ๔ คณะ (ที่เข้าร่วมโครงการ-รหัส ๕๓ ขึ้นไป) จำนวน ๖ คน (ข้อมูลเมื่อ ๒ ม.ค.๕๗) แยกตามคณะดังนี้

  • คณะวิทยาศาสตร์ จากภาควิชาคณิตศาสตร์ ๑ คน คือ นางสาวสุกัญญา เบี้ยจริส
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ จากภาควิชาวิศวกรรมโยธา ๑ คน คือ นายพีรวัฒน์ ไชยมงคล
  • คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา ๑ คน คือ นางสาวศันสนีย์ มีบุตร
  • คณะมนุษยศาสตร์ ๓ คน
    • นางสาวอสิญา ปั้นดี ภาษาเกาหลี
    • นายอิทธพงศ์ คงมั่น (แซม) ภาษาไทย
    • นางสาวมัลลิกา อภิคหบดี ภาษาไทย

    การจัดการเรียนการสอนค่อนข้างจะยุ่งยากหน่อย เนื่องจากเวลาทับซ้อนกันเหมือนขึ้น Time Machine คือ คนส่วนใหญ่เรียนภาคปกติซึ่งเป็นเทอม ๒ มีเวลาเรียน ๔ เดือน ซึ่งบีแมนสอน ๕ วิชา สัปดาห์ละ ๕ วัน เลิกเรียน ๕ โมงเย็น.. ดังนั้นกลุ่มพิเศษนี้ ต้องเรียนเป็น ๒ เท่า สัปดาห์ละ ๔ วันๆ ละ ๒ ชั่วโมง..

    การหาห้องเรียนสำหรับ ๑๐ คน ก็เป็นปัญหาพอสมควร ในที่นี้เลือกใช้บริการของสำนักหอสมุด โดยการเสนอของคุณประดับเดือน แห่งกองการศึกษาทั่วไป..ซึ่งได้ทำหนังสือไปยังผอ.สำนักหอสมุด แต่เนื่องจากในตารางเรียนยังไม่ได้กำหนดเวลาไป จึงทำเรื่องขอจองห้อง วันจันทร์-ศุกร์ เลย เพราะว่ายังไม่ได้นัดเวลาเรียนนิสิต..ทางสำนักหอสมุด โดยคุณต้อย-สุนิสา ก็โทรมาบอกว่าขอให้แจ้งช่วงเวลาและวัน เพื่อจองห้องไว้ในระบบ Online และจะได้ไม่เป็นการกันที่นิสิตคนอื่นๆ ด้วย ตั้งใจจะเรียนกัน ตอน ๕ โมงเย็นถึง ๑ ทุ่ม..สัปดาห์ละ ๔ วัน

    สอบถามเรื่องห้องเรียน เป็นห้อง Self Study มีเพียงกระดานไวท์บอร์ด และ wireless (ไร้สาย=ไม่มีเส้นลวด) เท่านั้น 

     กลุ่ม ๕๐๑ นี้ การเรียนการสอนก็ยึดมคอ.๓ เป็นหลัก อยู่ในใจผู้สอน แต่การเรียนการสอนจะเน้นการปฏิบัติและตรวจสอบอารมณ์ความรู้ที่ได้รับ ผ่านการเขียนสมุดบันทึกการเรียนรู้ (Journal) และการพูดคุยในชั้นเรียน 

วิธีการสอน

  1. เป็นการพูดคุยกันแบบ KM-การจัดการความรู้ ในเรื่องจุดประสงค์ของรายวิชาการศึกษาทั่วไป..และจุดประสงค์ของรายวิชา
  2. พูดคุยกันเรื่องแนววิธีการเรียนการสอน ที่เน้นการปฏิบัติ แล้วเอาเรื่องที่ปฏิบัติได้มา Share ความรู้กันเพื่อตรวจสอบอารมณ์
  3. กำหนดกติกาการให้คะแนน จาก ๑๐๐ คะแนน มีสัดส่วนของการสอยและไม่สอบเป็นเท่าใด
  4. การปฏิบัติ เน้นเรื่อง "พรหมวิหาร ๔"
  5. ข้อเมตตา เน้นเรื่องกระปุกออมบุญ เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึง ก็เอาสตางค์มานับกัน แล้วคุยกันว่าจะไปใช้ทำงานสาธารณะประโยชน์อันใด
  6. ข้อเมตตา โยงมาถึงเรื่องความกตัญญูกตเวที จะมีการแสดงออกอย่างไร..ข้อนี้สามารถโยงไปถึงเรื่อง การชลอภาวะโลกร้อนได้ด้วย
  7. ทุกเรื่องที่นำไปปฏิบัติแล้ว ก็มาเล่าสู่กันฟังแบบ สุนทรียสนทนา...
  8. พอจบแล้วก็ฝึกเขียน Mind mapping ลงสมุด Journal และฝึกเล่าเรื่องแบบบรรยายด้วย
  9. เรื่องทฤษฏี ๑๕ บท ก็ให้ดูจาก Powerpoint ผ่าน Notebook และจะได้นัดสอบกัน ๒ ครั้ง..ตามที่จะตกลงกัน..

     เป็นงานที่ท้าทายว่า นิสิตจะปฏิบัติกันได้แค่ไหน แต่ที่สำคัญผู้สอนก็ต้องฝึกตนไปพร้อมกับนิสิตด้วย

    ตอนสมัยเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ ๒ อ่านหนังสือ "ทางแห่งความดี" ของท่าน วศิน อินทสระ บีแมนชอบพุทธวจนะที่ว่า "ชาวนา ไขน้ำเข้านา ช่างศร ดัดลูกศร บัณฑิต ย่อมฝึกตน"

   ข้อ ๑๐ คือ ยกพุทธศาสนสุภาษิตหรือหัวข้อธรรมะขึ้นมา วันละบทและให้แสดงความเห็นกันออกมาทุกๆ คน

 

หมายเลขบันทึก: 558166เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2014 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2014 09:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท