กิน เล่น บำบัด


         

          สวัสดีคะ ดิฉันนักศึกษากืจกรรมบำบัดชั้นปีที่2คะ บทความนี้เป็นบทความแรกของดิฉันเลยคะ 

         ในบทความนี้ดิฉันจะเขียนถึงหนึ่งในเคสกรณีศึกษาจากวิชาการสังเกตและการให้เหตุผลทางคลินิกพื้นฐาน กับอาจารย์ป๊อป ในหัวข้อเรื่องกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดและการประยุกต์กรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัดในกรณีศึกษาต่างๆคะ ซึ่งที่ดิฉันเลือกเคสกรณีศึกษานี้เพราะว่า เป็นเคสที่น่าสนใจและเห็นว่าเพื่อนๆยังไม่มีใครเขียนกรณีศึกษานี้ เลยอยากนำมาเขียนให้ทราบกันคะ

 

          ในเคสนี้เป็นน้องวัยเตาะแตะอายุประมาณ ปีกว่าคะ น้องมีปัญหาที่สำคัญคือติดเล่นของเล่น จนไม่ยอมกินข้าว ทำให้ร่างกายผอม จนต้องแอดมิดเข้าโรงพยาบาลกันเลยที่เดียว  และปัญหาSID(sensory integration disorder) โดยน้องมีประสาทรับความรู้สึกไวมากกว่าปกติ ถ้าโดนสัมผัส ก็จะเดินหนี และน้องวอกแวกง่าย เปลี่ยนความสนใจบ่อยและเร็วคะ และประกอบกับผู้ปกครองไม่ค่อยมีเวลาให้ เลยเรียกร้องการสัมผัสคะ

          นักกิจกรรมบำบัดได้ใช้กรอบอ้างอิง SI (sensory integration)มาสังเคราะห์กิจกรรมให้น้องคะ โดยให้น้องทำกิจกรรมเดียว เพราะน้องวอกแวกง่าย เป็นกิจกรรมแบบมีเงื่อนไข คือทำแล้วให้รางวัล และ ใช้วิธีtherapeutic use of self คนเป็นสื่อกลางในการทำกิจกรรม คือ นักบำบัดชวนน้องมาเล่นด้วยกันคะ แต่เนื่องจากน้องมารักษาได้ไม่ต่อเนื่องนัก ทำให้การรักษาไม่ค่อยได้ผลนัก เลยเปลี่ยนมาใช้ PEOP (Person Environment Occupation Performance) เน้นให้น้องนั่งกินข้าวสลับกับการเล่นคะ ทั้งนั้นทั้งนั้นวิธีการนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองคือ ช่วยฝึกน้องทุกวันคะ

          ในฐานะนักศึกษากิจกรรมบำบัดดิฉันเห็นด้วยกับวิธีการรักษาคะ คือถ้าแผนการรักษาไม่ได้ผลก็ต้องเปลี่ยนแผนการใหม่เพื่อให้ผลการรักษาดีขึ้น เป็นผลดีของทั้งตัวน้องแลัผู้ปกครองคะ และดิฉันเห็นว่าน่าจะมีการหาอาหารที่น้องชอบรับประทานมากที่สุดด้วยคะ เพราะอาจเป็นแรงจูงใจให้อยากรับประทานมากขึ้น และการสื่อสารกับผู้ปกครองให้เห็นถึงปัญหาของน้อง ความต้องการขณะนี้ของน้อง และความสำคัญของขบวนการรักษาคะ และผู้ปกครองหรือครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อการเปลี่ยนไปของพฤติกรรม ความสามารถ พัฒนาการ ทัศนะคติ และอีกมากมายของน้องคะ

          และสุดท้ายในบทความนี้จากที่ได้เรียนวิชานี้และได้ศึกษาเคสกรณีศึกษานั้น ทำให้ดิฉันได้เห็นว่าเราฐานะนักกิจกรรมบำบัดต้องมองให้ออกถึงปัญหาและต้องมองปัญหาเป็นองค์รวม และไปบอกให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงปัญหาและให้เห็นความสำคัญของปัญหานั้นๆ ซึ่งอย่างที่บอกไปก่อนหน้าว่าครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญที่จะอยู่เคียงข้างตัวผู้รับการบำบัด และส่งเสริมไปให้ทางไหนคะ

ต้องขอบคุณวิชานี้ กรณีศึกษาทั้งหมด และอาจารย์ป๊อปที่ทำให้ดิฉันเข้าใจและรักในวิชาชีพกิจกรรมบำบัดมากขึ้นคะ

 

therapeutic use of self 
therapeutic use of self 

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 558133เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2014 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2014 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีปีใหม่ นักกิจกรรมบำบัด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท