การบันทึกข้อมูลภาคประชาสังคมจะเลือก focal person หรือ key person ดีน๊าาา ...???


ด้วยบทบาทของ "ผู้ช่วยวิจัย" ในโครงการวิจัยเด็กด้อยโอกาส (ชื่อเต็มคือ "โครงการศึกษาวิจัยและให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเด็กและผู้ด้อยโอกาสในชุมชนจังหวัดตากและชุมชนกลุ่มจังหวัดชายแดนในประเทศไทย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ ที่นี่)

และอันตัวข้าพเจ้านั้น ในปีนี้ได้รับบทบาทในการดูแลผลงานชี้นที่ ๔ คือ "งานการบูรณาการสังคม" ซึ่งจะบูรณาการได้ก็ต้องรู้ว่า

(๑) "ใครคือสังคม ?" อันที่จริงสังคมที่ว่าก็น่าจะหมายถึงทุก ๆ คนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเด็กและผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่นั้น ๆ แต่คนในสังคมที่น่าสนใจและโดดเด่นไม่แพ้เจ้าของปัญหานั่นก็คือ "ภาคประชาสังคม หรือ suppoerter" นั่นเอง 

ภาคประชาสังคมนี้ จะรวมถึงคน/หน่วยงานจากภาครัฐ และคน/หน่วยงานจากภาคเอกชน ที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือเจ้าของปัญหา ทั้งระยะประชิดและระยะไกล ๆ ทั้งระดับปฏิบัติการ (จู่โจมช่วยเหลือ) และระดับนโยบาย (จัดการเชิงระบบ) ...

(๒) "ประชาสังคมที่ว่ามีรูปร่าง หน้าตา ความคิด อย่างไร?" เมื่อต้องรู้ว่าคือใคร คืออะไร เราก็เลยจำเป็นต้องหาข้อมูล ซึ่งการหาข้อมูลที่ดีที่สุดนั้่นก็คือ ถามเจ้าตัวภาคประชาสังคมต่าง ๆ เองนั่นล่ะ ... ด้วยวิธีอันแสนง่ายผ่านแบบสอบถาม คำถาม - คำตอบ ... เรียกว่ามา x-ray ข้อมูลกัน

คำถามที่คิดได้เบื้องต้นโดยการระดมสมองกันผ่านห้องแชทใน facebook ตอนนี้รวบรวมได้ ๑๒ ข้อ (รายละเอียดจะแนบไว้ท้ายบันทึกนี้นะจ๊ะ)

ซึ่งคำถามที่ปรับกันอยู่หลายรอบคือ คำถามที่เราต้องการรู้ว่า ถ้าองค์กรภาคประชาสังคมนั้น ๆ ไม่ได้มีสถานะทางกฎหมายเป็นนิติบุคคล (หรือบุคคลสมมติ ... คิดง่าย ๆก็คือ สิ่งนี้ไม่ใช่คน แต่กฎหมายติ๊ดต่างให้มีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายเช่นเดียวกัน เช่น บริษัท มูลนิธิ เป็นต้น ) ... เมื่อไม่เป็นนิติบุคคล แล้วใครเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจ หรือเจรจาในนามองค์กรล่ะ ??????

จากคำถามนี้ ก็ช่วยกันหาคำภาษาอังกฤษมาแปลกันอยู่หลายรอบ (เพราะต้องสื่อสารสองภาษา) ทั้ง owner, focal person และ key person ... มั่วไปมั่วมาตามความง่วงของช้าพเจ้าเอง ... มาคิดจริง ๆ จัง ๆ ตอนอาจารย์แหววแชท มาถามว่า "focal person คืออะไร เหมือน key person ไหม?" จากง่วง ๆ ก็ตื่นเลยทีเดียว ...!!!!

- คำว่า owner นี่เราคิดเอง เพราะคิดดิบ ๆ ง่าย ๆ ว่า ถ้าเป็นเจ้าของก็ต้องตัดสินใจได้สิ ต้องเจรจาเองได้สิ ... คิดเทียบบ้าน ๆ กับเจ้าของกิจการร้านขายของสักร้าน ... แต่ลืมนึกไปว่า ถ้ามีเจ้าของหลายคนรวมหุ้นกันล่ะ ????

- คำว่า focal person เสนอขึ้นมาโดยพี่โรยทราย เจ้าหน้าที่จากองค์กร IRC โดยพี่ทรายแชทเข้ามาแลกเปลี่ยนในวงพูดคุยว่า

  • ปลาทองคะ พอดีแปลฟอร์มการเก็บข้อมูลอยู่ สงสัยคำถามนี้ค่ะ หากไม่มีสถานะนิติบุคคลตามกฎหมาย ผู้ประกอบการหลักคือใคร ? ผู้ประกอบการนี่หมายถึงใครคะ Organisation Committee/ Structure หรือ ให้แปลว่า Enterpreneur ปลาทองอยากทราบเกี่ยวกับผู้ประกอบการหลัก อย่างไรคะ
  • พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร
    14:39
    อ.แหววเข้าใจไม่ผิดนะคะว่า เชอรี่กำลังทำโครงการให้ปริญญาโท และจะออกหนังสือเชิญคนนอก
    ตอบแทนปลาทองค่ะ ทราย หมายถึง คนทำงานหลักๆ ที่เราจับต้องได้ค่ะ พูดด้วยได้ แลกเปลี่ยนด้วยได้
  • Roisai WB
    14:41
    Focal person นะคะ เพราะอีกข้อ เรื่องคนมีอำนาจตัดสินใจ

ซึ่งใช่เลย focal person สำคัญมากนะ เพราะเป็นคนที่คอยประสานงาน คอยดูแลงานเป็นหลักในบางส่วนที่คน ๆ นั้นรับผิดชอบ คน ๆ นี้จะขาดไม่ได้เลย เหมือนถ้าจะติดต่อรัฐมนตรี ก็ต้องผ่านเลขาหน้าห้องผู้รู้ตารางชีวิตรมต.ถี่ยิบ

แต่ focal person จะมีอำนาจตัดสินใจแทนองค์กรได้ไหม ...???? ก็อาจจะได้บางเรื่อง แต่ไม่ทุกเรื่อง และคงจะไม่เด็ดขาด จึงมาถึงคำที่สาม

- key person คำนี้คิดตกตะกอนมากขึ้นจากคำถามสะกิดใจของอาจารย์แหววนั่นเอง...

การใช้คำมาถึงบางอ้อ เมื่อนึกถึง คุณหมอตุ่ย นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒน์ทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุ้มผาง **key person** และคุณจันทราภา จินดาทอง นักจัดการงานทั่วไป โรงพยาบาลอุ้มผาง หรือพี่แมว ผู้แข็งขัน และใจดีกับมวลมิตรเสมอ (ตำแหน่งนี้เหมาะกับคุณพี่แมวของน้องมาก เพราะคุณพี่จัดการได้ทุกเรื่องจริง ๆ :) และเป็นเสมอม้าเร็วและม้าอารีย์คอยดูแลงาน ประสานงานให้คุณหมอตุุุ่ย ** focal person ** 

สองคนนี้ต้องอยู่คู่กัน ขาดเธอเหมือนขาดใจ ดังนั้น แบบสอบถามจำเป็นต้องมีคำถามถึงสองตำแหน่งนี้ จะขาดอันไหนไปไม่ได้เลย .... :)

-----------------------------------

หน้าตาร่างแบบสอบถามจึงน่าจะออกมาแบบนี้

-----------------------------------

บันทึกข้อมูลองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนข้ามชาติระหว่างชายแดนไทย-พม่าที่ประสบปัญหาความด้อยโอกาส

Template to collect information on organization which is working with disadvantaged children along Thai- Myanmar border

โดย นางสาวศิวนุช สร้อยทอง และนางสาวโรยทราย วงศ์สุบรรณ

Created by Miss Siwanoot Soitong and Miss Roisai Wongsuban

เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๖ ปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๗

Created on 30 December 2013, last updated on 2 January 2014

-------------------------------------

-----------------

ใส่ชื่อองค์กร/Please put the name of organisation …………………………..

------------------

(๑) โลโก้?

(1) Logo?

 

(๒) ชื่อองค์กร/หน่วยงาน?

(2) Name of organization?  

  •        

(๓) มีสถานะนิติบุคคลตามกฎหมายหรือไม่ ?

(3) Is organisation recosnised as “juristic person”

or not? / Is organisation registered or not?  

 

(๓.๑) เป็นนิติบุคคลตามประเทศใดหรือไม่ อย่างไร?

(3.1) If organisation is recognized as registered organisation

(with juristic person), which country that organisation register with?

 

(๓.๒) บุคลลซึ่งเป็นหลักขององค์กร/หน่วยงานคือใคร ?

(3.2) Who is the key person of the organization?

  •        

(๔) บุคคลซึ่งเป็นผู้ประสานงานให้องค์กรคือใคร?

(4) Who is the focal person of the organization?

  •        

(๕) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ใด?

(5) Where is the head office of organisation?

  •        

 

(๖) กลุ่มเป้าหมายในการทำงานคือใคร?

(6) Who is the target/beneficiary of organisation?

  •        

(๗) พื้นที่ทำงานคือที่ใดบ้าง?

(7) Where is the working area?

  •        

(๘) พันธกิจขององค์กรต่อสังคมคืออะไร?

(8) What is mission of the organisation toward the society?

  •        

(๙) พันธกิจหลักขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับเด็กด้อยโอกาสคืออะไร?

(9) What is the specific mission of organisation on Marginalised children?

  •        

(๑๐) ประเด็นสำคัญที่ควรมีการรณรงค์แก้ไขในเรื่องเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า คืออะไร?

(10) What is the priority of issues related to marginalized children along Thai Myanmar border?

  •        

(๑๑) ช่องทางในการติดต่อ?

(11) What is the communication channel?

  •        

(๑๒) บทบาท/ความสัมพันธ์ต่อโครงการวิจัย ฯ?

(12) What is therole and relationship between the organisation and the research project?

  •        

 

หมายเลขบันทึก: 558047เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2014 01:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2014 01:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท