Family Tour_ชมงานศิลป


“ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น”

Family Tour_ชมงานศิลป

 

                 

 

 

เช้าสดใสวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗  ลูกชายชวนพ่อแม่ไปเดินชมงานศิลป

เพื่อนคนหนึ่งเคยเล่าถึงที่นี่ MOCA Museum of Contemporary Art

 

ของ MOCA 

 

 ตั้งแต่สมัยโบราณ ความรัก ศรัทธาและจงรักภักดีในสถาบันชาติ,ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ได้สะท้อนผ่านผลงานศิลปกรรมไทยหลากหลายรูปแบบ ศิลปะตามแบบแผนดั้งเดิมจึงเป็นศิลปะแนวประเพณีที่แสดงความงามตาม อุดมคติเพื่อให้คู่ควรกับสถาบันหลักที่คนไทยเทิดทูนอย่างสูงสุด

หากแต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป งานศิลปกรรมก็มีการปรับเปลี่ยนตามไปด้วยและบุคคลหนึ่งซึ่งมีบทบาทอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงรูปโฉมศิลปกรรมในประเทศไทย คือ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ประติมากรชาวอิตาเลียน ผู้วางหลักสูตรจิตรกรรมและประติมากรรมที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ซึ่งได้ยกระดับการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรในเวลาต่อมา

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้นำหลักปรัชญาที่ว่า “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” มาเผยแพร่ พร้อมกับหลักวิชา Academic Art ให้ลูกศิษย์ได้ศึกษาเรียนรู้และเพิ่มพูนทักษะทางศิลปะให้ทัดเทียมนานาอารยะประเทศจนได้รับการยกย่องให้เป็น

“บิดาแห่งศิลปะไทยร่วมสมัย”
 
        
                       

งานศิลปกรรมของศิลปินที่ได้รับอิทธิพลจากสิ่งที่ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ได้วางรากฐานไว้ จึงเป็นผลงานที่ผสานความเชื่อ ความศรัทธาแบบดั้งเดิม เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยไว้อย่างลงตัว เปรียบดังกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนทั้งความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมของคนในชาติพุทธิปัญญาและความเป็นอารยะของชนชาติไทย

ประวัติอันยาวนานและน่าสนใจของศิลปกรรมไทยทั้งหมดได้รับการรวบรวมไว้แล้ว ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย ที่ซึ่งเกิดจาก “ความหลงใหลในงานศิลปะ” ของคุณบุญชัย เบญจรงคกุล แต่เหตุผลหลักที่ทำให้คุณบุญชัยเปิดพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยอย่างเป็นทางการ คือ

เพื่อเฉลิมพระเกียรติและแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเพื่อเชิดชูเกียรติของ “บิดาแห่งศิลปะไทยร่วมสมัย” หรือ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

 

ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยได้แนวความคิดมาจากการนำหินทั้งก้อนมาแกะสลักอย่างประณีตบรรจงเป็นลายก้านมะลิ อันแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ในขณะเดียวกันลายฉลุเหล่านี้ นอกจากจะทำให้แสงธรรมชาติสามารถส่องลงมาในอาคารได้แล้ว แสงที่ส่องลงมาในช่วงเวลาและฤดูกาลที่แตกต่างกันยังให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันไปด้วย

 

 

 

                       

 

 

 

บันไดทางขึ้นสวย กว้าง บรรยากาศสงบ เหมาะแก่การชม ละเมียดละไมกับงานศิลป

แต่ละชั้น มีภาพศิลปจัดแสดงไว้อย่างสบายตา มีเก้าอี้สำหรับนั่งพักหย่อนใจ

 

                           

 

 

ภายใน Museum มีผลงานของศิลปินหลายท่าน อาทิ จักรพันธุ์ โปษยกฤต, ทวี นันทขว้าง, อวบ สาณะเสน, ช่วง มูลพินิจ, ชลูด นิ่มเสมอ, สวัสดิ์ ตันติสุข, เฟื้อ หริพิทักษ์ , สงัด ปุยอ๊อก, เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, ถวัลย์ ดัชนี และอีกหลาย ๆ ท่านที่มีชื่อเสียงและมีผลงานทรงคุณภาพ

 

 

 

 

 

ผลงานส่วนหนึ่งที่ใช้โทรศัพท์บันทึกนำมาฝาก

 

 

ภาพนี้ไม่รู้จักท่านศิลปินมาก่อน จดชื่อแล้วไว้ที่ไหนนะนี่ 

มองแล้วรู้สึกสงบ มาก

 

                       

 

เชิญชวนไปเยี่ยมชมกันนะคะ ไม่ไกลเลย อยู่แถว ๆ ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ นี่เองค่ะ

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

ภูสุภา

หมายเลขบันทึก: 558019เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2014 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2014 11:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๗ ค่ะคุณหมอ

ขอบคุณมากค่ะ สวยงามมากนะคะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะอาจารย์

อย่าลืมหาโอกาสมาชมสักครั้งค่ะ

เมืองไทยมีน้อยค่ะ พิพิธภัณฑ์เอกชนแบบนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท