ฉบับที่ ๗ “ยายไม่ไม่ได้สูบบุหรี่”


คุณสุขฎิพจน์  พรศรี เขียนเรื่องเล่าส่งมาที่ ศจย.และได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการให้นำเสนอในเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ ในการประชุมบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 10 วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2554 ที่โรงแรมมิราเคิลแกรด์ จึงจะนำเรื่องของ คุณ สุขฎิพจน์  พรศรี มาเล่าต่อเพื่อแหล่งความรู้และการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหากับผู้สูบบุหรี่

“ประสบการณ์ของคนทำงานช่วยเลิกบุหรี่”


สุขฎิพจน์ พรศรี
[email protected]

  • ผู้ปฏิบัติงานพยาบาล คลินิกฟ้าใส
  • ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 
  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

เรื่องขำๆ ของสายตรวจบุหรี่ศูนย์การแพทย์ฯ มศว.
เรื่อง “ยายไม่ได้สูบบุหรี่”
สายตรวจบุหรี่ออกตรวจพื้นที่ตามปกติ พบยายอายุประมาณ 65 ปี กำลังจะจุดบุหรี่สูบ
สายตรวจบุหรี่ : “คุณยายครับ สูบบุหรี่ไม่ได้นะครับ โรงพยาบาลของเราเป็นโรงพยาบาลเขตปลอดบุหรี่”
คุณยาย : “ฉันไม่ได้สูบบุหรี่ ฉันสูบใบจากนะ” ยายก็ไม่ฟัง ยายก็จุดบุหรี่สูบ โดยไม่กลัวสายตรวจบุหรี่เลย
สายตรวจบุหรี่ : “คุณยายครับ ใบจากถือว่าเป็นบุหรี่ครับ สูบบุหรี่ในเขตโรงพยาบาล ปรับ 2,000 บาทนะครับ”
คุณยาย :ยายเพิ่งรู้นะเนี่ยว่าใบจากก็คือบุหรี่

      คุณยายกลัวจะเสียค่าปรับ 2,000 บาท ก็เลยเข้าใจว่าใบจากก็คือบุหรี่เหมือนกัน ฮิๆๆๆ กระผมสายตรวจบุหรี่ศูนย์การแพทย์ฯ มศว ก่อนที่จะมาทำงานช่วยเลิกบุหรี่ เคยเป็น “สิงห์อมควันมาก่อน” สูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 16 ปี ระยะเวลาที่สูบบุหรี่ทั้งหมด 18 ปี ก่อนที่จะเลิกสูบบุหรี่ คุณหมอได้บอกกับผมว่า “คุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง” หมอแนะนำให้เลิกบุหรี่ ผมจึงมีแรงบันดาลใจและตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเลิกบุหรี่ให้สำเร็จ เพราะเป็นห่วงสุขภาพตัวเอง เพราะเป็นเสาหลักของครอบครัว ถ้าผมเป็นอะไรไปลูกเมียคงแย่ ผมจึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะเป็นเครือข่ายช่วยรณรงค์ประชาสัมพันธ์พิษภัยของบุหรี่ วันที่รู้ว่าตัวเองจะได้มาทำงานช่วยเลิกบุหรี่ที่คลิกนิกฟ้าใส (คลินิกเลิกบุหรี่) รู้สึกตื่นเต้น ดีใจเหมือนถูกล็อตเตอรรี่รางวัลที่ 1 ที่จะได้นำประสบการณ์จริงของตัวผมที่เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ มาแนะนำถ่ายทอดให้ความรู้พร้อมกับเคล็ดลับดีๆ ให้กับผู้ที่จะเลิกบุหรี่และเป็นแบบอย่างแก่เยาวชนต่อไป
      กระผมสายตรวจบุหรี่ศูนย์การแพทย์ฯ มศว เริ่มทำงานช่วยเลิกบุหรี่และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและเยาวชนได้ตระหนักถึงอันตรายของพิษภัยของบุหรี่และหาเครือข่ายของคลินิกเลิกบุหรี่ เพื่อจะได้ทำงานร่วมกันในชุมชน ในการรณรงค์ เช่น ตลาด วัด โรงเรียน สถานที่ราชการต่างๆ ทางคลิกฟ้าใสจะออกไปบริการชุมชนเชิงรุก เดือนละ 1 ครั้ง ร่วมกับทางอำเภอและจังหวัด
      มีอยู่วันหนึ่ง ผมปั่นจักรยานกลับหอพักตามปกติเป็นประจำทุกวัน เห็น ร.ป.ภ.กำลังมีปากเสียงกับญาติผู้ป่วย ผมจึงเข้าไปถาม ร.ป.ภ. เกิดอะไรขึ้น ร.ป.ภ. บอกว่า “ผมเข้าไปบอกญาติไม่ให้สูบบุหรี่ในเขตโรงพยาบาล ญาติเขาไม่พอใจ” ตั้งแต่วันนั้นมาผมก็ได้คิดนอนคิดจะทำยังไงดี จะให้พื้นที่โรงพยาบาลปลอดบุหรี่ 100% และร.ป.ภ. จะไม่ได้มีปากเสียงกับผู้ป่วยและญาติที่สูบบุหรี่ในเขตโรงพยาบาล ความฝันที่เป็นจริงกับจักรยานสายตรวจบุหรี่ศูนย์การแพทย์ฯ ที่ใช้ปฏิบัติหน้าที่ภารกิจตรวจผู้ที่สูบบุหรี่ในเขตโรงพยาบาลและรณรงค์ประชาสัมพันธ์อันตรายและพิษภัยของบุหรี่ให้กับบุคลากรประชาชนและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง สายตรวจไม่ได้จับหรือปรับ แต่ไปรณรงค์แนะนำให้ความรู้ชักชวนมาเลิกบุหรี่ที่คลินิกฟ้าใส จักรยานสายตรวจบุหรี่ไม่ได้ตรวจผู้ที่สูบบุหรี่เท่านั้น ในจักรยานยังมีเครื่องเสียง จะเปิดสปอตโฆษณา สายด่วนเลิกบุหรี่ พิษภัยของบุหรี่และวิธีเลิกบุหรี่ และมีในไมโครโฟนพูดรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้กับบุคลากรผู้มารับบริการ และประชาชน, นักเรียน นิสิต นักศึกษา ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ
      จิตอาสาคลินิกฟ้าใส ศูนย์การแพทย์ฯ มศว ที่มาช่วยรณรงค์ประชาสัมพันธ์และยังมีนักวิจัยชาวอเมริกาที่มาวิจัยเรื่องบุหรี่ที่ มศว ด้วยครับที่ขาดไม่ได้คือ มาสคอต คุณหมอกับเดวิ่วที่คอยดึงดูดเด็กๆ ให้มาสนใจการณรงค์ของเรา

      สายตรวจบุหรี่ศูนย์การแพทย์ฯ มศว พร้อมที่จะเป็น ที่ศึกษา ดูงาน เพื่อที่จะได้นำไปใช้ควบคุมการบริโภคบุหรี่และรณรงค์ควบคู่กันอย่างต่อเนื่อง เรามาร่วมมือร่วมใจ รวมพลังให้สังคมไทยปลอดบุหรี่

 เผยแพร่บนเวปไซต์  : ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ

สุขฎิพจน์ พรศรี
[email protected]

หมายเลขบันทึก: 557338เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2013 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ธันวาคม 2013 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท