ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

โรงเรียนชาวนา กับการเป็นภาคี KM ตอนที่ 2


ถอดเทปการบรรยาย ของคุณเดชา ศิริภัทร โรงเรียนชาวนา มูลนิธิข้าวขวัญ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นภาคีเครือข่าย KM กับ สคส.ที่มีศักยภาพในกระบวนการจัดการความรู้ในเรื่องของกระบวนการทำนาที่น่าทึ่ง

ถอดเทปการประชุมภาคีเครือข่าย KM

นำเสนอโดย...คุณเดชา   ศิริภัทร  โรงเรียนชาวนา มูลนิธิข้าวขวัญ จังหวัดสุพรรณบุรีวันที่ 19  ตุลาคม  2549  The Tide Resort  อำเภอบางแสน จังหวัดชลบุรี <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">คุณเดชา ศิริภัทร เริ่มสาธยายในลำดับที่ 7 ต่อจาก ผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ด้วยการทักทายพันธมิตรภาคีเครือข่ายการจัดการความรู้ (KM) อย่างเป็นทางการ ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นกันเองด้วยน้ำเสียงที่มาตรฐานตามสไตล์คุณเดชา (ต่อจากเมื่อวาน ตอนที่ 1)</p>การแก้ปัญหาได้ดีแต่ขยายพื้นที่ไม่ออก  จากปัญหาดังกล่าวทางโรงเรียนชาวนาเราสามารถแก้ไขปัญหาได้แล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคแมลง เรื่องดิน เรื่องการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว ทำให้ชาวนาสามารถนำไปใช้ได้ บางคนเก่งมาก ชาวนาบางคนเช่านาเขาทำ 90 ไร่ ปีละ 2 ครั้ง ได้กำไรขั้นต่ำปีละ 500,000.- บาท ปีหนึ่งสามารถซื้อที่ดินเพิ่มได้ปีละ 10 ไร่  ตอนนี้แกมีนา 100 กว่าไร่ ซึ่งการทำนาก็มีเวลาว่างมาก เพราะปุ๋ย และยาสารเคมีไม่ได้ใช้ ต้นทุนต่ำสามารถมีเวลาทำกิจกรรมอื่นๆ ได้อีก เช่นเป็นวิทยากร  ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดี แต่ก็มีปัญหาคือไม่สามารถขยายพื้นที่เพิ่มได้นี่จึงเป็นเรื่องยาก และเป็นปัญหาในการทำงานของเรา <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify" class="MsoNormal">งานวิจัยคือคำตอบ  จากแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อขยายผลของการทำนาในระบบอินทรีย์ของโรงเรียนชาวนาดังกล่าว เราคิดว่าที่ไม่สามารถขยายพื้นที่ได้อาจจะเนื่องมาจากไม่มีเงินทุน  เราจึงได้เสนอเพื่อขอรับงบประมาณมาสนับสนุนกว่า 600 ล้านบาท จากรัฐบาลท่านนายก ชวน หลีกภัย เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าว แต่จากผลการดำเนินงานที่ปรากฏออกมาก็จัดได้ว่าไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร อย่างไรก็ตามเราสามารถได้คำตอบจากรายงานการวิจัยที่ได้ร่วมทำกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งในเรื่องของเศรษฐศาสตร์ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าการทำนาในระบบนี้ทุกอย่างดีหมด ต้นทุนการผลิตก็ต่ำ  สิ่งแวดล้อมดีกว่า สุขภาพคนทำก็ดีกว่าด้วย แต่สุดท้ายการขยายผลก็ยังเท่าเดิม งานวิวัยในครั้งนี้จึงมีคำตอบเพื่อยืนยันว่าสาเหตุที่ไม่สามารถขยายตัวได้เนื่องจากเทคนิค วิธีการดังกล่าวไม่ตรงกับกระบวนทัศน์ (Paradigm) ของคนทำ รายงานวิจัยบอกว่าเกษตรยั่งยืนนี้ต้องใช้แรงบันดาลใจ ดังนั้นเพื่อที่จะให้คนได้ทำมากขึ้นจะต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ก่อน <div style="text-align: center"></div></p><p> ดีกว่าทำไมไม่ทำ : การจัดเวทีเพื่อหาแนวร่วม จากประสบการณ์ทางโรงเรียนชาวนาได้เชิญรายการทีวีของอาจารย์ ดร.เจิมศักดิ์   ปิ่นทอง มาถ่ายทอดแล้วโรงเรียนชาวนาได้เชิญทั้งผู้ที่ทำนาในระบบ และผู้ไม่ได้ทำมาร่วมเสวนา แล้วคนดำเนินรายการก็ได้ถามทุกๆ คนที่มาร่วมว่าการทำนาในระบบอินทรีย์นี้ดีไหม ทุกคนก็พูดออกมาเป็นเสียงเดียวกันว่า ดีกว่า กำไรก็กำไร ปลอดภัยก็ปลอดภัย และถามต่อสำหรับคนยังไม่เคยทำว่าจะทำไหม คำตอบก็คือ ไม่ทำ  แล้วพิธีกรก็ถามต่อว่าถ้าดีทำไมไม่ทำ ชาวนาก็ตอบคำเดียวว่า ไม่รู้   แต่เมื่อคะยั้นคะยอเพื่อเอาคำตอบ (ถาม 2-3 ครั้ง) ก็ได้คำตอบออกมาคือ ผมทำใจไม่ได้  โดยเฉพาะการให้เลิกใช้ปุ๋ยเคมี ให้เปลี่ยนศาสนายังพอได้ แต่ถ้าเป็นสารเคมียังพอทำใจได้ เพราะผลที่ใช้ทำให้คนตายมาเยอะแล้ว ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากสำหรับการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ดังกล่าว เพราะในการที่จะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ได้จะต้องใช้กระบวนการการเรียนรู้ ต้องเอาเกษตรกรลงไปปฏิบัติจริงจึงจะเห็นผล อีกทั้งต้องใช้กระบวนการกลุ่มเข้ามาช่วย เช่นกลุ่มอโศก ซึ่งเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง ดังนั้นในการที่จะพัฒนาและขยายเครือข่ายต้องอาศัยกระบวนการกลุ่มที่เข้มแข็ง และจากงานวิจัยที่ผ่านมาเราก็พอที่จะมีรูปแบบที่มีความเหมาะสมเพื่อมาใช้กับคนไทย คือโรงเรียนชาวนา ตามแนวคิดของกรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร คือเกษตรกรต้องทำจริง และรวมกันเป็นกลุ่ม แต่ในกระบวนการทำงานถือว่ามีจุดอ่อนเยอะมาก ซึ่งมีจุดอ่อนของหลักสูตรที่เรียกว่าหลักสูตร หมกเม็ด ซึ่งมีหลักสูตรเดียวเรียกว่า ITM (การจัดการแมลงแบบผสมผสาน) โดยการจำแนกแมลงที่ดีเป็นประโยชน์และแมลงที่ไม่ดีเป็นโทษ ดูว่าเมื่อมีการทำลายของแมลงให้เช็คดูว่าแมลงที่ดีควบคุมได้ไหม ถ้าไม่ได้ต้องใช้สารเคมีฉีดพ่น ผสมผสานกับการใช้เคมี  ซึ่งจริงๆ แล้วไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีหรอก เพียงแค่ใช้สมุนไพรสารสะเดาฉีดพ่นก็ได้แล้ว หลังฉีดพ่นสารสะเดาไปแล้วให้ตรวจสอบดูว่า มีแมลงดีมีมากสามารถควบคุมได้เราก็เลิกฉีด ซึ่งในหลักสูตรดังกล่าวการฉีดพ่นสารเคมีจึงทำให้แมลงที่ดีตายไปด้วย เมื่อมีการฉีดพ่นก็ต้องฉีดพ่นอยู่เรื่อยๆ จึงทำให้แมลงที่ดีๆ ตายหมด  ดังนั้น หลักสูตรนี้จึงเป็นการหมกเม็ด และล้างสมองคนไทย และคนทั้งโลกมาตั้งนาน</p><p><div style="text-align: center"></div></p><p>การถวายความรู้แด่สมเด็จพระเทพฯ  คุณเดชา  ศิริภัทร เล่าให้ภาคีฟังต่อว่าในปีที่แล้วได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพฯ และได้ทรงถวายความรู้ในเรื่องของการจัดการแมลงของโรงเรียนชาวนาว่า ในโรงเรียนชาวนานั้นได้จัดเป็นหลักสูตร 3 ระดับ คือ</p><p>1.      หลักสูตรปลอดสารเคมี  ถือว่าเป็นหลักสูตรปฐม ในขั้นแรกเราจะลดการใช้สารเคมี โดยมาใช้สมุนไพรซึ่งเป็นสารสกัดจากสะเดาแทน และจะพัฒนาจนกระทั่งเลิกใช้โดยสิ้นเชิง </p><p>2.      หลักสูตรเลิกปุ๋ยเคมี จัดเป็นหลักสูตรในระดับมัธยม ซึ่งโรงเรียนชาวนาร่วมมือกับ สคส.ในขั้นแรกจะใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ไปก่อนและสุดท้ายก็จะเลิกใช้เช่นกัน </p><p>3.      หลักสูตรเลิกพันธุ์ข้าว  เนื่องจากพันธุ์ข้าวก็ถือว่าเป็นการหมกเม็ดเช่นกัน เนื่องจากการคัดพันธุ์ข้าวก็เพื่อให้ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ย ใช้ยาเช่นกัน ดังนั้นโรงเรียนชาวนาก็ต้องเลิกเช่นกัน เราต้องมีพันธุ์ข้าวเป็นของตนเอง จึงจะไปรอด </p><p>หลังจากที่สมเด็จพระเทพฯ ได้ทรงรับฟัง ทรงพอพระทัยมาก และได้ตรัสกับ ดร.สเมธ เลขานุการของมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อจักได้นำไปปรับปรุงกิจกรรมในมูลนิธิฯ  และหลังจากนั้น ท่าน ดร.สุเมธ ก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิลงไปดูที่โรงเรียนชาวนา ทั้งแบบแจ้งล่วงหน้าแล้วคุณเดชาพาไปดู และสุ่มไปแบบไม่ให้เรารู้ตัวชนิดที่ว่าจู่โจมเพื่อจะได้เห็นข้อมูลที่เป็นจริงโดยผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพาไปดูในจุดที่คุณเดชา ยังไม่พาไปดู ในที่สุดท่านจึงเชื่อ ในสิ่งที่ที่โรงเรียนชาวนาทำตามที่ได้นำกราบบังคมทูลสมเด็จพระเทพฯ   แล้วหลังจากนั้นสมเด็จพระเทพฯ ได้ทรงโปรดให้เจ้าแขวงของประเทศลาวได้ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนชาวนาถึง 2 ครั้ง            </p><p><div style="text-align: center"></div></p><p> โรงเรียนชาวนากับ KM จุลินทรีย์ สำหรับในเรื่องของการจัดการความรู้ (KM) ของโรงเรียนชาวนานั้น เมื่อเราเอา (KM) เข้าไปจับทำให้ชาวนาเป็นบัณฑิตสามารถสอนนักวิชาการได้เลย ในการเลิกใช้ปุ๋ยเคมีโดยเราหันมาใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ แล้วสุดท้ายก็เลิกใช้ในที่สุด ในการดำเนินการหัวใจสำคัญก็คือ การใช้จุลินทรีย์   โดยการเอาจุลินทรีย์ไปหมักฟางที่อยู่ในนา โดยไม่ต้องเผา แล้วเมื่อผ่านกระบวนย่อยก็จะได้ ปุ๋ย เอนไซม์ (Enzymes)  ฮอร์โมน (Hormones) ฮิวมัส (Humus) ซึ่งจากการใช้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็น EM (Effective Microorganism) ของญี่ปุ่น  หรือสาร พด.7,8  ของกรมพัฒนาที่ดิน หรือแม้กระทั่งการใช้น้ำพ่อ น้ำแม่ ที่ได้จากการหมักพืชผักผลไม้ ตามสูตรของเกาหลี ก็ยังพบว่าไม่ดีพอ เราจึงมานั่งคุยกัน เพื่อวัตถุประสงค์ต้องการให้ดินของเราดี (ดินดี 1 ช้อนชา (5 กรัม) จะมีจุลินทรีย์อยู่ประมาณ 6,000 ล้านตัว) แล้วเราจะทำอย่างไรเราจึงจะได้จุลินทรีย์ที่ดี เราจึงสอบถามกันเองต่อว่าแล้ว       จุลินทรีย์ที่ดีอยู่ที่ไหน ชาวบ้านจึงตอบว่าอยู่ในป่า แล้วป่าไหนจึงจะดี ชาวบ้านก็ตอบว่าป่า ป่าไหนจึงจะดี ซึ่งเป็นคำถามต่อ เราก็คุยกันต่อว่าป่าที่ดีอยู่ที่ห้วยขาแข้ง เราจึงได้ข้อสรุปหลังจากนั้นเราก็พากันเดินทางไปยังห้วยขาแข้งเพื่อเอาดินที่ดี และแล้วเราก็ได้ไปตั้งแคมป์นอนคืนอย่ในป่าห้วยขาแข้ง พอตื่นเช้าต่างก็พากันเลือกเอาดินที่มีจุลินทรีย์ที่ตนคิดว่าดี ตามแต่เทคนิคของแต่ละคน เช่น การดูสี การดมกลิ่น หรือแม้กระทั่งการทดลองชิมเพื่อให้ได้รสชาติ แล้วจึงนำมาคัดเลือกตามวิธีการซึ่งเหมือนกับเทคนิคของเกาหลี หรือญี่ปุ่น เพื่อหาสายพันธุ์ที่ดีมีความเหมาะสมกับโรงเรียนชาวนา จังหวัดสุพรรณบุรีต่อไป หลังจากการคัดเลือกแล้วจึงนำไปวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ทั้งใน และต่างประเทศโดยมีอาจารย์หมอวิจารณ์  พานิช ได้นำไปตรวจสอบ แล้วพี่น้องชาวนาก็ได้นำมาใช้ในที่นาของตนซึ่งต่างก็พบว่าให้ผลดี จึงได้ใช้กันมาอย่างแพร่หลายเท่าทุกวันนี้ </p><p>โรงเรียนชาวนากับ KM พันธุ์ข้าว  โรงเรียนชาวนาได้มีการคัดเลือกพันธุ์ข้าวใช้เองทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับวิธีการทำนาแบบอินทรีย์ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งนับว่าเป็นการจัดการความรู้ที่ดีมีเหมาะสม และในช่วงที่ผ่านมาโรงเรียนชาวนาได้มีการคัดเลือกและผสมพันธุ์ข้าวเอง โดยพันธุ์ข้าวที่เราผสมได้เมื่อแกะดูเมล็ดข้าวกล้องจะพบว่าข้าวกล้องดังกล่าวจะมี 2 สี คือด้านหนึ่งเป็นสีขาว และอีกด้านหนึ่งเป็นสีแดง ซึ่งเป็นเทคนิคและวิธีการที่ได้จากการเรียนรู้ของชาวนาเรานับว่าเป็นเทคนิคเดียวที่เคยพบมา สำหรับชื่อพันธุ์นั้นตอนนี้กำลังรอชื่อพระราชทานอยู่ เนื่องจากตอนนี้โรงเรียนชาวนาได้นำขึ้นทูลเกล้าสมเด็จพระเทพฯ เพื่อทรงขอพระราชทานชื่อพันธุ์ข้าวดังกล่าว เพื่อจะได้เป็นสิริมงคลสำหรับชาวนาไทยต่อไป</p><p>โรงเรียนชาวนากับ การสร้างพันธมิตร  KM  หลังจากโรงเรียนชาวนาได้เข้าเป็นภาคีเครือข่าย กับ สคส. และดำเนินกิจกรรม KM มาระยะหนึ่ง อีกทั้งได้มีการบันทึก Blog เพื่อเล่าเรื่องของกิจกรรมการขับเคลื่อน KM ในโรงเรียนชาวนา จึงส่งผลให้บุคคลทั่วไปได้รับทราบความเคลื่อนไหวของโรงเรียนชาวนา จึงได้มีผู้คนได้ติดต่อขอเข้าศึกษาดูงานในโรงเรียนชาวนามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานทางการศึกษา วงการการแสดงเพื่อมาเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำนาเพื่อนำไปสร้างละคร รวมทั้งทีมผู้บริหารของบริษัทในเครือปูนซีเมนต์ไทย (แก่งคอย) ได้เข้ามาศึกษาดูงานพร้อมทั้งได้ส่งพนักงานของบริษัทเข้ามาอบรมเรื่อง KM ของโรงเรียนชาวนาถึง 6 รุ่น ซึ่งในครั้งแรกคุณเดชาก็ไม่ทราบและไม่เข้าใจว่าเช่นกันว่า ทำไมบริษัทที่ทำปูนซีเมนต์ถึงต้องมาเรียนรู้ในเรื่องของการจัดการความรู้ในกระบวนการทำนา หากจะไม่รับก็ไม่ได้เพราะ สคส. ส่งมา เกรงใจท่านคุณหมอวิจารณ์ พานิช และอาจารย์ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ครั้นหลังจากการอบรมแล้วประมาณ 2 รุ่น ทีมผู้บริหารได้เชิญคุณเดชาไปเยี่ยมบริษัทปูนซีเมนต์ไทย (แก่งคอย) และได้พาไปดูบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงาน ก่อนหน้านี้บ่อน้ำเสียพวกนี้จะส่งกลิ่นเหม็นมากและได้หาวิธีการแก้ไขมาหลายวิธีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเติมอ๊อกซิเจนแต่ก็ยังไม่หาย หลังจากที่พนักงานกลับมาจากการฝึกอบรมและได้ขอจุลินทรีย์น้ำหมักมา 3 ลิตร แล้วเทลงไปในบ่อบำบัดพบว่า 2-3 วันต่อมาบ่อบำบัดดังกล่าวไม่ส่งกลิ่นเหม็นอีกเลย คุณเดชาจึงถึงบางอ้อว่าการจัดการความรู้ในโรงเรียนชาวนาก็สามารถใช้กับโรงงานปูนซีเมนต์ได้ หลังจากนั้นทางบริษัทปูนซีเมนต์ไทยจึงได้เชิญชาวนาจากสุพรรณบุรีมาเป็นวิทยากรสอนการทำจุลินทรีย์ใช้เองให้กับพนักงานของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่านี่เป็นการสร้างพันธมิตร KM อย่างแท้จริงเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist) จึงเป็นสิ่งที่ดี</p><p><div style="text-align: center"></div></p><p>ถึงเวลาต้องจัดคิว หลังจากที่ทีมงานโรงเรียนชาวนาได้จัดกระบวนการ Peer Assist มากขึ้นจึงทำให้ใครต่อใครก็มีความสนใจที่อยากจะเข้ามาศึกษาดูงาน จึงทำให้ทีมงานที่มีอยู่อย่างจำกัดทำงานแทบไม่ทัน รับแขกไม่ไหว เราจึงคิดว่าต้องประเมินตนเองด้วยเช่นกัน เดี๋ยวจะไม่มีเวลาทำงาน จึงต้องกำหนดการรับเข้าศึกษาอบรมได้ไม่เกิน 1 คณะต่อเดือนและถ้าเป็นการดูงานรับได้ไม่เกิน 3 คณะต่อเดือน และตอนนี้มีคิวจนกระทั่งถึงเดือน มกราคม 2550 แล้วครับ  </p><p>การจัดการ KM ของจริง จากแนวทางการจัดการความรู้ของโรงเรียนชาวนา มูลนิธิข้าวขวัญ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยการนำของคุณเดชา  ศิริภัทร นับว่าเป็นการจัดการความรู้ (KM) อย่างแท้จริง เนื่องจากเป็นการนำกระบวนทัศน์มาปรับใช้ ให้มีความเหมาะสมกับชุมชนอย่างแท้จริง จนกระทั่งทำให้กลุ่มบริษัทที่อยู่ในเครือปูนซีเมนต์ไทย ที่สำนักงานใหญ่เขตบางซื่อ ต้องมาขอใช้สถานที่โรงเรียนชาวนาเป็นสถานที่ประชุมของทีมบริหาร และเพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในแง่ของกระบวนคิด และวิธีการจากโรงเรียนชาวนาเพื่อจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข ในการบริหารจัดการในบริษัทในช่วงของยุคการเปลี่ยนแปลงและแข่งขัน อีกทั้งการนำระบบการผลิตจุลินทรีย์เพื่อการบำบัดน้ำเสียทั้งในโรงงาน และในคลองบางซื่อที่เน่าเสียมานาน เพื่อจะได้สร้างสิ่งที่ดีๆให้กับสังคม ซึ่งคุณเดชาเสนอว่าถ้าบริษัทได้นำไปทำจริงภาพลักษณ์ของบริษัทจะดียิ่งขึ้นในสายตาประชาชน แต่อย่างไรก็ตามคุณเดชาก็ยังถ่อมตัวอยู่เสมอว่าในเรื่องของ KM นั้นตนเองยังมีความรู้น้อย เนื่องจากเรามีความรู้เท่าที่จะใช้แล้วเราก็เอามาปรับให้เข้ากับวิธีการทำงานของเรา รูปแบบการทำงานโรงเรียนชาวนาถือเป็นนวัตกรรมใหม่ (Innovation) ในเรื่องของการคัดเลือกพันธุ์ข้าว 2 สี พึ่งได้รับรางวัลวิจัยดีเด่นจาก สกว. เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเราได้นำ KM มาปรับให้เข้าบริบทของตนเองก็จะสามารถพัฒนางานไปได้อย่างดี ซึ่งผมเชื่อว่าทุกท่านทำได้ดีและดีกว่าด้วย โดยเฉพาะคนไทยซึ่งผมเชื่อว่าเป็นความสามารถพิเศษที่สามารถดัดแปลงความรู้ของคนอื่นมาปรับใช้กับตนเอง และสามารถทำได้ดีกว่าของเดิมด้วยเหมือนกับอาชีพทางการเกษตรที่เห็นได้ชัด เช่น </p><p>1. การพัฒนาพันธุ์พริก ซึ่งเดิมทีเป็นของเม็กซิโก แต่ปัจจุบันประเทศไทยเราสามารถพัฒนาได้ดีกว่าและนำมาปรุงอาหารได้อร่อยกว่าด้วย</p><p>2. การพัฒนาพันธุ์ลำไย  เดิมทีเป็นไม้ผลของจีนแต่เรานำมาพัฒนาสายพันธุ์ในเมืองไทยที่มีรสชาติที่ดีกว่า</p><p>3. การพัฒนาพันธุ์มะขามหวาน เดิมเป็นไม้ผลพื้นเมืองของอินเดีย แต่นำมาปรับปรุงพันธุ์ที่บ้านเราได้รสชาติที่ดีกว่า</p><p>4. การพัฒนาพันธุ์ทุเรียน เดิมเป็นไม้ผลพื้นเมืองของอินโดนีเซีย แต่เมื่อนำมาปลูกบ้านเราได้คุณภาพที่ดีกว่า</p><p>บทส่งท้ายของคุณเดชา ที่สุดของที่สุดคุณเดชาได้กล่าวทิ้งท้ายว่าคนไทยสามารถตัวได้ดี และการนำ KM มาเป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้เป็นช่วงจังหวะที่มีความเหมาะสมแล้ว และยังกล่าวด้วยว่า KM ของไทยดีกว่าของฝรั่งอีกด้วย เพราะว่า KM ของฝรั่งรับใช้คนรวย สำหรับ KM  ของไทยรับใช้คนจน และจากการเปลี่ยนแปลงของการเรียนรู้ในสังคมทำให้เห็นว่าคนรวยต้องมาขอเรียนรู้กับคนจน แทนที่คนจนจะไปขอเรียนรู้กับคนรวยเสียอีก  และที่สุดของที่สุดคุณเดชากล่าวว่า ตอนนี้โรงเรียนชาวนาไม่ใช่ให้ความรู้แก่เกษตรกร และบริษัทเอกชนเท่านั้น ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว บริษัท เป่าจินจง ซึ่งเป็นบริษัทสร้างละครทีวีของช่อง 7 สี ได้นำดารานักแสดงชื่อดังหลายท่าน ไปเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทำนา และการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่โรงเรียนชาวนา เพื่อจะได้ไปสร้างเป็นละครสำหรับถวายในหลวงของเรา ซึ่งคาดว่าการถ่ายทำจะเสร็จในเร็ววันนี้ โปรดติดตามทางจอแก้วนะครับขอบคุณครับ….สวัสดี.</p><p>ขอบคุณครับ</p><p>อุทัย   อันพิมพ์</p><p>ผู้ถอดเทป</p>

หมายเลขบันทึก: 55714เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2006 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ถ้ามีโอกาสอาจารย์ช่วยเป็นไกด์นำเยี่ยมชมด้วยนะค่ะตอนนี้สนใจเรื่องการคัดพันธุ์ข้าวอยู่ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท