คู่มือถ่ายรูปเด็กเล็กสำหรับมือใหม่


สมัยนึง ผมยังใช้กล้องแมนวล ยุคนั้นผมชอบถ่ายรูปเด็กเล็กเป็นงานอดิเรก (เป็นงานอดิเรกที่เปลืองตังค์มาก)

ที่ผมเจาะจงถ่ายแต่รูปเด็กเล็ก เพราะรู้สึกว่าถ่ายแล้วเบิกบานใจกว่าถ่ายผู้ใหญ่

(อ๊ะ..ไม่ช่ายน่อ...จริง ๆ แล้ว ถ่ายรูปเด็กแล้วเด็กไม่เคยโวยวายเอาน่ะ ว่าถ่ายไม่สวย)

ก็พอจะได้สูตรสำเร็จติดปลายนวมมา สำหรับพ่อแม่มือใหม่ ไม่ได้รับประกันว่าจะได้รูปที่สวยสุดยอด แต่รับประกันว่าดูได้เป็นส่วนใหญ่ ยิ่งยุคนี้มีกล้องดิจิตัล ลงทุนใหญ่ครั้งเดียว ก็ถ่ายได้ไม่ต้องกลัวเปลือง 

  • ควรถ่ายในที่ร่ม แต่สว่างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • ถ่ายไม่ใช้แฟลช
  • ระวังให้ฉากหลังไม่ให้ติดส่วนที่มีแสงสว่างจ้า โดยเฉพาะสีขาวของตึก หรือท้องฟ้า หรือเห็นแดดที่ตกกระทบพื้นขาว 
  • ควรให้ฉากหลังเป็นสีทึบทึม หรือสีโทนหนัก หรือสีสรรแพรวพราวที่เต็มฉากหลัง อะไรก็ได้ ที่ไม่ใช่สีขาว และไม่มีเห็นแดด หรือสว่างจ้า 
  • ถ่ายให้เต็มจอ ถ่ายหน้า ให้เห็นแต่หน้า ถ่ายตัวให้เห็นแต่ตัว
  • ถ่ายแบบตั้งขาตั้ง ถ่ายภาพธรรมชาติ ไม่ควรจัดฉาก ถ่ายไปเรื่อย ๆ จนเด็กไม่สนใจกล้อง รอจังหวะมุขหลุด น้ำจิ้มย้อย ยิ้มหวานไม่เห็นตา ฯลฯ
  • ควรใช้กล้องที่ซูมได้ โดยถ่ายไม่ห่างเด็กนัก แต่ฉากหลังให้ห่างออกไปมาก ๆ และซูมภาพเอาให้เห็นเด็กเต็ม ๆ ตัวหรือเต็ม ๆ หน้าหน่อย ข้อสำคัญคือ ขอให้เป็น optical zoom นะครับ อย่าใช้ digital zoom
  • ถ่ายทั้งที ตั้ง pixel ให้สูงสุด เผื่อเจอรูปถูกใจจะได้ขยายใหญ่ใส่กรอบติดผนังบ้านได้
  • ช่วงวัยที่น่าถ่ายที่สุดคืออายุประมาณ 1-3 ขวบ พ้นจากนี้แล้วจะได้ภาพที่ไม่เป็นธรรมชาติ เพราะเด็กเริ่มรู้แกว ตอบสนองกับกล้อง เด็กเล็กกว่านี้ก็ถ่ายยาก เพราะคออ่อนคอพับ ถ้าคิดจะซื้อกล้อง ควรซื้อในช่วงลูกกำลังอยู่วัยนี้

 

คำสำคัญ (Tags): #ถ่ายภาพ#กล้อง
หมายเลขบันทึก: 55692เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2006 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท