9 เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ


1.1          เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม (Team – Games – Tournament 

หรือ  TGT)  คือ  การจัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ  กลุ่มละ 4  คน  ระดับความสามารถต่างกัน  (Heterogeneous  teams)  คือ  นักเรียนเก่ง  1  คน  ปานกลาง  2  คน  และอ่อน  1  คน  ครูกำหนดบทเรียนและการทำงานของกลุ่มเอาไว้  ครูทำการสอนบทเรียนให้นักเรียนทั้งชั้นแล้วให้กลุ่มทำงานตามที่กำหนด  นักเรียนในกลุ่มช่วยเหลือกัน  เด็กเก่งช่วยและตรวจงานของเพื่อนให้ถูกต้องก่อนนำส่งครู  แล้วจัดกลุ่มใหม่เป็นกลุ่มแข่งขันที่มีความสามารถเท่า ๆ กัน  (Homogeneous  tournament  teams)  มาแข่งขันตอบปัญหาซึ่งจะมีการจัดกลุ่มใหม่ทุกสัปดาห์  โดยพิจารณาจากความสามารถของแต่ละบุคคล  คะแนนของกลุ่มจะได้จากคะแนนของสมาชิกที่เข้าแข่งขันร่วมกับกลุ่มอื่น ๆ ร่วมกัน  แล้วมีการมอบรางวัลให้แก่กลุ่มที่ได้คะแนนสูงถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้

1.2          เทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์  (Student  Teams  Achievement 

Divisions  หรือ  STAD)  คือ  การจัดกลุ่มเหมือน  TGT  แต่ไม่มีการแข่งขัน  โดยให้นักเรียนทุกคนต่างคนต่างทำข้อสอบ  แล้วนำคะแนนพัฒนาการ  (คะแนนที่ดีกว่าเดิมในการสอบครั้งก่อน) ของแต่ละคนมารวมกันเป็นคะแนนกลุ่ม  และมีการให้รางวัล

1.3          เทคนิคการจัดกลุ่มแบบช่วยรายบุคคล  (Team  Assisted Individualization  หรือ  TA)  เทคนิคนี้เหมาะกับวิชาคณิตศาสตร์  ใช้สำหรับระดับประถมปีที่ 3 – 6 วิธีนี้สมาชิกกลุ่มมี  4  คน  มีระดับความรู้ต่างกัน  ครูเรียกเด็กที่มีความรู้ระดับเดียวกันของแต่ละกลุ่มมาสอนตามความยากง่ายของเนื้อหา  วิธีที่สอนจะแตกต่างกัน  เด็กกลับไปยังกลุ่มของตน  และต่างคนต่างทำงานที่ได้รับมอบหมายแต่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  มีการให้รางวัลกลุ่มที่ทำคะแนนได้ดีกว่าเดิม

1.4          เทคนิคโปรแกรมการร่วมมือในการอ่านและเขียน  (Cooperative Integrated  Reading  and  Composition  หรือ  CIRC)  เทคนิคนี้ใช้สำหรับวิชา  อ่าน  เขียน  และทักษะอื่น ๆ ทางภาษา  สมาชิกในกลุ่มมี  4  คน  มีพื้นความรู้เท่ากัน  2  คน  อีก  2  คน  ก็เท่ากัน  แต่ต่างระดับความรู้กับ  2  คนแรก  ครูจะเรียกคู่ที่มีความรู้ระดับเท่ากันจากกลุ่มทุกกลุ่มมาสอน  ให้กับเข้ากลุ่ม  แล้วเรียกคู่ต่อไปจากทุกกลุ่มมาสอน  คะแนนของกลุ่มพิจารณาจากคะแนนสอบของสมาชิกกลุ่มเป็นรายบุคคล

                1.5 เทคนิคการต่อภาพ (Jigsaw)  เทคนิคนี้ใช้สำหรับนักเรียนชั้นประถมปีที่ 3 - 6

สมาชิกในกลุ่มมี  6  คน  ความรู้ต่างระดับกัน  สมาชิกแต่ละคนไปเรียนร่วมกันกับสมาชิกของกลุ่มอื่น ๆ ในหัวข้อที่ต่างกันออกไป  แล้วทุกคนกลับมากลุ่มของตน  สอนเพื่อนในสิ่งที่ตนไปเรียนร่วมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ  มา  การประเมินผลเป็นรายบุคคลแล้วรวมเป็นคะแนนของกลุ่ม

1.6       เทคนิคการต่อภาพ  2  (Jigsaw  II)  เทคนิคนี้สมาชิกในกลุ่ม 4 – 5 คน 

นักเรียนทุกคนสนใจเรียนบทเรียนเดียวกัน  สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มให้ความสนใจในหัวข้อย่อยของบทเรียนต่างกัน  ใครที่สนใจหัวข้อเดียวกันจะไปประชุมกัน  ค้นคว้าและอภิปราย  แล้วกลับมาที่กลุ่มเดิมของตนสอนเพื่อนในเรื่องที่ตนเองไปประชุมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นมา  ผลการสอบของแต่ละคนเป็นคะแนนของกลุ่ม  กลุ่มที่ทำคะแนนรวมได้ดีกว่าครั้งก่อน  (คิดคะแนนเหมือน STAD)  จะได้รับรางวัล  ขั้นตอนการเรียนมีดังนี้

1)            ครูแบ่งหัวข้อที่จะเรียนเป็นหัวข้อย่อย ๆ ให้เท่ากับจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม

2)            จัดกลุ่มนักเรียนโดยให้มีความสามารถคละกันภายในกลุ่มเป็นกลุ่มบ้าน 

(Home  group)  สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มอ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ตนได้รับมอบหมายเท่านั้น โดยใช้เวลาตามที่ครูกำหนด

3)            จากนั้นนักเรียนที่อ่านหัวข้อย่อยเดียวกันมานั่งด้วยกัน เพื่อทำงาน  ซักถาม

และทำกิจกรรม  ซึ่งเรียกว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ  (Expert  group)  สมาชิกทุก ๆ คน  ร่วมมือกันอภิปรายหรือทำงานอย่างเท่าเทียมกัน  โดยใช้เวลาตามที่ครูกำหนด

4)            นักเรียนแต่ละคนในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลับมายังกลุ่มบ้าน  (Home group) 

ของตน  จากนั้นผลัดเปลี่ยนกันอธิบายให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มฟัง  เริ่มจากหัวข้อย่อยที่  1, 2, 3

และ 4  เป็นต้น

5)            ทำการทดสอบหัวข้อย่อย 1 – 4 กับนักเรียนทั้งห้อง  คะแนนของสมาชิก

แต่ละคนในกลุ่มรวมเป็นคะแนนกลุ่ม  กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รับการติดประกาศ

1.7       เทคนิคการตรวจสอบเป็นกลุ่ม  (Group  Investigation)  เทคนิคนี้สมาชิก

ในกลุ่มมี 2 – 6 คน  เป็นรูปแบบที่ซับซ้อน  แต่ละกลุ่มเลือกหัวข้อเรื่องที่ต้องการจะศึกษาค้นคว้า  สมาชิกในกลุ่มแบ่งงานกันทั้งกลุ่มมีการวางแผนการดำเนินงานตามแผน  การวิเคราะห์  การสังเคราะห์งานที่ทำ  การนำเสนอผลงานหรือรายงานต่อหน้าชั้น  การให้รางวัลหรือให้คะแนนเป็นกลุ่ม

1.8       เทคนิคการเรียนร่วมกัน  (Learning  Together)  วิธีนี้สมาชิกในกลุ่มมี 4 – 5

คน  ระดับความรู้ความสามารถต่างกัน  ใช้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 – 6 โดยครูทำการสอนทั้งชั้น เด็กแต่ละกลุ่มทำงานตามที่ครูมอบหมาย  คะแนนของกลุ่มพิจารณาจากผลงานของกลุ่ม

1.9       เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือร่วมกลุ่ม  (Co – op – Co - op)  ซึ่งเทคนิคนี้

ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ  ดังนี้คือ  นักเรียนช่วยกันอภิปรายหัวข้อที่จะศึกษา  แบ่งหัวข้อใหญ่เป็นหัวข้อย่อย  แล้วจัดนักเรียนเข้ากลุ่มตามความสามารถที่แตกต่างกัน  กลุ่มเลือกหัวข้อที่จะศึกษาตามความสนใจของกลุ่ม  กลุ่มแบ่งหัวข้อย่อยออกเป็นหัวข้อเล็ก ๆ เพื่อนักเรียนแต่ละคนในกลุ่มเลือกไปศึกษา  และมีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ของแต่ละคนภายในกลุ่ม  แล้วนักเรียนเลือกศึกษาเรื่องที่ตนเลือกและนำเสนอต่อกลุ่ม  กลุ่มรวบรวมหัวข้อต่าง ๆ จากนักเรียนทุกคนภายในกลุ่ม  แล้วรายงานผลงานต่อชั้นและมีการประเมินผลงานของกลุ่ม

 

หมายเลขบันทึก: 556606เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2013 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2013 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท