การดูแลและป้องกันเด็กสูญหาย


เ่นื่องจากสถานการณ์เด็กหายหรือเด็กถูกลักพาตัวในปัจจุบันได้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ปกครองจึงขอเสนอข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในการติดตามและป้องกันเด็กสูญหายนะคะ

 

เด็กกลุ่มเสี่ยงที่ถูกลักพาตัวมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 15 ปี   

เด็กที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของคนร้าย ได้แก่

1) เด็กชาย/เด็กหญิงที่มีลักษณะผิวพรรณดี                

2) เด็กชาย/เด็กหญิง ที่ลักษณะการแต่งกายที่ดูมีฐานะ  

3)  เด็กชาย/เด็กหญิง ที่มีลักษณะเชื่อบุคคลแปลกหน้าโดยหว่านล้อมชักจูงได้ง่าย

 

โดยวิธีการที่คนร้ายนิยมนำมาใช้ มีดังนี้

1. ใช้วิธีการเข้ามาตีสนิทกับเด็ก มักถูกล่อหลอกด้วยสิ่งจูงใจ ได้แก่ เงิน ขนม ของเล่น เกมส์ หรือพาไปเที่ยว

2. อ้างว่าผู้ปกครองของเด็กขอให้มารับกลับบ้านแทน เนื่องจากผู้ปกครองของเด็กประสบอุบัติเหตุไม่สามารถมารับได้

3. อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือสารวัตรนักเรียน และกล่าวหาว่าเด็กได้กระทำความผิด  จึงจะนำตัวเด็กไปสอบสวน

 

ลักษณะของผู้ก่อเหตุ มีดังนี้

1. เป็นบุคคลใกล้ชิด โดยส่วนใหญ่ผู้ก่อเหตุมักจะเป็นคนที่เด็กรู้จักเป็นอย่างดี เช่น พี่เลี้ยงเด็ก คนที่อยู่ใกล้บ้าน

    หรืออยู่ในชุมชนเดียวกัน

2. เป็นแก๊งมิจฉาชีพ ซึ่งพวกนี้อาจจะก่อเหตุคนเดียวหรือทำกันเป็นแก๊ง โดยพวกนี้จะมีเทคนิคในการเข้าไปตีสนิทกับเด็ก

 

จุดประสงค์ในการลักพาตัวเด็กนั้นมักมีเหตุผลดังต่อไปนี้

1. นำเด็กไปขาย

2. นำเด็กไปเป็นขอทาน

3. เป็นโรคจิต มีรสนิยมชอบร่วมเพศกับเด็ก ต้องการล่อลวงเด็กไปข่มขืน ซึ่งเหยื่อเป็นได้ทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง


พื้นที่เสี่ยงต่อการลักพาตัวเด็ก       

1. บ้านของเด็กเอง

2. วัดโดยเฉพาะในช่วงที่มีงานวัด

3. โรงพยาบาล

4. สวนสาธารณะ

5. ห้างสรรพสินค้า

6. บริเวณใกล้ที่ทำงานของผู้ปกครองเด็ก 

 

ด้านป้องกัน

 พ่อแม่/ครอบครัว  - ไม่ปล่อยเด็กไว้ตามลำพัง ต้องอยู่ในสายตาผู้ดูแลตลอดเวลา

 เด็ก                - สอนไม่ให้เด็กรับขนม ไม่ไปไหนกับคนแปลกหน้า

 ชุมชน              - เฝ้าระวัง สอดส่องคนแปลกหน้าที่เข้ามาในชุมชน

 สังคม              - สร้างจิตสำนึกให้ทุกคนในสังคมเห็นเด็กเป็นลูกหลานของตนเอง

                     - หากพบเห็นเด็กขอทานให้แจ้ง 1300 เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือ

 

คำแนะนำก่อนการไปแจ้งความคนหายที่สถานีตำรวจ

สามารถแจ้งความคนหายได้แม้จะยังไม่ถึง 24 ชั่วโมง

สถานีตำรวจที่สามารถแจ้งความคนหายได้ กรณีที่เกี่ยวข้องด้วยความผิดทางอาญา

  1. สถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ หรือท้องที่ที่พบผู้หายครั้งสุดท้าย
  2. สถานีตำรวจท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของผู้หาย

เอกสารที่ต้องเตรียมไปแจ้งความคนหายที่สถานีตำรวจ

เอกสารของผู้แจ้งความ

  1. บัตรประจำตัวประชาชน (หรือ) บัตรประจำตัวข้าราชการ (หรือ) หนังสือเดินทาง กรณีเป็นคนต่างชาติ
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน

เอกสารเกี่ยวกับคนหาย

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. ภาพถ่ายคนหาย (ควรเป็นภาพที่ถ่ายไว้ล่าสุด,มองเห็นลักษณะรูปร่างหน้าตาได้ชัดเจนที่สุด)
  4. ใบสำคัญทางราชการอื่น ๆ (ถ้ามี)

 

 

หน่วยงานหรือมูลนิธิที่ครอบครัวคนหายควรไปติดต่อเพื่อติดตาม  คนหาย

 

ชื่อหน่วยงาน

หมายเลขโทรศัพท์

เว็บไซต์

สอบถามเด็กหาย  กรมตำรวจ

0-2282-3892

 

โครงการจัดการความรู้ด้านการสืบสวนคดีคนหายในประเทศไทย

 

  www.thaimissing.com

ศูนย์ประชาบดี  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

1300

  www.call1300.net

ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา

0-2941-4194  ต่อ 104

 

  www.backtohome.org

 

 

หมายเลขบันทึก: 556548เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2013 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2013 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณบันทึกดีดีค่ะ ชอบค่ะ

ทันสมัย ได้ใจความ ตามทันโลกสุดๆเลยค่ะ เยี่ยมจริงๆ

สวัสดีปีใหม่คุณหมอทั้งสองครับ

เอาดอกมะกรูดดอกแรกของไร่มาฝากครับ

น่าสนใจมาก

เคยติดต่อกับที่นี่ครับ

โครงการจัดการความรู้ด้านการสืบสวนคดีคนหายในประเทศไทย www.thaimissing.com
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท