สตช.ยันสารสีม่วงฉีดสกัดม็อบมีอันตราย...


สตช.ยอมรับหน้าตาเฉยสารเคมีสีม่วงที่ฉีดใส่กลุ่มผู้ชุมนุม เป็นอันตรายต่อดวงตา ระบบทางเดินหายใจ และผิวหนัง แต่ยังอ้างว่า เป็นมาตรฐานสากลเพื่อแยกแยะมวลชน พร้อมระบุผลการตรวจดีเอ็นเอ โครงกระดูกมนุษย์ที่พบในรถบัสไฟไหม้ ไม่ใช่ทั้งของ นศ.รามฯ และ นปช. วันนี้ (6 ธ.ค.) ที่สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ (สพฐ.ตร.) พล.ต.อ.จรัมพร สุระมณี ที่ปรึกษา (สบ10) พร้อมด้วย พล.ต.ท.คำรบ ปัญญาแก้ว ผบช.สพฐ.พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเคมี กองพิสูจน์หลักฐานกลาง

ร่วมกันแถลงผลการตรวจสอบสารประกอบแก๊สน้ำชนิดเหลว (Chlorobenzylidene-malononitrileและMethylene Chloride) หรือ CS GAS และสารทำละลายเมธิลด์ไวโอเล็ต (Methyl Violet) ซึ่งใช้ผสมในน้ำให้เกิดสีม่วงเพื่อฉีดใส่กลุ่มผู้ชุมนุม ของกลุ่ม กปปส. ว่า ตนได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานไปเก็บตัวอย่างสารเคมีที่ตำรวจ ใช้ในการควบคุมฝูงชนครั้งนี้ ได้แก่ แก๊สน้ำตาชนิดเหลว และสารทำละลายเมธิลด์ไวโอเลต (Methyl Violet) จากการตรวจสอบโครงสร้างทางเคมีพบว่าตรงกันกับสเปกของสารเคมีที่สำนักงาน ตำรวจแห่งชาติจัดซื้อเพื่อใช้ในการควบคุมฝูงชน

อย่างไรก็ตามยอมรับว่าแก๊สน้ำตาชนิดเหลวเป็นสารเคมีที่มีการระคายเคืองต่อ ดวงตา และระคายเคืองต่อผิว ซึ่งหากโดนเสื้อผ้าสารตัวนี้จะไปเคลือบเสื้อผ้าจะต้องถอดออกทิ้งเพราะไม่ สามารถซักออกได้ และล้างผิวด้วยน้ำสะอาด ซึ่งจะระคายเคืองผิวนานประมาณ 30 นาที ทั้งนี้ จากตรวจสอบสภาพความเป็นกรดด่างพบว่ามีค่า PH7 มีสภาพความเป็นกลาง นอกจากนี้อาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจติดขัดได้ และหากเข้าปากอาจส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารทำให้อาเจียน

ทั้งนี้ ยืนยันว่าสารเคมีเหล่านี้หากได้รับในปริมาณมากๆ หรือมีการแพ้อาจจะต้องมีการปฐมพยาบาล อาจแค่ล้างด้วยน้ำสะอาด หรืออาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจในรายที่มีอาการมาก แต่ยืนยันว่าไม่มีอันตรายถึงชีวิต ส่วนสารทำละลายเมธิลด์ไวโอเลต (Methyl Violet) ซึ่งใช้ผสมในน้ำให้เกิดสีม่วง มีโครงสร้างทางเคมีเดียวกับยาป้ายปาก ทั้งนี้ ยอมรับว่าเป็นครั้งแรกที่ตำรวจใช้ เพราะตำรวจเพิ่งมีรถควบคุมฝูงชน แต่ยืนยันว่าสารเคมีเหล่านี้เป็นอุปกรณ์ควบคุมฝูงชนที่เป็นสากล มีใช้ในหลายประเทศ ซึ่งในบางประเทศอาจมีการผสมสีให้เป็นสีอื่นๆ

พล.ต.อ.จรัมพร กล่าวว่า เหตุผลที่มีการใช้สารเคมีเหล่านี้ในการควบคุมฝูงชนมีความมุ่งหมายไม่ให้เกิด การปะทะ เพราะหากมีการปะทะตัวต่อตัว ไม่รู้จะมีการใช้อาวุธอะไร และอาจมีผู้ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งการใช้สารเคมีเหล่านี้เราก็คำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของเจ้า หน้าที่ตำรวจ และสุขภาพอนามัยของประชาชนด้วย ส่วนเหตุผลหนึ่งที่มีการผสมสีลงไปในน้ำเพื่อแยกแยะมวลชน และประกาศอาณาเขตว่าเป็นพื้นที่ที่มีการใช้แก๊สน้ำตา หากผู้ชุมนุมเข้ามาในพื้นที่อาจต้องได้รับผลกระทบจากแก็สน้ำตา ซึ่งมาตรการเหล่านี้อยู่ในขั้นตอนการควบคุมฝูงชนที่เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งตำรวจจะแจ้งเตือนให้ผู้ชุมนุมทราบก่อนทุกครั้งว่าจะใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูง ชนอะไร

ส่วนกรณีที่มีรายงานว่ามีสัตว์เลี้ยงได้รับผลกระทบจากแก็สน้ำตาด้วย จึงอยากให้นำสัตว์เลี้ยงดังกล่าวที่ได้รับผลกระทบมามอบให้ เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะช่วยทำการตรวจต่อไป นอกจากนี้ พล.ต.อ.จรัมพร กล่าวถึงการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลโครงกระดูกมนุษย์ที่พบในรถบัสของกลุ่ม นปช.ที่ถูกไฟไหม้ ว่า จากการตรวจดีเอ็นเอพบว่าตรงกันกับ นางนฤมล คำพยัคฆ์ อายุ 35 ปี ที่ก่อนหน้านี้ได้มาแจ้งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าศพดังกล่าวคือ นายสุรเดช คำแปงใจ อายุ 19 ปี บุตรชาย ซึ่งผลดีเอ็นเอ็นเอมีความเชื่อมโยงกันทุกจุด ยืนยันว่าทั้งคู่เป็นแม่ลูกกันจริง

จากการสอบสวนพยานซึ่งเป็นคนขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ให้การว่า วันเกิดเหตุผู้ตายได้เรียกรถจักรยานยนต์รับจ้างจากบ้านย่านเอกมัย เพื่อมาซื้อยาแก้ไอ ที่บริเวณหน้า ม.รามคำแหง ระหว่างนั้นผู้ตายได้ถูกชักชวนจากกลุ่มวัยรุ่นให้ไปร่วมเป็นการ์ดนักศึกษา ม.รามฯ โดยมีการแจกผ้าโพกศีรษะ โดยก่อนเกิดเหตุกลุ่มวัยรุ่นดังกล่าวได้ขึ้นไปรถบัสที่ถูกไฟไหม้เพื่อขึ้นไป ทำลายทรัพย์สิน มีการกรีดเบาะ ระหว่างนั้นได้มีการจุดไฟเผารถ ซึ่งจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานพบว่าไฟลามจากข้างหน้า ขณะที่ผู้ตายอยู่ที่บริเวณด้านหลังรถ เจ้าหน้าที่จึงสันนิษฐานว่าหลังจากไฟเริ่มไหม้ซึ่งได้ลุกลามอย่างรวดเร็ว ผู้ตายพยายามที่จะลงทางประตูข้างรถซึ่งถูกล็อกอยู่ จึงทำให้เกิดสำลักควันไฟ ก่อนที่จะเสียชีวิตในกองเพลิง ทั้งนี้ ผู้ตายไม่ได้เป็นนักศึกษา ม.รามฯ และกลุ่ม นปช.

แถลงการณ์ ของ สตช...ฟังแล้วต้องพิจารณาอีกทีนะคะ เรื่องแบบนี้ถ้าจะหาข้อเท็จจรองต้องถามคนที่อยู่ในเหตุการณ์จริงอย่างคุณมณีเทวานะคะที่ไปบุก บชน. มานะคะ ไม่เห็นตำรวจทำเหมือนอย่างที่พูดไว้เลยนะคะ นึกจะยิงมาก็ยิงมา...งง เป็นที่สุดกับวงการตระกวดไทย

หมายเลขบันทึก: 556286เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2013 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2013 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท