ฮักนะเชียงยืน 8


เด็กมีความเข้าใจในประเด็นเรื่องของการทำเกษตรของครอบครัวพอสมควร

ฟันเฟืองตัวที่ 2 (ค่ายรักษ์บ้านเกิด)

 

 

 

          เด็กในวันนี้จะเป็นผู้ใหญ่ในภายภาคหน้า  เด็กเป็นวัยที่ง่ายต่อการพัฒนา ทัศนะของเด็กที่สะท้อนมา  เป็นมุมมองที่ทรงคุณค่าที่ผู้ใหญ่ควรรับฟัง  ต้นกล้าเล็กๆที่พร้อมเจริญเติบโตด้วยความเเข็งเเรง พร้อมที่จะพัฒนาตนเองขึ้น  พร้อมที่จะรักษาบ้านเกิดเมืองนอนที่ตนอยู่ เพราะเด็กในตอนนี้คือผู้ใหญ่ในครั้งหน้า  เด็กมักอ่อนโยนประดุจต้นกล้าอ่อน "หมั่นเริ่มต้นตั้งเเต่เล็กๆ หมั่นปลูกฝังตั้งเเต่เล็กๆ" จะทำใหเต้นกล้าอ่อนเหล่านี้เติบโตไปอย่างมีคุณภาพ  เลือกที่จะพัฒนาต้นกล้าอ่อน เพราะการพัฒนาต้นไม้ที่เติบโตไปแล้วนั้นมักจะเป็นไม้เเข็งที่พัฒนาได้ยาก เข้าถึงได้ยาก  การพัฒนาต้นกล้าอ่อนเป็นสิ่งที่ฮักนะเชียงยืนสามารถทำได้ สามารถเข้าถึงได้ง่าย ประเด็นนี้จึงนับได้ว่าเป็นประเด็นที่ 2 ของฟันเฟืองตัวที่ 2 ที่มีการพูดคุยงานกันในระยะเริ่มต้นเเล้วออกเเบบมาเป็นกิจกรรมขึ้น  

           หลังจากประเด็นเเรกเป็นการสร้างกลุ่มเครือข่าย ประเด็นถัดมาเป็นเหมือนลักษณะของประเด็นเเรก คือ ค่ายกิจกรรม โดยในครั้งเเรกนั้นเราได้กลุ่มเครือข่ายที่เป็นแกนนำร่วมกันในระดับ "เด็กโต" ไปแล้ว  เมื่อได้เพียงเด็กในระดับมัธยมจึงถือว่ามีพลังยังน้อย ต้องมีเด็กที่ต้องมาคอยเสริม มาคอยรักษ์ที่เป็นอีกเเรงหนึ่งที่จะคอยช่วยกันให้งานมีพลังมากยิ่งขึ้น   ในชุมชนมีทั้งเด็กโตเเละเด็กเล็ก เมื่อเราได้พัฒนาเด็กโตไปแล้วนั้นสิ่งสำคัญอีกประการ คือ เด็กเล็กๆที่เราจะต้องพัฒนา  "ถ้าได้มุ่งเป้าที่การพัฒนาเด็กก็ให้บริการที่จุดเดียว" ให้ได้หลักที่มั่นคงในการดำเนินงาน โดยมุ่งเป้าไปที่ตัวเด็ก ให้เด็กลุกขึ้นมารักษ์บ้านเกิดของตนเองให้มากที่สุด  ดึงความคิดสำนึกรักษ์บ้านเกิดให้ออกมาให้มากที่สุด ค่ายนี้จึงจัดในรูปแบบของค่ายที่ผ่านมาเเต่จะปรับให้มีความเหมาะสมกับเด็ก เพราะบางสิ่งสามารถใช้กับวัยเด็กโตได้ผลเเต่บางสิ่งสามารถใช้กับเด็กเล็กไม่ได้ผล ซึ่งการปรับเพื่อความเหมาะสมจะขึ้นอยู่กับการระดมความคิดกันของฮักนะเชียงยืน ที่อยากปลูกฝังให้เด็กลุกขึ้นมารักษาบ้านเกิด "ค่ายนี้จึงชื่อว่า ค่ายรักษ์บ้านเกิด" เป็นค่ายที่จะคอยดึงใจให้รักษ์บ้านเกิดออกมาในเด็กระดับประถมศึกษาโดย ณ ครั้งนั้น เน้นไปที่กิจกรรมที่มองว่าจะสามารถทำให้เด็กสามารถลุกขึ้นมาเเสดงออกว่า "บ้านเกิดของตนเอง ตนเองต้องรักษา" โดยมีการชวนคิดจากฮักนะเชียงยืนเเล้วมีกลุ่มเครือข่ายเข้ามาช่วยในกิจกรรม ชวนคิดโดยเครื่องมือการคิด มีฐานความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ควรอนุกรักษ์ไว้ชั่วลูกหลาน นำมาสรรค์สร้างให้กลายเป็นกิจกรรมโดยมีหลักคิด คือ การนำวัฒนธรรมเดิมมาให้เด็กๆได้มองเห็น  นำประเด็นผลเสียเรื่องสารเคมีมาให้เด็กๆได้มองเห็น  เเล้วมีการลงเก็บตัวอย่างดินให้เด็กๆได้เห็น เพราะเมื่อได้เห็นเเล้วมักจะเข้าใจง่าย "เพราะมองเห็นภาพ" มองเห็นบริบทที่เเท้จริง หลักคิดทั้งสามประการนี้มี วัฒนธรรมเดิม  สารเคมี  เเละการเก็บตัวอย่างดิน เป็นหลักที่สำคัญที่จะนำมาออกเเบบกิจกรรม "ค่ายรักษ์บ้านเกิด" โดยคำนึงถึงหลักที่ได้ตั้งเป้าไว้ข้างต้นเป็นหลัก

 

กิจกรรมค่ายรักษ์บ้านเกิด มีกิจกรรมย่อย ดังนี้

 

 

 

กิจกรรมรักบ้ำนเกิด(สร้างกลุ่มเยาวชน)

- BAR

- กิจกรรมสร้างคุณค่าในตนเอง

- หนังสิ่งมีชีวิตในดิน (สะท้อนความคิดเห็น)

- วิเคราะห์ผลดี ผลเสียของสารเคมี

- วิธีการทำเกษตร

- ฐานภูมิปัญญา

- พี่ชวนน้องเก็บตัวอย่างดิน (วิเคราะห์ความสมบูรณ์ของดิน)

         BAR เป็นการคุยงานกันก่อนทำ โดย ณ ครั้งนั้น การคุยงานกันก่อนทำมุ่งเป้าประเด็นไปที่ สารเคมี  วัฒนธรรมเดิม  การเก็บตัวอย่างดิน เพื่อนำมาสร้างเป็นกิจกรรมที่เน้นการให้เด็กได้มองเห็นภาพได้อย่างชัดเจนมากที่สุด  คาดหวังว่าสามารถดึงความคิดของเด็กๆออกมาได้อย่างมีความกล้าเเสดงออกมากที่สุด  เน้นย้ำให้เด็กมาพูดคุยกันมากที่สุด เพื่อที่จะดึงสำนึกรักษ์บ้านเกิดของเด็กๆให้ออกมาจากภายในมากที่สุด

         กิจกรรมการสร้างคุณค่าในตนเองเป็นกิจกรรมที่จะทำให้เรามองเห็นภาพได้อย่างชัดเจนขึ้นในคุณค่าของตนเอง โดยการการตั้งประเด็นคำถามที่ว่า เรามีคุณค่าอย่างไร  เรามีคุณค่าต่อครอบครัวอย่างไร เเล้วครอบครัวมีคุณค่าต่อตัวเราอย่างไร โดยเป็นการให้เด็กเขียนออกมาจากความคิดของเเต่ละคน เเล้วมีการเลือกเด็กหลายๆคนมาคอยเล่าให้เพื่อนฟังว่าตนเองมีคุณค่าอย่างไร จากกิจกรรมนี้ จะทำให้ตนเองรู้สึกว่า เรามีคุณค่า เรามีคุณค่าต่อครอบครัว ครอบครัวเรามีคุณค่า เเล้วหวังว่าจะเกิดเเรงจุดประกายเล็กๆว่าเมื่อเรามีคุณค่าเเลวนั้น เราต้องรักษาคุณค่าในตนเองไว้ให้ได้นานที่สุด

         หนังสิ่งมีชีวิตในดิน (สะท้อนความคิดเห็น) เป็นหนังสั้นที่เหมาะสมให้เเก่เด็กๆใได้ชม เพราะอยู่ในลักษณะหนังสะท้อนมุมมองประเด็นสารเคมีที่เป็นการ์ตูน ซึ่งมีความเหมาะสมกับเด็กๆ สามารถเข้าใจง่ายเพราะหนังสั้นการ์ตูนสามารถถ่ายทอดได้อย่างชัดเจน "มีเสียงหัวเราะ" เกิดขึ้น ทำให้รู้ว่าเด็กกำลังมีการสนใจกับสิ่งที่ได้รับชม โดยเมื่อได้รับการ์ตูนนี้ไปแล้วมีการถอดองค์ความรู้ที่ได้จากการ์ตูน ให้เด็กได้เเลกเปลี่ยนมุมมองสะท้อนความคิดเห็น พูดกันกันเเบบเด็กๆ ให้เกิดที่ตัวเด็กมากที่สุด

          วิเคราะห์ผลดี ผลเสียของสารเคมี เป็นเครื่องมือในการคิดอย่างง่ายที่่มีความเหมาะสมกับเด็กๆ ที่มีหลักคิดง่ายๆ คือ ข้อดี เเละข้อเสีย โดยเเบ่งกลุ่มให้ช่วยกันคิด ทุกๆกลุ่มจะมีพี่เลี้ยงซึ่งเป็นกลุ่มเครือข่ายคอยกระตุ้นความคิด คอยเเนะนำน้องๆ คำถามหลักมีอยู่ 2 คำด้วยกัน คือ สารเคมีนั้นดีอย่างไร เเล้วสารเคมีนั้นเสียอย่างไร ซึ่งในครั้งนั้น ผลจากการวิเคราะห์ของเด็กๆที่ออกมานั้นมุ่งที่ผลเสียเป็นหลัก ทำให้มองเห็นภาพได้ในอีกมุมหนึ่งว่าเด็กรู้พอสมควรในประเด็นของสารเคมี ความคาดหวังในกิจกรรมนี้ คือ อยากให้เด็กๆมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจนว่าสารเคมีนั้นมีผลดี มีผล้สียอย่างไรบ้าง ซึ่งเมื่อเเต่ละกลุ่มได้วิเคราะห์ออกมาเเล้วจะเป็นการพูดคุยเเลกเปลี่ยนซึ่งกันเเละกัน มีการนำเสนอให้กันฟัง ในมุมมองที่เเตกต่าง เเล้วมีการสรุปโดยนำของทุกคนมารวมกันให้ทุกคนได้เข้าใจได้ชัดขึ้น

          วิธีการทำเกษตร เป็นเครื่องมือที่จะดึงความคิดของเด็กๆให้ออกมาเเล้วมาพูดคุยกันโดย เป็นการเขียนวิธีในการทำเกษตรตามเเต่ละกลุ่มเเล้วมานำเสนอเเลกเปลี่ยนซึ่งกันเเละกัน จะได้เห็นภาพอย่างชัดเจนขึ้นว่า สิ่งที่เราได้ปลูกนั้นเราใช้สารเคมีมากน้อยเพียงใด โดยมีความคาดหวังในกิจกรรมนี้ คือ การให้เด็กได้มองเห็นวิธีในการทำการเกษตรของตนเองเเต่ละครอบครัวมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะเน้นย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าสารที่เราใช้อยู่ในทุกๆวันนั้นจะมีผลเสียต่อเราอย่างไร ซึ่งเด็กๆสะท้อนในเเบบของเด็กๆ ที่ถือว่าเด็กสามารถรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของตนเองมากมากพอสมควร เด็กมีความเข้าในในวิธีการเกษตรอยู่พอสมควร เด็กๆมองภาพเเล้วสามารถสะท้อนออกมาได้อย่างกล้าเเสดงออกพอสมควร สิ่งที่มองเห็นสำคัญๆของการพูดคุย คือ ปกติเเล้วเด็กในช่วงวัยนี้จะไม่ค่อยกล้าเเสดงออก เมื่อมีคนหนึ่งๆออกมาเเสดงออกซึ่งเป็นเพื่อนๆกันเเล้วจะสามารถทำให้เขามีความกล้าเเสดงออกมากยิ่งขึ้นในการพูดคุย ในการนำเสนอให้เพื่อนได้รับฟัง

          ฐานภูมิปัญญา  เป็นฐานที่เน้นภูมิปัญญาดั้งเดิมของหมู่บ้านที่ให้เด็กมาเรียนรู้ในสิ่งที่เริ่มจะสูญหายไปจากชุมชนเพราะวิถีชีวิตมีความเปลี่ยนแปลงไป โดยฐานการเรียนรู้ในครั้งนั้นมีอยู่ 2 ฐานด้วยกัน คือ ฐานอักษรธรรมอีสาน เเละ ฐานมวยไทย ซึ่งในครั้งเก่าก่อนหมู่บ้านนี้มีอักษรธรรมที่ควรค่าเเก่การสืบต่อ  มีมวยไทยที่ควรค่าเเก่การสืบต่อ ทุกๆวันนี้เริ่มลดเลือนหายไปจากวิถีชีวิตเรื่อยๆ ทำให้เด็กยุคใหม่ ไม่รู้ว่าสิ่งนี้เป็นอย่างไร ทั้งสองฐานการเรียนรู้จึงเป็นฐานที่จะทำให้เด็กๆมองเห็นภาพว่าชึมชนเรานี้มีอะไรที่เป็นวัฒนธรรมภูมิปัญญาดั้งเดิม เเล้วจะคอยเป็นเเรงกระตุ้นเล็กๆ ให้มองเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาของบรรพบุรุษเมื่อครั้งอดีตมากยิ่งขึ้น เมื่อมองเห็นคุณค่าของชุมชนมากยิ่งขึ้นจึงมีความคาดหวังว่าเด็กๆจะเกิดเเรงบันดาลใจในการรักษ์หมู่บ้านมากยิ่งขึ้น

          พี่ชวนน้องเก็บตัวอย่างดิน เป็นกิจกรรมสำคัญที่พาน้องๆเข้าเก็บตัวอย่างดินในไร่นาเเปลงเกษตรของชาวบ้านที่ได้รับอนุญาติเเล้ว โดยฮักนะเชียงยืนลงพาน้องเก็บตัวอย่างดิน เมื่อได้สอนน้องๆในเรื่องของการเก็บตัวอย่างดินเเล้วขั้นต่อไปจึง "เป็นการลุย" ลงพื้นที่จริงให้น้องๆเห็นภาพอย่างชัดเจนขึ้นว่า วิธีในการเก็บดินขึ้นส่งตรวจนั้นเป็นอย่างไร โดยมีความคาดหวังว่าเด็กจะสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปส่งตรวจเองหรือไปถ่ายทอดให้ผู้ปกครองได้รับฟังต่อไป

           จากการดำเนินงานมาทั้งหมดทั้งกิจกรรม สิ่งที่ถือว่าได้รัรู้มากที่สุด คือ เด็กมีความเข้าใจในประเด็นเรื่องของการทำเกษตรของครอบครัวพอสมควรเพราะในหลายๆครั้งหรือในทุกๆครั้งเด็กๆมักจะเข้าไปช่วยเหลือผู้ปกครองอยู่เป็นนิจเพราะนั่นเป็นอาชีพของครอบครัวเปรียบเหมือนกับธุรกิจในระดับครอบครัวที่ต้องช่วยกัน ฮักนะเชียงยืนเลือกที่จะพัฒนาความคิดตั้งเเต่เด็กๆ เพราะคาดหวังว่าเด็กจะป้องกันตนเองมากยิ่งขึ้น เด็กจะไปพูดคุยกับครอบครัวของตนเองมากยิ่งขึ้น กิจกรรมทั้งหมดนั้นเน้นเข้าไปที่การดึงใจให้รักษ์บ้านเกิด เมื่อมีใจรักษ์บ้านเกิดเเล้วนั้น ความตระหนักย่อมบังเกิดขึ้นในทัศนคติ  "เเววตาของเด็กๆที่น่าใคร่ครวญ" เเววตาที่เด็กคนหนึ่งในฮักนะเชียงยืนเชื่อว่าสักวันหนึ่งเด็กๆกลุ่มนี้จะต้องลุกขึ้นมารักษาบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง  หวังว่าเขาจะลุกขึ้นมาอย่างเป็นต้นกล้าที่เข้มเเข็ง  หวังว่าสักวันหนึ่งเมื่อเขาได้ลุกขึ้นมาเเล้วนั้นเขาจะมองเห็นชุมชนเเล้วพัฒนาชุมชนของตนเองให้เหมาะสมจากภายใน ฟันเฟืองของฮักนะเชียงยืนยังคงดำเนินต่อไปตามกลไกของฟันเฟือง...

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 556080เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2013 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2013 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาชื่นชมน้องๆกับกิจกรรมดีๆที่เป็นรากฐานของชีวิตในหลายๆด้านเช่นนี้...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท