การแสดงของภาคเหนือ เพลง ฟ้อนสาวไหม


ฟ้อนสาวไหม เป็นฟ้อนที่ต่างจาก การฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ซึ่งฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เกิดจากราชสำนัก (คุ้มเจ้าดารารัศมี) แต่การฟ้อนสาวไหมเกิดจาก วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในการทอผ้าฝ้ายของชาวล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านศรีทรายมูล ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เกิด การฟ้อนสาวไหม ซึ่งบุคคลผู้ที่คิดค้นการฟ้อนนี้ คือ นายกุย สุภาวสิทธิ์ อดีตศิลปินช่างฟ้อน (ปัจจุบันได้ล่วงลับไปแล้ว) แห่งหมู่บ้านศรีทรายมูล หมู่ที่ ๑๑ ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย แต่เดิมท่านเป็นชาวบ้านแม่คือ ตำบลแม่ก๊ะ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน และเป็นครูช่างฟ้อนผู้หนึ่งที่ได้สอนศิลปะการฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อครูปวน คำมาแดง ซึ่งเป็นผู้ชำนาญทางด้านนี้จนได้รับสมญานามว่า “ปวนเจิง” (หมายถึง นายปวน ผู้เชี่ยวชาญในการฟ้อนเชิง) จากนั้นนายกุย สุภาวสิทธิ์ ได้ถ่ายทอดศิลปะการฟ้อนต่างๆ แก่หนุ่มสาวชาวบ้านศรีทรายมูล เมื่อท่านได้ถ่ายทอดศิลปะเหล่านี้แก่ชาวบ้านศรีทรายมูล เด็กหญิงบัวเรียวก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ นางบัวเรียว (สุภาวสิทธิ์) รัตนมณีภรณ์ ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านการฟ้อนมาจากบิดาตั้งแต่ อายุประมาณ ๗-๘ ขวบ

ด้วย นายกุย เป็นผู้มีความชำนาญและความสามารถทางศิลปะการฟ้อนของฝ่ายชาย อันได้แก่ฟ้อนดาบ และฟ้อนเชิง นอกจากการฟ้อนทั้ง ๒ อย่างจะเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาแล้วยังสามารถนำมาเป็นอาวุธที่ใช้ป้องกันตัวจากการถูกทำร้ายได้ด้วย ด้วยเหตุนี้นายกุยคิดว่าการที่จะถ่ายทอดการฟ้อนเชิง และฟ้อนดาบให้แก่บุตรสาวอย่างเดียวคงไม่พอ จึงได้ประดิษฐ์การฟ้อนที่นำเอากระบวนการทอผ้าฝ้ายของชาวล้านนา และการฟ้อนเชิงของผู้ชายมาประดิษฐ์ท่ารำเรียกว่า “ฟ้อนสาวไหม” การที่เรียกชื่อว่าฟ้อนสาวไหมมีเหตุผล ๓ ประการ ดังนี้

ประการที่ ๑ คนเมือง หรือคนภาคเหนือเรียกด้ายเย็บผ้าว่า “ไหมเย็บผ้า”

ประการที่ ๒ คำว่าสาวไหม เป็นกระบวนท่าหนึ่งในการฟ้อนเชิง ของชาวล้านนา

ประการที่ ๓ เพื่อสวยงามตามรูปภาษา นางบัวเรียวได้กล่าวว่า บิดาเลือกชื่อนี้เพราะคำว่าฟ้อนสาวไหมมีความสวยงามมากกว่าคำว่าฟ้อนสาวฝ้าย หรือฟ้อนปั่นฝ้าย

จากการได้รับการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าว นางบัวเรียวจึงได้นำแสดงสู่สายตาประชาชนชาวจังหวัดเชียงราย และได้มีโอกาสนำไปเผยแพร่ยังจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการนำของคุณชาญ สิโรรส จากการเผยแพร่ดังกล่าวจึงได้รับทั้งคำชมและคำแนะนำในการฟ้อน ทำให้นางบัวเรียวได้ทำการปรับปรุงท่าฟ้อนสาวไหมมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เข้ากับสรีระการฟ้อนของผู้หญิงมากยิ่งขึ้น และเข้ากับโอกาสในการแสดงตามงานต่างๆ จนมีความงดงามตามแบบการฟ้อนพื้นบ้านล้านนาอย่างแท้จริง

การแสดงของภาคเหนือ เพลง ฟ้อนสาวไหม

 

อ้างอิงจาก : http://www.fonsaomai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=15:-m---m-s&catid=2:๒๕๕๓-%25m-๑๖-๐๕-%25M-%25S&Itemid=2

 

หมายเลขบันทึก: 556014เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2013 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2013 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ ดิฉันเป็นทีมงานของเว็บไซต์ gotoknow ค่ะ รบกวนสอบถามถึงบันทึกล่าสุดของคุณ

ไม่ทราบว่าเป็นรายวิชาของ อาจารย์ท่านใดค่ะ เนื่องจากปัจจุบันนี้ทีมงานได้มีการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสำหรับ ครู อาจารย์ และนักศึกษา ขึ้นมาอีก 2 เว็บไซต์คือ L3nr.org และ ClassStart.org

จึงอยากจะแนะนำให้อาจารย์เจ้าของรายวิชา ได้รับทราบข้อมูลเพื่อเป็นทางเลือกให้กับอาจารย์ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

นุชระพี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท