MOOC ห้องเรียนออนไลน์แห่งศตวรรษที่ 21


โลกยุคใหม่นี้มีอะไรที่น่าสนใจเกิดขึ้นใหม่ให้ได้ติดตามกันได้ตลอดนะค่ะ

หนึ่งในนั้นก็ คือ MOOC ซึ่งย่อมาจาก Massive Open  Online Course ความหมายก็อยู่ในตัวมันแล้ว ก็คือ คอร์สการเรียนออนไลน์จากระบบเปิดที่ฟรีและมีเพื่อนเรียนร่วมกันจำนวนมาก (เพื่อนจำนวนมากในที่นี้ เป็นแสนคนเลยทีเดียว) คือใครอยากจะเรียนก็เข้าไปเรียนโดยไม่ต้องจ่ายเงิน นักศึกษาสามารถดูวิดีโอการบรรยายเข้าไปทำแบบทดสอบ(Quiz) หรือแบบฝึกหัด รวมทั้ง Assignment ได้ หรือจะเข้าร่วมวงสนทนากับนักศึกษาคนอื่นๆ ในคอร์สก็ได้

จุดที่น่าสนใจของ MOOC คือ มีการสร้างระบบส่งเสริมให้อาจารย์และนักศึกษาสามารถสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น คือมีการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้อาจารย์สามารถเก็บข้อมูลของนักศึกษาได้ง่ายขึ้น เช่น อาจารย์สามารถเข้าดูสถิติในการเข้าดูวิดีโอ Lecture อันใดซ้ำมากเป็นพิเศษ หรือนักศึกษาใช้เวลาทำแบบฝึกหัดใดนานมากเป็นพิเศษ ผู้สอนสามารถตอบกลับได้เลย ซึ่งแก้ข้อบกพร่องในการเรียนแบบการเรียนผ่านทางไกลแบบเดิมๆ 

อีกเหตุผลที่ MOOC เป็นที่นิยม คือ เริ่มทดลองใช้จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกา เช่น มหาวิทยาลัย Harvard, MIT และ California Berkeley ซึ่งต่อมาพัฒนามาเป็นความร่วมมือระหว่างหลายๆ มหาวิทยาลัย 

อีกประเด็นหนึ่ง การเปิดข้อมูลทุกอย่างนี้เป็นแง่ดีที่ว่า เป็นการแบ่งปันความรู้แบบไร้พรหมแดน ไร้ผนังห้องมาขวางกั้น

 

หทัยรัตน์  มีแสง  10/12/2556

คำสำคัญ (Tags): #mooc
หมายเลขบันทึก: 555917เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2013 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2013 13:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การศึกษาแบบสมัยใหม่ อาจทำให้คนรุ่นใหม่ตื่นเต้นกับเทคโนโลยีใหม่ๆ แม้เราจะมองว่าเป็นวิธีที่สร้างความรู้ให้มนุษย์ แต่อย่ามองข้ามความบกพร่องในตัวมันเอง และอาจกระทบมาถึงคุณภาพของมนุษย์เองด้วย

ปัญหาของสังคมยุคสื่อคือ "ปัญญาประดิษฐ์" (Artficial Intelligence) เราเชื่อมั่นในปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้มากไปหรือไม่ นั่นคือ เรากำลังตกเป็นผู้รับใช้มัน หากขาดมันเราอาจเป็นหมดอำนาจได้ หรือขาดการเชื่อมโลกได้ จุดยืนของเราคือ การใช้มันเป็นอุปกรณ์ในการศึกษา มันต้องไม่มีอำนาจเหนือเรา ที่สำคัญคือ เราต้องวิเคราะห์กระบวนการทั้งหมดได้อย่างเบ็ดเสร็จ มิใช่ให้มันวิเคราะห์ หากเราเข้าป่า ทะเลทราย ใต้พิภพ ฯ ซึ่งอยู่ห่างไกลอุปกรณ์เหล่านี้ เราก็เป็นใบ้ได้

ปัญหาใหญ่คือ มนุษย์รับรู้ข้อมูลอย่างท่วมท้นในยุคปัจจุบัน เพราะคิดว่าทันสมัย ทันโลก เพราะอาศัยเทคโนโลยี โลกไซเบอร์ แต่มนุษย์กลับย่อยข้อมูลเหล่านี้ ไม่ได้ วิเคราะห์ไม่เป็น เรียบเรียงข้อมูลที่ได้ไม่ละเอียด แล้วประเมินไม่ออกว่า ที่ได้มานั้น เท็จจริงหรือเทียม เพราะโลกยุคใหม่ มีข้อมูลเทียมมากมาย ทำอย่างไรเราจะหาข้อมูลได้อย่างแท้จริง โดยไม่ตกเป็นคนรับข้อมูลมากล้น จนสับสนได้ ฉะนั้น จุดนี้ เราต้องมีหลักยึด มีจุดยืนในความเป็นมนุษย์ ที่มองเห็นปัญหาของคนยุคใหม่และอุปกรณ์ใหม่ๆ เพราะอีกหน่อย โลกก้าวต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ มีอยู่ทุกพื้นที่ เราคงไม่ตื่นเต้นแล้ว แต่จะอยู่ว่า เราจะวิเคราะห์ข่าวสาร เนื้อหาอย่างไร ตามหลักการสื่อสาร (SMCR)

ประเด็นที่ว่ามา (ตามที่คุณหทัยรัต) เป็นเรื่องที่ชาวตะวันตกในด้านองค์กรนำร่องไปนานแล้วครับ เมืองไทยมีเน็ตเกิดขึ้นเมื่อ ปี 2530 เท่านั้น อาจต้องใช้เวลาครับ ในแง่วิธีการ สำหรับคนรุ่นใหม่น่าตื่นเต้นครับ แต่ต้องสร้างฐานการเข้าใจ และฐานสมองหรือฉีดวัคซีนให้เด็กยุคใหม่ใช้สื่อให้เป็นและคุ้มค่า และต้องสร้างหลักการในการรับข้อมูลและวิเคราะห์ ย่อยสารยุคใหม่ให้เป็น มิฉะนั้น พวกเขาจะใช้สื่อไปในทางผิด เช่น แชท คุยไลน์ ส่งภาพ ส่งข้อความลวง ส่งคลิปไปในทางไม่สร้างสรรค์ เพราะขาดจุดยืนในการใช้สื่อสาธารณะร่วมโลกกัน

ที่แสดงทัศนะมาเพื่อเสริมนะครับ มิได้แย้งสุดโต่ง เพื่อความละเอียดในการมองสื่อ และรู้เท่าทันครับ กระทบใจขออภัยอย่างแรงนะ ขอบคุณครับผม

ขอขอบคูนสำหรับความคิดเห็นของคุณ ส.รตนภักดิ์ค่ะ แน่นอนค่ะสื่อมีทั้งแง่บวกและแง่ลบ แต่จะทำอย่างไรที่เราจะเรียนรู้จากประโยชน์ที่มีของมัน เราไม่ได้ตามกระแสค่ะ แต่เป็นการเสนอมุมมองที่มีประโยชน์อีกทางหนึ่งก็เท่านั้น ทั้งนี้การนำไปใช้แน่นอนต้องดูความเหมาะสมในหลายแง่มุม เด็กสมัยใหม่ก็ล้ำหน้าเรื่องเทคโนโลยีก้าวไกลจนบางทีเราเองก็ตามไม่ทัน เราจึงต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีและแนะนำสื่อที่มีประโยชน์เพื่อให้พวกเขาใช้เวลาเรียนรู้สิ่งที่มีประโยชน์มากกว่าใช้เวลาไปกับสิ่งมัวเมาที่เข้าถึงได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัสเม้าส์จริงไหมค่ะ ไม่กระทบใจค่ะยินดีด้วยซ้ำที่ได้พูดคุยมีแง่มุมใหม่ๆ เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดยินดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท