"เมืองสื่อสร้างสรรค์"... อะไร ...ทำไม


แต่ความจริงวันนี้ ... การติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนโดยภาพรวมทั้งประเทศ พบว่า เด็กไทยส่วนใหญ่ใช้เวลาถึงเกือบหนึ่งในสามของชีวิตไปกับการดูโทรทัศน์และอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต เป็นผลให้มีเวลาในการทำกิจกรรมอื่นๆ ลดน้อยลงทั้งเรื่องการเรียน การอ่านหนังสือ

 “เมืองสื่อสร้างสรรค์". .. อะไร ...ทำไม

เกศินี จุฑาวิจิตร

ชุมชน 100 เล่มเกวียนเปลี่ยนชีวิต

        

         “ตัวชี้วัดเมืองสื่อสร้างสรรค์: ตัวชี้วัดและการนำไปใช้” เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ใหม่หมาดจากโรงพิมพ์

         หนังสือนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเมืองสื่อสร้างสรรค์: การพัฒนาตัวชี้วัดและบทเรียนเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)เขียนโดย เกศินี จุฑาวิจิตร

                                    

         “เด็กในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ในวันหน้า”

         “เด็กคืออนาคตของชาติ”

         “เธอคือความหวังของสังคม”

         คงเป็นคำกล่าวที่เป็นความจริงเสมอ ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร เด็กๆ จะต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงวัย เพื่อว่าสักวันหนึ่งพวกเขาจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ฉลาดรู้ อยู่อย่างมีความสุข

         แต่ความจริงวันนี้ ... การติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนโดยภาพรวมทั้งประเทศ พบว่า เด็กไทยส่วนใหญ่ใช้เวลาถึงเกือบหนึ่งในสามของชีวิตไปกับการดูโทรทัศน์และอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต เป็นผลให้มีเวลาในการทำกิจกรรมอื่นๆ ลดน้อยลงทั้งเรื่องการเรียน การอ่านหนังสือ การเล่นกีฬาหรือแม้แต่การนอน และการสร้างความสัมพันธ์กับครอบครัวและเพื่อน หากที่สำคัญคือ การได้ซึมซับกับค่านิยมผิดๆ ในเรื่องเพศ ความรุนแรงและการบริโภคที่ไม่เหมาะสม

         นั่นหมายความว่า สุขภาวะของเด็กและเยาวชนกำลัง “ขาด” และ “พร่อง” ซึ่งไม่ได้ส่งผลกระทบต่อ “ความสุข” ในมิติกาย ใจและจิตวิญญาณหรือปัญญาของเด็กและเยาวชนในระดับ “ปัจเจกบุคคล” เท่านั้น

         แต่หมายถึง “ความสุข” ของครอบครัว ชุมชนและสังคมโดยรวมด้วย

         การบริโภคสื่อที่ไม่เหมาะสม เป็นเสมือน “ต้นน้ำ” ของการแสดงออกหรือการมีพฤติกรรมที่สร้างปัญหา ความเดือดร้อนและความทุกข์ให้กับตนเอง ครอบครัวและชุมชน   อย่างไรก็ตาม ในโลกความเป็นจริงปัจจุบัน เราไม่สามารถปฏิเสธการเปิดรับสื่อกระแสหลัก เช่น โทรทัศน์ หรือสื่อใหม่ เช่น โลกออนไลน์ได้

        ทางเลือกและทางออกของปัญหานี้ จึงอยู่ที่การพัฒนาให้เด็กและเยาวชนมีความฉลาดรู้เรื่องสื่อ   ในขณะเดียวกันก็ต้องโน้มนำให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตสื่อและการนำใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ ตลอดจนสนับสนุนให้ทุกชุมชนมีพื้นที่และกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เหมาะสมกับเด็ก เยาวชน คนทุกกลุ่มและทุกเพศวัย  

        ความคิดเรื่อง “เมืองสื่อสร้างสรรค์” เป็นบริบทใหม่ของการทำงานเชิงรุกที่ของสำนักรณรงค์สื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยบูรณาการงานของแผนงาน 3 แผนเข้าด้วยกัน คือ แผนงานสร้างสุขภาวะเยาวชน แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อที่จะช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดเมืองต้นแบบของการมีสื่อดี การจัดการด้านพื้นที่ที่ดี และมีภูมิปัญญาดี

        ในที่นี้จึงจำเป็นต้องพัฒนา “เครื่องชี้วัด” ขึ้นมา ซึ่งจะออกมาหน้าตาอย่างไรนั้น ค่อยเล่าต่อค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 555891เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2013 06:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2013 06:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าจะเป็นหนังสือที่ออกมาถูกที่ ถูกเวลา มากที่สุดเล่มหนึ่งในปัจจุบันนะ ..บางที่อาจจะไม่เฉพาะเด็กนะครับ..ในสถานการณ์ปัจจุบัน..การรู้เท่าทันสื่อ..ก็ถือเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ควรตระหนักให้มากเช่นเดียวกัน..ครับ

ต้องยอมรับว่า...ปัจจุบันการเข้าถึงสื่อต่าง ๆ ของเด็กทำได้ง่ายมากและในสิ่งเหล่านั้นก็จะมีข้อมูลขยะเป็นจำนวนมาก...หากเด็กไม่รู้เท่าทันก็จะถูกปลูกฝังความเชื่อผิด ๆ เหล่านั้นซึ่งความเชื่อเหล่านั้นก็จะกลับกลายมามีอิทธิพลทางความคิดและวิถีชีวิตของเด็ก...ซึ่งในทางพุทธท่านจะมีหลัก 'กาลามสูตร' เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันในการบริโภคข้อมูลข่าวสาร...

ท้ายที่สุด...สิ่งสำคัญคือสายใยรักความผูกพันในครอบครัวจะช่วยถักทอสายใยไว้เพื่อสร้างเป็นภูมิคุ้มกันให้กับเด็กได้ในระดับต้นน้ำ...ต้องช่วยกันทำให้สถาบันครอบครัวเข้มแข็งเพื่อเป็นเกราะป้องกันและส่งผ่านความดีงามให้กับรุ่นสู่รุ่นต่อไป...

ขอบคุณบันทึกดี ๆ ที่มีมาฝากนี้มากครับ...

-สวัสดีครับ

-เมืองสื่อสร้างสรรค์.....น่าอ่านนะครับ

-ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท