เวลาแบบ Objective และ Subjective ท่านมีความเห็นอย่างไร อภิปราย


เวลาแบบ Objective และ Subjective ท่านมีความเห็นอย่างไร อภิปราย

Objective หรือ ภาวะวิสัย ความหมายคือ การมองสิ่งรอบๆ ไม่มองตัวเองเป็นใหญ่ ถ้าจะตีความเวลาในแบบของภาวะวิสัยนั้นก็คือการกำหนดเวลาของมนุษย์อาศัยสิ่งต่างๆ รอบตน เช่น โลกหมุนรอบตัวเองทำให้เกิดกลางวันและกลางคืน การดูดวงดาวสำหรับการเดินเรือ การเปลี่ยนแปลงของฤดู ร้อน ฝน หนาว ใบไม้ผลิ หิมะ การวัดเงาแดดของดวงอาทิตย์เพื่อกำหนดเวลา ที่ยกขึ้นมาแสดงนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่า วัน เดือน ปี เวลาต่างๆ นั้นอาศัยธรรมชาติรอบๆภายนอกตน เป็นตัวชี้วัดออกมาเป็นเครื่องกำหนดเวลา เหมือนอย่างที่ชาวนาจะต้องทำนาในฤดูฝน ถ้าทำนาในฤดูอื่นที่ไม่มีฝนหรือฝนไม่ตกก็จะไม่สามารถปลูกข้าวได้ ชาวนาต้องรอคอยเวลาที่ฝนจะตกเท่านั้นถึงจะปลูกข้าวได้แบบนี้เรียกว่าการอาศัยสิ่งรอบๆเป็นตัวกำหนดเวลา

Subjective หรือ อัตวิสัย ความหมายคือ การมองตัวเองเป็นหลัก ไม่มองสิ่งรอบข้าง ไม่มองตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ยึดตนเองเป็นที่ตั้งเท่านั้น แนวคิดแบบอัตวิสัยเป็นการยึดถือตนเป็นใหญ่ คล้ายกับแนวคิดของพวกโซฟิสต์ (Sophist) ที่เห็นว่ามนุษย์เป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง ตัวอย่างเช่น ชายคนหนึ่งเห็นแสงอาทิตย์ส่องสว่างก็สามารถรู้ได้ว่าเป็นเวลาเช้า เพราะว่าตามองเห็นแสงอาทิตย์ที่ให้ความสว่าง เรียกว่าเวลาเช้า เป็นเวลาที่ต้องตื่นนอน ออกมาทำงาน ส่วนชายอีกคนเห็นความมืด ก็รู้ได้ทันทีว่านี่เป็นเวลากลางคืน เพราะว่ามันไม่มีแสงสว่างมันมืด เป็นเวลาเลิกงาน เป็นเวลานอนพักผ่อน เป็นต้น

สรุป แนวคิดทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน ดังที่กล่าวไว้ คือ แนวคิดแบบ Objective จะปลูกข้าวต้องรอฤดูฝนเท่านั้น เพราะฤดูฝนเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี ถ้าปลูกในเวลาหรือฤดูอื่นผลิตอาจจะไม่ดี แต่แนวคิดแบบ Subjective ต้องการจะปลูกข้าวในหน้าร้อนโดยอาศัยตนเป็นที่ตั้งแล้วจะปลูกข้าวในฤดูร้อนโดยไม่รอเวลาในฤดูฝนก็สามารถทำได้โดย อาจจะทำระบบชลประทานที่ดี สามารถหมุนเวียนระบบน้ำมาใช้ในนาข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีเหมือนฤดูฝน โดยอาศัยตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่ดูสภาพกาลรอบๆ ตน ถ้านำวิธีการปลูกข้าวแบบภาวะวิสัยมาปฏิบัติอาจจะได้ผลผลิตข้าวเพียงฤดูเดียวคือฤดูฝน แต่ถ้านำวิธีการปลูกข้าวแบบอัตวิสัยมาปฏิบัติอาจจะได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพทั้งสามฤดูก็คงจะเป็นไปได้

คำสำคัญ (Tags): #ฆ.ระฆัง
หมายเลขบันทึก: 555855เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2013 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ธันวาคม 2013 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท