การเอาธงดำขึ้นยอดโดมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


มาคราวนี้อั้ม เนโกะ กำลังใส่ชุดเหมือนว่าจะเกาะอก ใส่กางเกงขาสั้น ในภาพกำลังเอาธงสีดำ ขึ้นไปแขวนแทนธงชาติ ด้วยสาเหตุที่อธิการบดี นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บอกให้หยุดการเรียนการสอนในมหาวิยาลัย ในการนี้อั้ม เนโกะอ้างว่า การปิดมหาวิทยาลัย เพราะนายสมคิด ไปฝักใฝ่กับม็อบของนายสุเทพ โดยไม่ถามความคิดเห็นของนักศึกษาธรรมศาสตร์ว่าทำอย่างนี้ถูกดีแล้วหรือ

นอกจากนี้ยังอ้างอีกว่า คำว่าชาติของนายสมคิดคืออะไร นายสมคิดจะ “รักชาติ รักชอบ บูชาธงชาติแต่เช้าเย็น แต่ความรักที่มันกลายมาเป็นความคลั่ง ไม่ว่าจะไล่ตีคนอื่นที่คิดต่างด้วยธงชาติแบบที่ม็อบนายสุเทพได้เคยกระทำ หรือการอ้างว่าฆ่าผู้อื่นที่คิดต่างด้วยการอ้างชาติ อย่างนี้คำว่า "ชาติ" ของเรามันจะมีความหมายอีกเช่นใดคะ” และเธอก็ได้ล่อนจ้อน “ความเป็นชาติ” ออกมาเสียหมดเปลือก ว่าธงชาติที่เรากราบไหว้อยู่นั้นเป็นเพียงแค่ผ้าผืนหนึ่งเท่านั้น ส่วนคุณค่าและความหมายของธงชาตินั้น เราใส่เข้าไปภายหลัง สุดท้ายเรากลับหลงในธงชาติ จนกลายเป็น “ความคลั่งชาติ” สุดท้ายทำให้เราลืมเสียซึ่ง “มนุษยชาติ” ไป

ต่อมาอั้ม เนโกะก็กล่าวว่าธงชาติไทยที่โบกสะบัดอยู่เหนือยอดโดมจะไม่มีความหมายใด ๆ เลย เพราะใส่ความหมายและคุณค่าของมันไปภายหลัง ในเมื่ออธิการบดีธรรมศาสตร์นั้นกลับนิยามคำว่า “ชาติของประชาชน” ไปให้สอดคล้องกับและมีจุดยืนกับม็อบอนาธิปไตยของนายสุเทพ  และปิดมหาวิทยาลัยทุกวิทยาเขตโดยไม่มีเหตุผลที่จำเป็นอย่างเช่นที่ รังสิต และลำปาง

อั้ม เนโกะ ยังกล่าววอีกว่านายสมคิด ต้องการให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จากที่เคยเป็นที่ดับกระหายให้ราษฎรประชาชน แต่เป็นที่ดับกระหายแก่ความพอใจในการแสดงอำนาจของตน อั้ม เนโกะจึงอยากจะเชิญธงดำนี้ที่จะเชิญขึ้นสู่ยอดโดมเพื่อไว้อาลัยแก่ความเป็นธรรมศาสตร์ที่สูญสิ้นไปแล้วด้วยน้ำมือของอธิการฯสมคิด ซึ่งการเชิญธงดำขึ้นสู่ยอดโดมนั้นเคยเกิดขึ้นในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เพื่อต่อต้านอำนาจไม่ชอบธรรมแม้ว่า อ.สัญญา ธรรมศักดิ์จะเสียใจต่อการกระทำในครั้งนั้น แต่นี้ก็ถือว่าเป็นการกระทำประท้วงเชิงสัญลักษณ์ทางการเมืองว่า กลุ่มนักศึกษาอิสระของพวกเราไม่เคยยอมจำนนต่ออำนาจเผด็จการ เหมือนที่อธิการบดีของเขากระทำ

อย่างไรก็ตามสุดท้ายอั้ม เนโกะก็มาถึงวาทกรรมเกี่ยวกับการแต่งกายจนได้ เพราะการแต่งกายที่วาบหวิวนั้น เป็นการคัดกรองระดับของผู้รับสารว่าจะอ่านในเนื้อหา การกระทำ เหตุผล มากกว่าสิ่งที่เป็นอาภรณ์จากภายนอกหรือไม่ วาทกรรมเรื่องการแต่งกายนั้นที่เรามองว่าผิดปกติ เพราะมันถูกทำให้ผิดปกติ จากที่เราเคยคาดหวัง ก็เหมือนกับที่เราเคารพ"ธงชาติ" เรากราบไหว้อย่างไม่ลืมหูลืมตา และหากใครไม่กราบไหว้ตามก็จะถูกมองว่าบ้า (ก็คล้ายๆกับความเป็นคู่ของนักโครงสร้างนิยม เช่น แต่งตัวดี เป็นผู้ดี แต่งตัววาบหวิว เป็นกะหรี่ อั้ม เนโกะยังวิพากษ์ต่ออีกว่า ทำไมคนที่แต่งตัวเหมือนกะหรี่จึงเป็นสิ่งที่ผิด เขาไม่ใช่คนหรือ)

สุดท้ายอั้ม เนโกะยังวิพากษ์อธิการบดี สมคิด ต่อว่า การที่เขาแต่งตัวไม่เรียบร้อยเหมือนกะหรี่ ยังดีกว่านายสมคิดที่เอามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปสนับสนุนอำนาจนอกระบบ

รวมทั้งสิ่งที่อั้มพยายามจะชี้ให้เห็นตลอดถึงการแหวกนิยามของการรับรู้แบบเดิมๆ ว่าทำไมคนแต่งตัวเหมือนกะหรี่จึงเป็นสิ่งที่ผิด ? เขาเลยไม่ใช่คน ? และทำไมหากเขาไม่ใช่กะหรี่แต่แต่งกายไม่ถูกใจ ถูกจริตคนไทยเขาจะกลายเป็นคนเลวเลยหรือ ? และนักศึกษาจำเป็นด้วยหรือที่ต้องแต่งกายให้ถูกใจ ถูกจริตสังคมไทย เพราะดิฉันใช้สมองมาเรียน ดิฉันจะแต่งกายอะไรมันไม่ได้ไปสร้างความเดือดร้อนให้ใครเหมือนที่นายสมคิด อธิการฯ ไปใช้ชื่อธรรมศาสตร์สนับสนุนอำนาจนอกระบบ ที่อำนาจนอกระบบนี้ยังขัดขวางความเป็นอุดมการณ์ประชาธิปไตยทั้งในธรรมศาสตร์และของประชาชน

คำวิจารณ์ของผม มีดังนี้ ผมเชื่อว่าคุณอั้ม เนโกะ ต้องการจะส่งสารถึงอธิการบดีสมคิดในเรื่องบางเรื่อง หรือต้องการที่จะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในลักษณะดื้อแพ่ง หรือการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ เพื่อต้องการที่จะรื้อสร้าง (deconstruction)นั้นอาจถูกในเชิงหลักการ การมองว่าคุณค่าและความหมายเราไปใส่ให้ธงชาติทีหลัง การเล่นความเป็นคู่ในเรื่องการแต่งกายว่าแต่งกายวาบหวิวเป็นกะหรี่ กะหรี่ก็มีความเป็นคนเหมือนกัน ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม การที่คุณอั้ม เนโกะตั้งใจจะใช้ธงดำ เหมือนกับว่าไม่เคารพธงชาตินั้น ผมอยากถามว่าธงดำมีความหมายว่าอะไรสำหรับคุณอั้ม ถ้าธงดำจะไม่มีความหมายเหมือนความเป็นชาติที่คุณอั้มพูดมา ก็แสดงว่าคุณอั้มให้ความหมายและคุณค่าแบบที่คุณอั้นนับถือใช่หรือไม่ แล้วมันต่างอะไรกับธงชาตินั้นด้วยเล่า  คุณอั้ม น่าจะนับถือ “ความปัจเจกชน” (individual) แต่ความเป็นปัจเจกชนจะมีความหมายอันใดเล่า ถ้าคุณอั้นต้องการที่จะ “รื้อสร้าง” ค่านิยมและความหมายที่ปัจเจกชนคนอื่นๆต่างยึดถือและมุ่งหมายกันอยู่ ถ้าคุณอั้มต้องการจะสื่อสารกับคนหมู่มาก คุณจะต้องวิเคราะห์ผู้รับสารให้ได้ว่าจะโน้มน้าวเขาได้อย่างไร เพื่อให้รับสารจากคุณได้ ไม่ใช่คุณแต่งวาบหวิว และจะให้คนชนชั้นกลางบางกลุ่มสนใจในตัวคุณ (สุดท้ายเขาก็จะมองคุณว่าเป็นกะหรี่ ไม่มีความเป็นคนเลยก็ได้---ผมเคยเขียนวิเคราะห์ในการแต่งกายของอั้ม เนโกะไว้แล้ว http://www.gotoknow.org/posts/548123) ในที่สุดความปัจเจกชนอย่างคุณก็คงเป็นได้แค่ความเป็นปัจเจกบุคคลที่ไม่เป็นจริง (Utopian individualism) เป็นปัจเจกแบบเหงาๆ พูดคุยแต่ในกลุ่มของตนเองเท่านั้น อนึ่งธงดำ ถ้าจะเปลี่ยนเป็นการใช้ธงดำ เป็นการใช้ธงชาติทุบตีคนอื่น (ตามข่าว) น่าจะเป็นการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ได้ดียิ่งกว่า

นอกจากนี้คุณอั้ม ยังได้พูดถึงอนาธิปไตยกับประชาธิปไตยไว้ด้วย ผมอยากจะขอให้อ่านความคิดของอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรสิริ ในเรื่องแนวคิดของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์เกี่ยวกับอนาธิปไตยและประชาธิปไตยไว้ว่า  "ระบอบประชาธิปไตยนั้น เราหมายถึงประชาธิปไตย อันมีระเบียบตามกฎหมายและศีลธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช่ประชาธิปไตยอันไม่มีระเบียบ หรือประชาธิปไตยที่ไร้ศีลธรรม เช่น การใช้สิทธิเสรีภาพอันมีแต่จะให้เกิดความปั่นป่วน ความไม่สงบเรียบร้อย ความเสื่อมศีลธรรม ระบอบชนิดนี้เรียกว่าอนาธิปไตย หาใช่ประชาธิปไตยไม่ ขอให้ระวัง อย่าปนประชาธิปไตยกับอนาธิปไตย" และ "การใช้สิทธิตามระบอบประชาธิปไตย ต้องทำโดยความบริสุทธิ์ใจ มุ่งหวังผลส่วนรวมจริงๆ ไม่ใช่มุ่งหวังส่วนตัว หรือมีความอิจฉาริษยากันเป็นมูลฐาน เนื่องมาจากความเห็นแก่ตัว (เอ็กโกอีสม์)" โดยสรุป อนาธิปไตย (anarchism) นิยามกันโดยทั่วไปว่ารัฐนั้นเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา ไม่จำเป็นและให้โทษ หรืออีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการคัดค้านผู้มีอำนาจและองค์การมีลำดับชั้นบังคับบัญชาในการชี้นำความสัมพันธ์ของมนุษย์ สนับสนุนสังคมที่ปราศจากรัฐโดยตั้งอยู่บนการรวมกลุ่มอย่างสมัครใจที่ไม่มีลำดับชั้น เสรีภาพ ความเสมอภาค และการทำให้รัฐไร้ระเบียบเป็นความมุ่งหวังของผู้นิยมอนาธิปไตยนี้

ดังนั้นอนาธิปไตยกับประชาธิปไตยเหมือนกับฝาแฝดกัน ถ้าเป็นอนาธิปไตยจะไม่ยึดถือในกฎหมายและศีลธรรม แต่ประชาธิปไตยต้องคำนึงถึงกฎหมายและศีลธรรมนี้ หากว่าคุณอั้ม เนโกะพยายามรื้อทุกสิ่งทุกอย่าง ให้เป็นไปตามลัทธิที่ตนเองเชื่อว่าเป็นประชาธิปไตย แต่จริงๆแล้วการรื้อทุกสิ่งทุกอย่าง จะเป็นไปตามาระบอบประชาธิปไตยจริงหรือ สุดท้ายแล้วเราก็อาจได้อนาธิปไตยรูปใหม่ไม่ต่างจากที่อธิการบดีสมคิดยึดถืออยู่ก็ได้ (สมมติว่าอธิการบดีสนับสนุนม็อบที่ใช้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญจริง)

หนังสืออ้างอิง

สาส์นจากอั้ม เนโกะ ถึงอธิการฯ สมคิด: ข้อสังเกตจากกิจกรรมเอาธงดำขึ้นสู้ยอดโดม. http://prachatai.com/journal/2013/12/50192

มติชนวิเคราะห์...การเมืองไร้กติกา นำพาสู่อนาธิปไตย...ระวังกาลียุค http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1377402304&grpid=01&catid=01

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 555581เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2013 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 09:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ไปเพ่งที่ภาระหน้าที่

ก็เพ่งไปที่ภาระหน้าที่ ของเนโกะ ภาระหน้าที่ของ อาจารย์สมคิด ภาระหน้าที่ของนายสุเทพ แล้วเอาโพรไฟล์ของทุกๆคนมาประกอบการพิจารณา ถึงประวัติศาสตร์การทำงาน จากนั้นก็วิเคราะห์ ไม่ต้องไปรีบร้อนกล่าวโทษ กล่าวพิพากษากัน แล้วก็ยิ้มเถิด ว่าหน้าที่ใครหน้าที่มัน ส่วนพ่อแม่ใครจะถูกตำหนินั้น สาธารณะพิจารณากันเองไง

เข้่าตำราได้คืบ จะเอาศอก ประมาณนั้น

ต้องขอออกความเห็น (ถ้าถึงคุณอั้ม) ว่า การส่งสารของคุณอั้มนั้น ไม่ผ่านตั้งแต่เริ่มต้นเลยค่ะ เพราะแค่เห็นการแต่งตัวก็แทบจะหมดความน่าเชื่อถือไปเลย ก่อนที่จะได้รับฟังความเห็น เธอหรือเขาน่าจะทำความเข้าใจกับสังคมให้ได้มากกว่านี้ก่อนจะพยายามออกมาชี้แนะสังคม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท