วีรวัฒน์
นาย วีรวัฒน์ วีรวัฒน์ เข้มแข็ง

การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านหัตถกรรมไม้แกะสลัก ของภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณวิเชียร ญาติจอมอินทร แห่งวิทยาลัยไม้แกะสลักบ้านถวาย


ความรู้ชัดแจ้งในภูมิปัญญา.docx

ความรู้ที่ฝังลึกในภูมิปัญญา.docx

สรุปผลการถอดบทเรียน

          ผู้ศึกษาได้ค้นพบองค์ความรู้ จากการได้พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สอบถามจากทั้งตัวของภูมิปัญญาท้องถิ่นเอง และจากผู้คนในชุมชนบ้านถวาย ได้เห็นถึงองค์ความรู้ที่ภูมิปัญญาได้สะสม การเสียสละตนเองในการที่จะอนุรักษ์องค์ความรู้ และการเห็นคุณค่าในการสืบสาน องค์ความรู้หัตถกรรมไม้แกะสลักของภูมิปัญญา สู่ผู้คนในชุมชนบ้านถวาย แบบรุ่นสู่รุ่น  องค์ความรู้ด้านหัตถกรรมไม้แกะสลักเป็นชุดความรู้ที่สามารถต่อยอด เพื่อสร้างสรรค์  อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสู่การสร้างรายได้แก่ตนเองและชุมชนในเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งถือว่าเป็นความพิเศษองค์ความรู้ด้านหัตถกรรมไม้แกะสลัก กว่าแห่งอื่นที่องค์ความรู้ ไม่สามารถต่อยอดทางเศรษฐกิจได้ ทำให้ไม่ค่อยได้รับความสนใจ ในการอนุรักษ์ สืบสานเท่าที่ควร ด้วยจุดนี้เองจึงนับว่าเป็นจุดแข็งขององค์ความรู้ด้านหัตถกรรมไม้แกะสลัก เป็นอย่างยิ่ง ในการเป็นองค์ความรู้ที่สามารถใช้ประกอบการเพื่อหาเลี้ยงชีพตนเอง และสร้างการยอมรับได้ ซึ่งเป็นจากการถ่ายทอดองค์ความรู้ และความเสียสละของภูมิปัญญาท้องถิ่น "พ่อหลวงวิเชียร ญาติจอมอินทร์" แห่งวิทยาลัยไม้แกะสลักบ้านถวาย

หมายเลขบันทึก: 555387เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2013 19:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2013 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

-สวัสดีครับ

-ไม่เคยไปบ้านถวาย

-หากมีโอกาสต้องแวะไปชมของสวย ๆจากฝีมือสล่าครับ

-ขอบคุณครับ

...เรื่องของไม้...เป็นเรื่องที่สำคัญมาก...ไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติของทุกคนรวมทั้งสัตว์ป่า ไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนบุคคล...ที่แคนาดาใครจะตัดต้นไม้ต้องขออนุญาต ...และต้องปลูกทดแทนต้นที่ตัดไป...ไม่ทราบว่าการนำไม้มาแกะสลัก ต้องมีการขออนุญาต หรือมีการปลูกขึ้นโดยเฉพาะเพื่อการแกะสลักหรือไม่ค่ะ...

เรียนคุณ เพชรน้ำหนึ่ง...ยินดีครับ ที่บ้านถวายมีงานไม้แกะสลักที่วิจิตรมากครับ..เป็นการแกะไม้แบบมีมิติลึกลงไปในตัวไม้ครับ เป็นงานที่สวยงามมากครับ

เรียน ดร.พจนา แย้มนัยนา ครับ... ในปัจจุบันนี้ ไม้ที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการแกะสลัก จะใช้ไม้มะม่วงเป็นส่วนใหญ่ครับ..เพราะเป็นไม้พาณิชย์ที่หาง่ายในจังหวัดใกล้เคียง โดยมีการตกแต่งสี และประดับกระจกที่สวยงาม ตามแบบเดิมที่เคยทำกันมาครับ..ส่วนไม้สักและไม้หายากอื่นๆนั้นส่วนมากจะเป็นไม้เก่าที่ได้จากบ้านเก่าที่มีการรื้อบ้านเดิมออก เพื่อสร้างใหม่ และไม้จากองค์กรอุตสาหกรรมป่าไม้ครับ..ซึ่งในปัจจุบันงานไม้แกะสลักบ้านถวาย ได้มีการนำไม้เหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ตั้งแต่ใบ ลำต้น จนถึงรากไม้ครับ หรือแม้แต่ขี้เลื่อยและเศษไม้ ก็มีการนำมาใช้ในงานหัตถกรรม เพื่อประดิษฐ์เป็นผลงานหัตถกรรมต่างๆ ที่สวยงาม อย่างคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท