นานาทัศนะ จากเวทีเพื่อผู้สูงวัย


โซ่ห่วงคุณธรรม คือ ความกตัญญู กตเวที

 

ในเวทีสาธารณะของ ม.มหิดล เมื่อวันจันทร์ที่ 16 ตค.49  ที่ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กทม. ดิฉันได้เรื่องมาเล่าให้ฟังเล็กน้อยละค่ะ

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็สืบเนื่องจากผู้สูงอายุของไทย นับวันก็จะมีจำนวนมากขึ้นละค่ะ ... น่าจะเป็นมุมมองที่ดี เพราะแสดงว่า คนไทยมีรู้จักดูแลสุขภาพได้ดีขึ้น จากเวทีเขาได้เล่าถึงสิ่งที่พบว่า ในคนสูงอายุที่แข็งแรง มีลักษณะก็คือ

  • ไม่อ้วน
  • อารมณ์ดี สงบ เย็น
  • ในคนไทย ชอบกินปลา และผักจิ้มน้ำพริกเป็นประจำ
  • ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่
  • อยู่ในชนบท

ในวันนั้น ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย ได้ให้ข้อคิดเห็นไว้ว่า "โซ่ห่วงคุณธรรม คือ ความกตัญญู กตเวที" และ ผู้สูงอายุ ก็คือ มรดกสังคม นั่นก็คือ

  1. ผู้สูงอายุถ้าทำงานได้ ก็ให้ทำ
  2. ผู้สูงอายุที่เรียนต่อได้ ก็ให้เรียน
  3. การออกกำลังกาย ควรมีที่ออกกำลังกายใกล้บ้าน และมีเพื่อนฝูงที่ร่วมออกกำลังกาย
  4. สร้างครอบครัวที่อบอุ่น 
  5. ผู้สูงอายุสามารถเป็นที่พึ่ง และเป็นที่เคารพบูชาแก่สังคม
  6. ผู้สูงอายุเป็นผู้เข้าวัด ปฏิบัติธรรม และ
  7. ให้ผู้สูงอายุมีโอกาสปลูกต้นไม้ ใกล้ธรรมชาติ

ในช่วงเวลาของการชวนคุย เรื่องของผู้สูงอายุ

  • อ.ปฏิญญา สต๊อกเกต ... ชื่นชมกิจกรรมในชุมชนของสังคมไทย ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ การสร้างรายได้ และผู้สูงอายุช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • รศ.ดร.วาสนา อิ่มเอม ... ได้มองในเรื่องผู้สูงอายุควรมีพื้นที่อยู่ร่วมกันมากขึ้น เช่น ในวัด กลุ่มเพื่อนคนคอเดียวกัน เช่น กินอาหารเช้าร่วมกัน Home visit, Day Care
  • พ.อ. นพ.พงศ์ศักดิ์ ตั้งคณา ... ให้คุณค่าผู้สูงอายุที่ประสบการณ์ และผู้สูงอายุเป็นตัวแบบ

คุณสมบัติ เมทะนี ... เป็นผู้สูงอายุที่แสดงให้เห็นซึ่งความเป็นตัวแบบที่ดี ด้วยข้อคิด "คุณค่า วัย 70 ปี"

  • บำรุงสมอง
  • รู้จักคิด รู้จักทำ
  • ร่างกายดี จิตใจก็ดี
  • การบริหารร่างกาย
  • รู้จักปลง
  • ทำสมาธิ / เจริญภาวนา
  • มองโลกในแง่ดี
  • พูดจาไพเราะ
  • ครอบครัวอบอุ่น

ศ.นพ.เสนอ อินทรสุขศรี ... ได้ให้ข้อคิดว่า ต้องรู้ ทุกข์-สุข

ทุกข์

  • ครอบครัว การงาน เศรษฐกิจ สังคม
  • ความเจ็บป่วย
  • จิตใจ อารมณ์ตัวเอง

สุข

  • รักษาตัวเองให้มีสุขภาพดี ทั้งกายและใจ
  • ภูมิใจ พอใจ ในตัวเอง สภาพของตัว งานของตัว ฐานะของตัว มีเวลาเข้าสังคม รู้จักมีอารมณ์ขัน
  • รู้จักตัวเอง รักตัว รักคนอื่น รักสังคม อย่าละทิ้งความรู้ความสามารถ ทำตัวให้มีค่า มีประโยชน์
  • มีเพื่อน รู้จักคบค้าสมาคมกับคนอื่นๆ

อ.นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ...  จุดประเด็นนโยบายสาธารณะ ที่การมองผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีค่า และควรเตรียมตัวก่อนวัยสูงอายุ โดยมองที่ 4 มิติสุขภาพ ได้แก่ กาย จิต สังคม จิตวิญญาณ

กลไกในสังคมต้องมาช่วยให้ ครอบครัว ชุมชน ปัจเจกมาช่วยกันทำในเรื่องของ

  • บริการ ... ที่ดี เป็นบริการทั้งด้านสังคม และสุขภาพ
  • คนดูแล ... ให้เป็นจริง
  • มีงานทำ ... เพื่อเพิ่มพูนคุณธรรมให้สังคม
  • การมีเงิน ... เพื่อการจัดระบบความเป็นธรรม และเพื่ออิสรภาพในการตัดสินใจ 

ประเด็นต่างๆ เหล่านี้ คงจะเปิดมุมมองเพื่อการร่วมสร้างสังคมให้กับผู้สูงอายุ ... อนาคตของเมืองไทยต่อไปละค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 55420เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2006 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถูกใจอีกแล้วค่ะ  ดีใจที่มีเวทีสาธารณะแบบนี้ ผลสรุปการสนทนานี้ก็ทำให้เห็นว่า ลักษณะนิสัยและวัฒนธรรมไทยนั้น "เอื้อ" ต่อ การร่วมสร้างสังคมที่ดีให้กับผู้สูงอายุจริงๆ สิ่งที่เรามีนั้นฝรั่งเค้าก็อิจฉา

วันนี้ขอมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์แคนาดาเช่นเคยค่ะ

จากแผนงานนโยบายการพัฒนาระบบสนับสนุน (comprehensive system of support) เพื่อผู้สูงอายุ นั้นเค้าวางแผนอย่างครอบคลุมโดยแบ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็น 6 หน่วยงาน คือ

  1. การศึกษา
  2. ที่อยู่อาศัย
  3. ระบบขนส่ง
  4. แรงงานและสังคม
  5. นิติและสังคม
  6. สาธารณสุข

ตัวอย่างกิจกรรมของแต่ละหนวยงานก็คล้ายๆกับที่เวทีสาารณะที่ ม. มหิดล เสนอค่ะ แต่ที่ต่างกันคือ เค้าจะแบ่งแผนงานย่อยไปอีกตามกลุ่มของผู้สูงอายุ 3 ประเภท คือ

  1. ผู้สูงอายุที่เดินได้ ไม่มี disabilities (ทั้งทางกายภาพ และ cognitive)
  2. ผู้สูงอายุที่มี disabilities
  3. ผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลตลอด 24 ชม. ไม่ว่าจะอยู่บ้าน โรงพยาบาล หรือ บ้านพักคนชรา (dependent seniors and seniors near the end of life)

ผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มก็ต้องการระบบสนุบสนุนที่ต่างกัน ไว้ว่างๆจะไปบันทึกที่blogตัวเองถึงรายละเอียดกิจกรรมที่เค้าวางแผนกันไว้นะคะ

วันนี้ขอตัวไปโรงเรียนก่อน  สวัสดีค่ะ

ปล. ไม่ชอบแปลคำว่า disability ว่า พิการ เลยค่ะ ไม่ทราบว่าคำแปลที่ถูกต้องของ cognitive disability คืออะไรค่ะ พี่หมอช่วยหน่อยค่ะ 

ขอบคุณค่ะที่นำข้อมูลมาแลกเปลี่ยน ส่วน cognitive disability นั้น จะลองนำข้อมูลนี้มาคุยกันกับทีม ขอความเห็นร่วมกันก่อนนะคะ ว่า เราน่าจะแปลว่าอะไรกันดี ... รอเรียนรู้เรื่องที่แคนาดาเดวยนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท