DNAมะเร็งหลากหลาย___คล้ายหลายคนในคนเดียว


.

BBC ตีพิมพ์เรื่อง "พบทำไม__ มะเร็งรักษายาก", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

ภาพที่ 1: ภาพจำลองเซลล์ในร่างกาย

  • สีแดงส้ม-แสด = เยื่อหุ้มเซลล์ (คล้ายเปลือกไข่)
  • สีเหลือง = ของเหลวชั้นนอก (คล้ายไข่ขาวของไข่)
  • สีเขียว = ของเหลวชั้นใน (คล้ายไข่แดง) = แกนกลาง / นิวเคลียส
  • แท่งกากบาทสีขาว (อยู่เป็นคู่ๆ) = DNA หรือรหัสพันธุกรรม

DNA มีลักษณะคล้ายบันไดเวียน, แต่ละขั้นบันได (2 สี) = รหัสพันธุกรรม 2 ชิ้นเชื่อมกัน

.

 

ภาพที่ 2: แสดง DNA หรือรหัสพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งที่พบว่า มีหลายชุด, ไม่ใช่ชุดเดียวแบบเซลล์ปกติ

  • สีเขียว = ชุด DNA ที่เหมือนกับเซลล์ปกติ
  • สีเหลือง แดง = ชุด DNA ที่ไม่เหมือนเซลล์ปกติ

.

ภาพที่ 3: แสดง 6 สาเหตุสำคัญ (ปัจจัยเสี่ยง) มะเร็งในผู้ชาย และผู้หญิงที่ป้องกันได้ในอังกฤษ (UK)

อังกฤษ (UK) มีประชากรใกล้เคียงกับไทย มีมะเร็งที่ป้องกันได้ = 158,700 ราย/ปี ในผู้ชาย, และ = 155,600 ราย/ปี ในผู้หญิง

.

ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งผู้ชายได้แก่

(1). บุหรี่ = 23%

(2). กินผักผลไม้น้อย (ผลไม้ทั้งผล ไม่ใช่น้ำผักผลไม้ กรองกากทิ้ง) = 6.1% 

(3). สารก่อมะเร็งจากการทำงาน = 4.9% 

(4). แอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) = 4.6%

(5). น้ำหนักเกิน - อ้วน = 4.1%

(6). แสงแดดจ้า - การอาบแดด - เตียงอาบแดด > เพิ่มเสี่ยงมะเร็งผิวหนัง = 3.5%

.

ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งผู้หญิงได้แก่

(1). บุหรี่ = 15.6%

(2). น้ำหนักเกิน - อ้วน = 6.9%

(3). โรคติดเชื้อ เช่น หูด HPV ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก = 3.7%

(4). แสงแดดจ้า - การอาบแดด - เตียงอาบแดด > เพิ่มเสี่ยงมะเร็งผิวหนัง = 3.6% 

(5). กินผักผลไม้น้อย (ผลไม้ทั้งผล ไม่ใช่น้ำผักผลไม้ กรองกากทิ้ง) = 3.4%

(6). แอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) = 3.3%

.

ภาพที่ 4: แสดงมะเร็งที่เกิดจากบุหรี่ สารก่อมะเร็งอันดับ 1 ในคนอเมริกันปี 2005/2548

(1). ปอด หลอดลม = 71%

(2). กล่องเสียง = 59%

(3). ทางเดินหายใจส่วนบน + ทางเดินอาหารส่วนบน = 39%

(4). กระเพาะปัสสาวะ = 27%

(5). ไต = 26%

(6). ตับอ่อน = 21%

(7). เม็ดเลือดขาว = 12%

(8). ตับ = 12%

(9). กระเพาะอาหาร = 11%

(10). ปากมดลูก = 3%

.

ทีมวิจัยจากสถาบันวิจัยมะเร็ง อังกฤษ (UK) ค้นพบว่า เซลล์มะเร็งไม่ได้มีรหัสพันธุกรรม หรือ "กรรมพันธุ์" ชุดเดียว (DNA)

คนปกติ (เกือบทุกคน) มีรหัสพันธุกรรม หรือ DNA ชุดเดียว

สัตว์จำนวนน้อยมากๆ อาจมี DNA มากกว่า 1 ชุดได้

คนจำนวนน้อยมากๆ (พบน้อยกว่าในสัตว์) มี DNA มากกว่า 1 ชุด เรียกว่า "ไคเมอรา (chimera)" หรือ "โมเซก (mosaic)" [ wikipedia ]

.

ผู้เชี่ยวชาญสาเหตุที่คนบางคนมี DNA มากกว่า 1 ชุด คือ

(1). เซลล์ตั้งต้น หรือสเต็มเซลล์ จากการปลูกถ่ายไขกระดูก หรือการเติมเลือด ปลูกถ่ายอวัยวะ

(2). การถ่ายเลือดให้กันในท้องแม่ของแฝดต่าง เกิดเมื่อระบบเลือดเกิดรั่ว หรือเชื่อมต่อถึงกัน

(3). แฝดต่างที่แฝดคนหนึ่งตายไป เหลืออวัยวะเกาะหนึบ หรือฝังเข้าไปภายในอีกคนหนึ่ง

(4). อสุจิ หรือสเปิร์มจากว่าที่คุณพ่อหลายคน ผสมเข้าไปในไข่ของว่าที่คุณแม่คนเดียวกัน

.

การศึกษาใหม่ ทำในกลุ่มตัวอย่างเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวจากคนไข้เด็ก 5 คน

ผลการศึกษาพบว่า มะเร็งในคนไข้เด็ก 1 คน จะมี DNA ประมาณ 2-10 ชุด (ปกติ 1 คนมี 1 ชุด)

การที่เซลล์มะเร็งแบ่งตัวเร็วด้วย กลายพันธุ์ (mutation) เร็วด้วย, ทำให้มะเร็งมีความหลากหลาย (diversity) สูง

การรักษาจึงทำได้ยาก คล้ายๆ กับมีพยาธิหลายสายพันธุ์สิงสู่อยู่ในตัวคน
.

เช่น ถ้าทำลายมะเร็งด้วยยาพิเศษ, เซลล์สายพันธุ์หนึ่ง (DNA ชุดหนึ่ง) อาจตอบสนองต่อยาดี ตายไป

แต่มะเร็งสายพันธุ์อื่นๆ (DNA ชุดอื่น อาจมี 1-9 ชุด/คน) ยังเหลืออยู่ และเติบโตต่อไปได้

การศึกษานี้บอกเป็นนัยว่า ป้องกันไว้ก่อนเป็นดีที่สุด

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

                                                                                             

Thank BBC & source by BBC > Genome Research > http://www.bbc.co.uk/news/health-24957089

                                                                                             

หมายเลขบันทึก: 554058เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2013 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2013 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท