สารตะกั่ว___พิษร้ายใกล้ตัวเรา


ไทยรัฐตีพิมพ์เรื่อง "แพทย์ชี้ชัดสารตะกั่วทำลายสมองเด็ก ไอคิวต่ำ!", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ภาพที่ 1: สารตะกั่วกับเด็ก

  • ลำไส้เด็กดูดซึมสารตะกั่ว = 70% ของที่กินเข้าไป
  • ลำไส้ผู้ใหญ่ดูดซึมสารตะกั่ว = 20% ของที่กินเข้าไป

อาการที่พบบ่อยในเด็ก

  • ขนาดต่ำ > อาการไม่ชัดเจน = โตช้า เรียนช้า เรียนไม่เก่ง
  • ขนาดสูง > ชัก ซึม เสียชีวิต

.

ภาพที่ 2: สารตะกั่วกับเด็ก [ health.state.mm ]

  • ลำไส้เด็กดูดซึมสูงสุด 70% = กินเข้าไป 100 ส่วน ดูดซึม 70 ส่วน - ออกมาทางอุจจาระ (อึ) 30 ส่วน
  • ลำไส้ผู้ใหญ่ดูดซึม 20% = กินเข้าไป 100 ส่วน ดูดซึม 20 ส่วน - ออกมาทางอุจจาระ (อึ) 80 ส่วน

ตัวเลขสัดส่วนการดูดซึม ส่วนใหญ่จะไม่เท่ากัน เป็นช่วงกว้างๆ มากกว่าค่าตายตัว ค่าเฉลี่ย คือ [ cdc ]; [ health.state.mm ]

  • เด็ก = 40-50%
  • ผู้ใหญ่ = 3-10%

ดูดซึมแล้วไปไหน

  • 95% จับกับกระดูก > ทำให้โตช้า ตัวไม่สูง
  • 5% ทำป่วน และทำร้ายร่างกายหลายระบบ

อาการที่พบบ่อย คือ

  • สมอง > อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย เรียนช้า เรียนไม่เก่ง ไอคิวต่ำ เบื่ออาหาร
  • เลือด > เลือดจาง
  • ทางเดินอาหาร > ปวดท้อง ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน
  • พัฒนาการ > น้ำหนักเพิ่มช้า-คงที่-หรือลด, ไม่สูงตามเกณฑ์

.

ภาพที่ 3: พิษสารตะกั่ว ทำร้ายหลายระบบ

(1). สมอง > ปวดหัว หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว นอนไม่หลับ ไอคิวต่ำ

(2). ทางเดินอาหาร > เบื่ออาหาร ท้องผูก ปวดท้อง

(3). เลือด > เลือดจาง ซีด เพลีย

(4). การได้ยิน > หูเสื่อม หูตึง

(5). พัฒนาการ > โตช้า

(6). ไต > ไตเสื่อม
.

ภาพที่ 4: สารตะกั่วทำให้มีอาการได้ทั่วตัว ส่วนใหญ่จะไม่จำเพาะ

(1). สมอง > ปวดหัว หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว นอนไม่หลับ

(2). ทางเดินอาหาร > ปวดท้อง เบื่ออาหาร ท้องผูก

(3). เลือด > ซีด เพลีย เลือดจาง

(4). พัฒนาการช้า > โตช้า เรียนช้า เรียนไม่เก่ง ไอคิวต่ำ

(5). หู > หูเสื่อม หูตึง

(6). ไต > ไตเสื่อม

อาการที่ชัดเจนจริงๆ ในระยะยาว คือ "ไอคิวต่ำ"

.

ประเทศไทยน่าจะมีปัญหาไอคิว (IQ = ระดับความฉลาด เชาว์ไวไหวพริบ) 2 เรื่องใหญ่ คือ

(1). เด็กไทยไอคิวต่ำ (low IQ)

จริงๆ แล้ว, ไอคิวอาจไม่ใช่ต่ำเฉพาะเด็ก เพียงแต่ยังไม่ได้ทำการวิจัยผู้ใหญ่

จึงยังไม่พบว่า ผู้ใหญ่ก็เสี่ยงไอคิวต่ำนี้เช่นกัน

.

(2). ความไม่เท่าเทียมกันทางไอคิว (IQ disparity)

ประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำต่ำสูง ไม่ว่าจะด้านใด เช่น รวยจนไม่เท่ากัน โอกาสเรียนต่อไม่เท่ากัน ฯลฯ

มักจะมีความขัดแย้งสูง เช่น สหรัฐฯ ฯลฯ จะสูงกว่ายุโรปตะวันตก

เพราะคนฉลาดมาก-ฉลาดน้อย มีพลังทางความคิด-ตัดสินใจ "ไม่เท่ากัน"

พูดกันไม่ค่อยรู้เรื่อง ทำให้การเมืองไม่นิ่ง เช่น สหรัฐฯ มากกว่ายุโรป ฯลฯ

.

ก่อนหน้านี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่า สาเหตุสำคัญน่าจะเป็นจาก...

(1). ขาดไอโอดีน ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ทั้งๆ ที่ไทยส่งออกปลาทะเลมากติด 1 ใน 10 ของโลก

(2). ขาดธาตุเหล็ก ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่

(3). โดนพิษสารตะกั่ว ตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะตู้น้ำกดโรงเรียน เชื่อมด้วยสารตะกั่ว หม้อก๋วยเตี๋ยว-น้ำซุป เชื่อมด้วยสารตะกั่ว

.

ทุกวันนี้เด็กไทยน่าจะได้รับสารตะกั่วน้อยลง

(1). หม้อก๋วยเตี๋ยว-ตู้น้ำกด > เชื่อมด้วยตะกั่วน้อยลง เชื่อมด้วยแก๊สมากขึ้น

(2). หลังเลิกสารออกเทนเบนซินที่มีสารตะกั่ว > ใช้น้ำมันไร้สารแทน

(3). หลังได้รับหมึกพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ลดลง > อ่านอะไรๆ ออนไลน์แทน

.

อ.นพ.สุวรรณ ศรีธรรมา อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบายว่า ทำไมสารตะกั่วถึงชอบทำร้ายเด็ก

(1). ลำไส้เด็กดูดซึมสารตะกั่วได้ 50% > ผู้ใหญ่ดูดซึมน้อยกว่า คือ 10-15%

(2). สารตะกั่วพบในสีทาบ้าน > เด็กเล็กคลานกับพื้น เพิ่มโอกาสสัมผัสสีทาบ้าน

(3). เด็กเล็กชอบหยิบของใส่ปาก > เพิ่มโอกาสได้รับสารตะกั่ว เช่น จากสีทาของเล่น ฯลฯ

.

ทีนี้จะป้องกันอย่างไร

(1). สีทาบ้าน > ใช้สีน้ำแทนสีน้ำมัน

(2). เลือกสีทาบ้านตะกั่วต่ำ > ไม่เกิน 90-100 ppm (1 part per million = 1 ส่วนในล้าน)

ข้อนี้หน่วยงานของรัฐน่าจะตรวจสอบ และประกาศให้คนทั่วไทยรู้ว่า ยี่ห้อไหนดี ผ่านเกณฑ์นี้

.

(3). ล้างมือด้วยสบู่ก่อนปรุงอาหาร ดื่มน้ำ กินข้าว สัมผัสใบหน้า

การถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ช่วยฆ่าเชื้อโรค แต่ไม่ลดสารตะกั่วที่ติดมากับมือ

.

(4). กินอาหารที่มีแร่ธาตุ โดยเฉพาะแคลเซียม-ธาตุเหล็ก เพื่อช่วยลดการดูดซึมสารตะกั่ว

เช่น ผักใบเขียว นมจืด ปลาตัวเล็กตัวน้อย งา เนื้อไม่ติดมัน ฯลฯ

งาดำมีแร่ธาตุมากกว่างาขาว และต้องทุบหรือเคี้ยว

ถ้าเปลือกไม่แตก เช่น คนสูงอายุกลืนไป ไม่เคี้ยว จะดูดซึมสารอาหารไม่ได้)

.

(5). ถูพื้นบ้านด้วยผ้าชุบน้ำเป็นประจำ เพื่อลดฝุ่นสารตะกั่วบนพื้น

(6). ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดของเล่น เครื่องใช้ในบ้าน เพื่อลดเศษสีตกค้าง

.

(7). รับแสงแดดอ่อนเช้า-เย็น เพื่อป้องกันโรคขาดวิตามิน D

.

การศึกษาที่ผ่านมา ทำในประเทศกลุ่มอาเซียน พบว่า เด็กไทยมีระดับวิตามิน D ต่ำ เนื่องจากออกแรง-ออกกำลังกลางแจ้งน้อย

วิตามิน D จำเป็นในการดูดซึมแคลเซียม

ภาวะขาดวิตามิน D ทำให้การดูดซึมแคลเซียมต่ำลง

เสี่ยงโรคกระดูกโปร่งบาง-กระดูกพรุน ในระยะยาว

.

ถ้าคนไทยช่วยกันป้องกันสารตะกั่ว...

คนไทยรุ่นต่อไปจะมีไอคิวสูงขึ้น และไอคิวใกล้เคียงกันมากขึ้น

ช่องว่างระหว่างคนไอคิวสูง กับไิอคิวต่ำจะลดลง

ทำให้คิด-ตัดสินใจ-สื่อสารกันได้ง่ายขึ้น

.

ทำให้การเมืองนิ่ง และแข่งขันกับนานาชาติได้ในระยะยาว

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีุสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

                                                                                                   

Thank CDC > http://www.cdc.gov/nceh/lead/

ขอขอบพระคุณไทยรัฐ > http://www.thairath.co.th/content/edu/383433

                                                                                                   

 

หมายเลขบันทึก: 553920เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2013 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2013 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท