ราชินีเครื่องเทศ


กล่าวกันว่า ราชินีเครื่องเทศ ต้องยกให้เกสรของดอก "หญ้าฝรั่น" (saffron แซฟฟรอน)

ภาษาฮินดี (ภาษาราชการ) เรียกว่า "เกสัร" "केसर" (Kesar)

แต่ภาษาท้องถิ่นในอินเดียก็เรียกมีตามภาษาฟาร์ซีหรือเปอร์เซีย และภาษาอาหรับ

คำว่า saffron (แซฟฟรอน) ในภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส กลายมาจากภาษาอาหรับ (Arabic) คำว่า za'faran แปลว่า "be yellow"

ในภาษาไทย เรียกดอกชนิดนี้ว่า "หญ้าฝรั่น" 

  • มาจากภาษาอาหรับ za’faran (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 น.1240)
  • มาจากภาษาอาหรับว่า jafran จึงควรเขียน "ย่าฝรั่น" แต่ที่เขียน "หญ้าฝรั่น" เป็นที่แพร่หลายมากกว่า (พจนานุกรม ฉบับมติชน 2547 น.900)

 

ด้านเศรษฐกิจ

หญ้าฝรั่นเป็นพืชเครื่องเทศ มีสรรพคุณทางยามากมาย ใช้เป็นสีผสมอาหาร ย้อมผ้า บำรุงผิว 

ประเทศผู้ปลูกและส่งออกหญ้าฝรั่นอันดับหนึ่งของโลกคือ อิหร่าน ส่งออก 300 ตัน ต่อปี ครองตลาดถึง 92% มูลค่า 51 ล้าน USD รองลงมาคือ สเปนกับอินเดีย ทั้งนี้ มีประเทศที่ปลูก 18 ประเทศ (YES Bank, 2012) 

เฉพาะที่อินเดีย ไร่ดอกเกสัรหรือหญ้าฝรั่นอยู่ที่เมืองกัศมีร์ (คนไทยเรียกแคชเมียร์) ผลิตได้ปีละ 8-10 ตัน แม้ว่าจะผลิตได้น้อยกว่าอิหร่านหลายเท่า แต่ชื่อเสียงของหญ้าฝรั่นเมืองกัศมีร์กลับติดอันดับโลก โดยได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูก 1 ใน 4 ที่มีชื่อเสียงระดับโลก (อิหร่าน อินเดีย สเปน จีน) ทั้งนี้ อินเดียไม่ได้ส่งออกมาก เพราะรองรับตลาดภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่

เมืองกัศมีร์เป็นแหล่งเก่าแก่ นำพันธุ์เข้าไปปลูกตั้งแต่สมัยเปอร์เซียเผยแพร่อิทธิพลเข้าไปในอนุทวีปอินเดีย (ก่อนพุทธกาล)

 

ในแผนที่คือ Pulwana เป็นแหล่งปลูกหลักของอินเดีย

ส่วนเมืองหลวงของรัฐ คือ Srinagar (ศรีนคัร)

(แผนที่ BBC)

เมืองกัศมีร์ อยู่ในรัฐจัมมูและกัศมีร์ สาธารณรัฐอินเดีย หรือทางภาคเหนือ เป็นแหล่งผลิตรายใหญ่ที่สุดของอินเดีย 78.91% ส่วนรัฐอื่นๆในภาคเหนือก็มีปลูกบ้าง 

ดอกเป็นสีม่วง ส่วนเกสรเป็นสีแดง-ส้ม-เหลือง

ปริมาณ 120,000 - 150,000 ดอก นำไปทำเป็นเครื่องเทศ (เกสรแห้ง) ได้ 1 กก. (2.2 lbs.) และเก็บดอกด้วยมือตามวิธีโบราณ

 

เกสรดอกหญ้าฝรั่นแห้งเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงมาก ในอินเดีย มีราคาสูงสุด กิโลกรัมละ 400,000 รูปี หรือ 7,000 USD 

หญ้าฝรั่นในอินเดีย มี 4 ชนิด คือ Mongra, Laccha, Patti, Zarda ให้สีแตกต่างกัน คือ แดงส้ม ส้ม เหลืองส้ม และเกรดของเกสรแห่ง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปใช้ทำอะไร

ประเทศที่นำเข้าหญ้าฝรั่นจากอินเดีย คือ อเมริกา อังกฤษ เยอรมัน

 
ลองดูตัวอย่างสินค้าที่ขายอยู่ใน   

 

รัฐบาลกลางของอินเดียให้ความสำคัญกับพืชเศรษฐกิจนี้มาก แม้ว่ามูลค่าการส่งออกจะไม่มากเท่ากับพืชชนิดอื่นๆ โดยได้ตั้งหน่วยงาน คือ National Saffron Mission (NMS) เพื่อส่งเสริม ดูแลการปลูก การผลิต โดยเฉพาะที่เมืองกัศมีร์ ตั้งแต่ ค.ศ.2010 ทั้งนี้ เนื่องจากชาวไร่ปลูกหญ้าฝรั่นลดลงอย่างมาก
สำหรับไร่ดอกหญ้าฝรั่นของเมืองกัศมีร์ ถือได้ว่าเป็นทั้งพืชเศรษฐกิจและเป็นวิถีชีวิตของชาวกัศมีรี มีเกษตรกรมากกว่า 17,000 ครัวเรือนที่ทำอาชีพนี้ แต่มีถึง 9,000 ครัวเรือนที่ยังคงปลูกและเก็บด้วยวิธีการดั้งเดิม เพื่อให้ได้เกสรที่บริสุทธ์ส่งตลาด (FAO, 2011)

  

ด้านคุณค่าและการนำไปใช้ประโยชน์

ในอินเดีย เกสรดอกหญ้าฝรั่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ผสมในชา สีผสมอาหาร สีย้อมผ้า ยาบำรุงผิว เป็นต้น 

จุดเด่นของเกสรดอกหญ้าฝรั่นเมืองกัศมีร์ คือ ให้สีเข้มเป็นส้มแดง สีติดทนนาน (ขณะที่ของสเปนจะให้สีเหลือง มีกลิ่นมากกว่า)

เพราะมีคุณสมบัติทางยามากมาย เช่น มีสารต้านมะเร็ง ลดไขมันในเลือด ช่วยเรื่องความจำ เป็นต้น

 

 

หญ้าฝรั่นผสมในชา (และเครื่องเทศอื่นๆ)

ชาแบบโบราณของเมืองกัศมีร์ เรียกว่า Kehwa/Kahwa

ลองดูส่วนผสมและวิธีการทำ Taste & Flavours.com

 

สร้างกลิ่นสร้างสีในอาหารและเพิ่มคุณค่า คือ saffron rice ซึ่งจะผัดในข้าว ผสมหรือหมก เช่น ข้าวหมกไก่ 

 

สร้างกลิ่นสร้างสีในขนมหวาน

Saffron Paneer (Paneer (ปนีส) คือ ชีสสด)

 

ลองดูส่วนผสมและวิธีการทำ (Eng) 

 

  ในอินเดีย โดยเฉพาะเมืองกัศมีร์ จะนำมาบรจจุขาย ราคาแตกต่างกันไปตามพันธุ์และคุณภาพ 
  สบู่แบบอายุรเวท ตัวอย่างนี้เป็นประกอบด้วย น้ำนม เกสรหญ้าฝรั่น และอัลมอนด์ (ตามภาพ)

 

นำมาย้อมผ้า สีของชุดนักบวชส่วนใหญ่่เป็นสีส้มและเหลือง

 

ข้อมูลส่วนหนึ่งมาจาก  
 

 

หมายเหตุ : ภาพทั้งหมดได้นำมาจากเว็บไซต์ต่างๆ

 

หมายเลขบันทึก: 552592เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2013 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2013 11:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

-สวัสดีครับ

-ขอบคุณสำหรับ"ราชินีเครื่องเทศ"ครับ

-หญ้าฟรั่น....สมุนไพรในต่างแดน...

-ขอบคุณครับ...

...เขาส่งเสริมจริงจัง...มีการพัฒนาพันธุ์ และรักษาคุณภาพนะคะ

อินเดียจัดระบบการผลิตและจำหน่ายเครื่องเทศได้ดีมาก ใช้ระบบ ISO เข้าไปควบคุมคุณภาพ

อนุชา เกียรติธารัย

https://www.facebook.com/Saffron-จำหน่ายเกสรหญ้าฝร...

ขออนุญาตแนะนำช่องทางสอบถามและสั่งซื้อหญ้าฝรั่นเกรด A นำเข้าจากแหล่งปลูกในประเทศอิหร่านครับ
สรรพคุณมากมาย โดยเฉพาะช่วยให้อารมณ์สดใส ช่วยให้หลับสบาย ตื่นอย่างสดชื่น เหมาะอย่างยิ่งสำหรับชีวิตในเมืองที่มีเรื่องเครียดมากมาย ส่งผลให้นอนไม่หลับ



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท