ทฤษฎีการเรียนรู้ทางด้านจิตวิทยา


ทฤษฎีการเรียนรู้ทางด้านจิตวิทยา

    ทฤษฎีการเรียนรู้ทางด้านจิตวิทยามี 3 กลุ่มคือ
1. กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ
          1.1 อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 1849–1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือ  แบบสิ่งเร้า
ขั้นตอนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นดังนี้
          - ก่อนการวางเงื่อนไข   UCS (อาหาร) UCR (น้ำลายไหล)  สิ่งเร้าที่เป็นกลาง   (เสียงกระดิ่ง) น้ำลายไม่ไหล
          - ขณะวางเงื่อนไข   CS (เสียงกระดิ่ง) + UCS (อาหาร) UCR (น้ำลายไหล)

          - หลังการวางเงื่อนไข  CS (เสียงกระดิ่ง) CR (น้ำลายไหล)

1.2 จอห์น บี วัตสัน (John B Watson คศ.1878 – 1958)  ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคที่เกิดขึ้นกับมนุษย์

1.3 เบอร์รัส สกินเนอร์ (Burrhus Skinner) ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory) 
           สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ คือ การเสริมแรง หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ  พฤติกรรมการนำหลักการมาประยุกต์ใช้
        - การเสริมแรง และ การลงโทษ
        - การปรับพฤติกรรม และ การแต่งพฤติกรรม
        - การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป
1.4 เพียเจท์ (Jean Piaget) การจัดการเรียนรู้ที่ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลและนักเรียนเป็นผู้รับข้อมูล ครูยิ่งให้ข้อมูลมากเท่าไร นักเรียนก็ยิ่งรับข้อมูลได้มากเท่านั้น
1.5 กาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น 
        - การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้ 
        - การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ 
        - การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว 
        - ความสามารถในการจำ (Retention Phase) 
        - ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase ) 
        - การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase) 
        - การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase) 
        - การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง 
6 ธอร์นไดค์ ทฤษฎีการเชื่อมโยง
Edward L. Thorndike (1874 - 1949) นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ผู้ได้ชื่อว่าเป็น"บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา" เขาเชื่อว่า "คนเราจะเลือกทำในสิ่งก่อให้เกิดความพึงพอใจและจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ไม่พึงพอใจ" จากการทดลองกับแมวเขาสรุปหลักการเรียนรู้ได้ว่า เมื่อเผชิญกับปัญหาสิ่งมีชีวิตจะเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก (Trial and Error) นอกจากนี้เขายังให้ความสำคัญกับการเสริมแรงว่าเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
     2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ
   2.1 เดวิค พี ออซุเบล ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
   2.2 Gestalt Psychologist ทฤษฎีการใช้ความเข้าใจ (CognitiveTheory)
   2.3 โคท์เลอร์ (Kohler, 1925) การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ (Insight Learning)
   2.4 Jero Brooner ทฤษฏีการเรียนรู้แบบค้นพบ 
   2.5 Piaget ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา 

  3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ
   3.1 ศาสตราจารย์บันดูรา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford) ประเทศสหรัฐอเมริกา การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ (Observational Learning หรือ Modeling)
   3.2 Anthony Grasha กับ Sheryl Riechmann ทฤษฎีการสังเกตจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูผู้สอน และสังเกตจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับเพื่อนร่วมห้อง 
   3.3 เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม
ทฤษฎีสนามของเลวิน (Lewin's Field Theory) 
Kurt Lewin นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน (1890 - 1947) มีแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้เช่นเดียวกับกลุ่มเกสตัลท์ ที่ว่าการเรียนรู้ เกิดขึ้นจากการจัดกระบวนการรับรู้ และกระบวนการคิดเพื่อการแก้ไขปัญหาแต่เขาได้นำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาร่วมอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ เขาเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์แสดงออกมาอย่างมีพลังและทิศทาง (Field of Force) สิ่งที่อยู่ในความสนใจและต้องการจะมีพลังเป็นบวก ซึ่งเขาเรียกว่า Life space สิ่งใดที่อยู่นอกเหนือความสนใจจะมีพลังเป็นลบ

 

หมายเลขบันทึก: 552535เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2013 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2013 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากอ่านการนำทฤษฎีไปใช้มากกว่านะคะ...

ขอบคุณกับจิตวิทยา เรียนมาบ้าง พยายามนำมาใช้ แต่อาศัยการปรับตามสถานการณ์ของเด็กด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท