การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการโดยไม่ใช้เงินสดในแคลิฟอร์เนียยุคเศรษฐกิจตกต่ำช่วงปี ค.ศ. 1930s


เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์มักเกิดซ้ำเสมอ การเรียนรู้ความเป็นไปในประวัติศาสตร์จึงเป็นประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ของสังคมไหนก็ตาม ใครจะไปรู้ว่า เหตุการณ์อะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตอีก (ในอเมริกา ยุโรป ฯลฯ fiat money จะล่มเมื่อไร) และคงกระเทือนมาถึงบ้านเรา

มีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นเรื่องของ คนตกงานที่หันหน้าเข้ามาร่วมมือกันสร้างประชาคมขึ้นมา จากสถานการณ์ที่ถูกบังคับ ในสหรัฐ สมัยที่เกิด เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) ตรงกับสมัย ร. ๗ ในไทย

สมัยนั้นคนตกงานจำนวนมากสูญเสียบ้านและฟาร์มของตนไปด้วย ไม่มีทรัพย์สินมีค่าเหลือ กลายเป็นครอบครัวเร่ร่อน ในท้องที่อาจมีฟาร์มเหลืออยู่บ้างที่มีผลผลิตออกมา แต่ชาวไร่ที่โชคดีเหล่านั้นก็ไม่มีเงินสดไปจ้างคนตกงานมาเก็บเกี่ยว ต้องปล่อยผลผลิตเน่าเสียไปเปล่าๆ และยังมีคนจำนวนหนึ่งที่ยังคงมีบ้านเรือนอยู่อาศัยแต่สภาพแย่ลง เครื่องมือเสีย รถยนต์เสีย ต้องการช่างซ่อมแต่ก็ไม่มีเงินจ้างใคร แล้วเขาทำอย่างไร ? จะเล่าย่อๆ

ที่ใกล้เมือง Oakland สมัยนั้นคนตกงานที่ฉลาด มีความรู้ และทักษะ กลุ่มหนึ่ง ซึ่งพักอาศัยอยู่ในท่อน้ำขนาดใหญ่ที่เทศบาลไม่มีเงินฝังดิน เข้ามานั่งคุยกันว่าจะทำอย่างไรดี จึงเกิดขบวนการที่เรียกว่า UXA ขึ้นมา (Unemployed Exchange Association) ในแคลิฟอเนียร์ เพื่อทำ bartering

แรกที่เดียว พวกเขาหลายสิบคนรวมกลุ่มกัน ใช้ทักษะแต่ละคนซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ รถ หรือ บ้าน หรือใช้แรงงานของเขา แลกเปลี่ยนกับของเก่าในบ้านที่คนพร้อมสละให้ เอากลับมาและมาซ่อมที่กลุ่ม คนพวกนี้ประชุมกันประมาณสัปดาห์ละ ๔ คืน นั่งคุยกันแบบโต๊ะกลม ผลัดกันออกความเห็น ทีละคนๆ เพื่อหาทางเลือกในการตัดสินใจ นับเป็นประชาคมประชาธิปไตยแบบดั้งเดิม ใครที่ทำงานมาจะได้แต้มขึ้นกับจำนวนชั่วโมงที่เขาทำ (อาจมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อย) ไม่มีการใช้เงินสด แต่ลงสมุดไว้ คนที่ทำงานสามารถใช้แต้มที่ลงทะเบียนไว้นี้กับกลุ่มในการมาเบิกของที่กลุ่มซ่อมแล้วเอาไปใช้ได้ ในที่สุดกล่มนี้ขยายขึ้นมาก มีสมาชิกเป็นพันคน และต่อมาก็มีประชาคมแบบนี้เกิดขึ้นอีกมาก

Carl Rhodehamel กล่าวว่า "พวกเราไม่ได้ถอยกลับไปแลกเปลี่ยน(สินค้าและแรงงาน)กัน(โดยตรงแบบสังคมโบราณ) ทว่าเรากำลังก้าวไปข้างหน้าสู่การแลกแปลี่ยน. พวกเรากำลังคลำทางไปเรื่อยๆ, พัฒนา ศาสตร์ของพวกเราขึ้นมา"

รายละเอียดต้องไปอ่านบทความภาษาอังกฤษ

http://www.countercurrents.org/curl030510.htm

ผมอดไม่ได้ นึกถึง เบี้ยกุดชุม ของไทยเรา ก็คล้ายๆ กัน

 

หมายเลขบันทึก: 552263เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2013 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2013 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...โลกอาจย้อนกลับไปสู่การแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยสินค้านะคะ...ขอบคุณค่ะอาจารย์

คิดเหมือนอาจารย์ครับ

แต่ว่าตอนนี้เรามีเทคโนโลยี ถ้ายังมีไฟฟ้าและเน็ตเวอร์คใช้ อะไรต่ออะไรก็จะง่ายกว่าเดิม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท