PLC_CADL_017 : เมื่อ KM ยังถูกเรียกว่า KM ตอนที่ 1 (สำนักพิมพ์ มมส.)


วันที่ 28 ตุลาคม 2556 ทีม CADL จัด "KM" บุคลากรสำนักพิมพ์ มมส. (MSUP) เราสังเกตพบอย่างหนึ่งว่าตอนนี้ ทุกคนในสำนักศึกษาทั่วไปยังมีคำถามว่า "ทำไมต้องมาทำ KM" งานที่ทำในก็ "เต็มมือเต็มเวลา" ทุกคนยังเรียก "KM" ว่า "KM"...  ไมแปลกที่ทุกคนแยก "KM" ออกมาเป็นงานเพิ่มแบบนี้ เพราะแม้แต่เกณฑ์ประกันฯ หรือกรรมการตรวจประกันฯ ก็แตกต่างตามตัวตนของแต่ละคนที่มาประเมินเลย....

ผมไม่ได้ร่วมเวทีนี้ด้วยเพราะติดภารกิจประชุมโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน วันถัดมาตอนเช้าเราทำ AAR สะท้อนผลจากการฟังคน MSUP และช่วยกันมอง "ระบบ" "ปัญหา" และ "ปัญญาปฏิบัติ" สรุปได้เป็นปลาตัวนี้ครับ (วาดภาพนี้โดยคุณ Arizz..)


สิ่งที่เราอภิปรายก่อนจะได้ภาพนี้ มีดังนี้ครับ

  • เป้าหมาย 3 ประการ ที่ผู้บริหารกำหนดแน่แต่ยังไม่ชัดในใจบุคลากรคือ
    • อยากทำชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย ด้วยการสร้างสื่อผลิตหนังสือตำรา ที่เป็น "ปัญญาปฏิบัติ" ของคณาจารย์มหาวิทยาลัย หรือเรียกว่า "งานลิขสิทธ์"
    • สำนักพิมพ์สามารถสร้าง "กำไร" และ "อยู่ได้" ด้วยตนเองได้ จากการรับงานผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ต่างๆ จากภายนอกหน่วยงาน
    • งานบริการผลิตเอกสาร หนังสือ ตำรา บทความ หรือรวมถึงการออกแบบแผ่นป้ายโฆษณา ต่างๆ ของสำนักศึกษาทั่วไป 
  • ส่วนสำนักพิมพ์รู้สึกว่า ยังไม่ได้โชว์ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ต่างจากส่วนโรงพิมพ์ที่รู้สึกว่ามีงานมาไม่ขาด...
  • อีกปัญหาคือระบบการรับงาน ติดตามงาน ที่ตอนนี้ใช้วิธี "Manual" ด้วยคนๆ เดียว หากพัฒนาเสริมด้วยระบบออนไลน์ 
  • งานที่มีตอนนี้คือ ข้อสอบ ไอเอส ตำราเรียน และรับจ้างทั่วไป ....


เย็นวันหนึ่งในเดือน มิถุนายน 2556 ผมเข้าไปคุยกับแกนนำหลายคนของ "ช่างศิลป์" ในสำนักพิมพ์ ผมได้เรียนรู้ระบบทำงานของ MSUP เลยขอคัดลอก "ปลาจาระเม็ด"   ของคุณ "อริส" มาทำผัง ดังนี้ครับ


ระบบการทำงานดูง่าย ไม่ซับซ้อน แบ่งเป็น 3 ตอน ก่อนจะส่งเข้าโรงพิมพ์ ดังนี้ครับ

  • งานพิสูจน์อักษร มีบุคลากร 2 คน สมรรถนะในการรับงาน ประมาณ 2 เรื่องต่อเวลา 2 อาทิตย์ คนหนึ่งจะใช้เวลา 1 อาทิตย์ในการพิสูจน์ครั้งแรก และ 3 วัน และ 2 วันสำหรับการตรวจทานรอบที่ 2 และ 3 ตามลำดับ 
  • งานออกแบบ มีบุคลากร 6 คน มีศักยภาพตั้งแต่รับออกแบบกราฟฟิก รูปลักษณ์ ถึงการสร้างสรรค์ หรือเขียนงานด้วยตนเอง สมรรถนะในการผลิตอยู่ที่ อาทิตย์ละ 3 ชิ้นงาน
  • ลูกค้าในที่นี้ส่วนใหญ่คืออาจารย์ในมหาวิทยาลัย ที่เป็นเจ้าของผลงาน ซึ่งต้องตรวจทาน อนุมัติผ่านแต่ละขั้นตอนด้วยตนเอง 

ขอบันทึกไว้ให้เข้ามาแลกเปลี่ยนครับ

หมายเลขบันทึก: 552105เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2013 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ตุลาคม 2013 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท