คลี่การเมืองเศรษฐกิจสังคมทุนนิยม ตอนที่ 6 ประชานิยม (เมื่อ 2000 ปีที่แล้ว และปัจจุบันของต่างประเทศ)


ประชานิยมมีมานาน เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็นำมาใช้กันอีกในต่างประเทศ

ในประเทศไทยเรามีทั้งทุนนิยม และประชานิยม

 

ท่านผู้รู้กล่าวถึง ประชานิยม ไว้ใน http://goo.gl/s6JlyS ว่า

 Populism มาจากรากภาษาละติน Populus ซึ่งแปลว่า “ชาติ” หรือ “ประชาชน” เมื่อนำมาใช้ในบริบทของการบริหารบ้านเมือง คำนี้มีความหมายว่า การบริหารโดยรัฐบาลที่ประชาชนคนธรรมดามีส่วนร่วม แนวคิดนี้อยู่คนละขั้วกับแนวคิดจำพวกที่เชื่อในการบริหารโดยรัฐบาลที่ประกอบด้วยชนชั้นสูง หรือชั้นอำมาตย์กลุ่มเล็กๆ เพียงกลุ่มเดียว ซึ่งใช้กันโดยทั่วไปในสมัยโบราณ การใช้หลักประชานิยมอย่างเป็นรูปธรรมเกิดขึ้นตั้งแต่ในสมัยโรมันซึ่งรุ่งเรืองเมื่อ 2,000 ปีที่ผ่านมา ตอนนั้นนักการเมืองโรมันบางคนสามารถจูงใจให้รัฐบาลขอประชามติจากประชาชนโดยตรงได้ในบางเรื่อง แทนที่จะขอจากวุฒิสภาซึ่งมาจากชนชั้นอำมาตย์เพียงกลุ่มเดียว

ผลจากการประชานิยมในต่างประเทศ

ท่านผู้รู้ดังกล่าวข้างต้น อธิบายต่อไปว่า  ต้นตำรับของความหัวใสได้แก่ชาวอาร์เจนตินาชื่อ ฮิโปลิโต อิริโกเยน เขาสามารถโค่นอำนาจของเศรษฐีที่ดินได้โดยการให้คำมั่นสัญญาว่าจะเอื้อประโยชน์ให้แก่ประชาชนที่ไม่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง หลังจากได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเมื่อปี 2459 เขาก็เริ่มใช้มาตรการจำพวกให้ของเปล่าที่เขาสัญญาไว้ ยังผลให้เขาได้รับความนิยมสูงมาก  หลายประเทศเริ่มใช้หลักประชานิยมในเวลาต่อมา ไม่ว่าจะเป็นบราซิล เปรู เม็กซิโก โบลิเวีย เวเนซุเอลา เอกวาดอร์ ชิลี กัวเตมาลา นิคารากัว โคลอมเบีย หรือเอลซัลวาดอร์ ประเทศเหล่านั้นใช้ประชานิยมในรูปแบบต่างๆ กัน และปรับเปลี่ยนไปตามสภาพของสังคมโดยปราศจากอุดมการณ์ทางการเมืองที่แน่นอนแม้การปฏิบัติส่วนใหญ่จะเอียงไปทางสังคมนิยมก็ตาม
นอกจากนั้น แม้จะมีการเลือกตั้งสลับกับเผด็จการทหารในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา แต่ประเทศละตินอเมริกามักมีลักษณะหนึ่งร่วมกัน นั่นคือ ผู้นำมักมีความฉ้อฉล ยังผลให้การพัฒนาเชื่องช้าไม่ว่าจะใช้ประชานิยมแบบไหน
 ในบรรดาประเทศละตินอเมริกาที่ใช้หลักประชานิยม อาร์เจนตินาและเวเนซุเอลามีความโดดเด่นเป็นพิเศษเนื่องจากทั้งสองประเทศเป็นตัวอย่างในทางเลวร้ายได้อย่างแจ้งชัดที่สุด นั่นคือ อาร์เจนตินาเคยพัฒนาไปไกลจนมีรายได้ในระดับเดียวกับฝรั่งเศสและเยอรมนี แต่หลังจากการใช้ประชานิยมวิวัฒน์ไปเป็นจำพวกให้ของเปล่าอย่างเข้มข้นแก่ประชาชนโดยหวังผลทางการเมืองจนเกินความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม ประชานิยมก็นำไปสู่ความล้มละลายและการพัฒนากลายเป็นแบบล้มลุกคลุกคลาน ยังผลให้อาร์เจนตินาล้าหลังฝรั่งเศสและเยอรมนีแทบไม่เห็นฝุ่น

ส่วนเวเนซุเอลา มีน้ำมันจำนวนมหาศาลถึงกับเคยส่งออกน้ำมันมากที่สุดในโลก แต่การหว่านรายได้จากการขายน้ำมันให้หมดไปกับนโยบายประชานิยมแบบแจกของเปล่าทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมแก่ประชาชนเพราะหวังผลทางการเมืองทำให้เวเนซุเอลาพัฒนาแบบล้มลุกคลุกคลานและล้มละลายหลายครั้ง แม้กระทั่งในตอนนี้ ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ ก็ดูจะยังไม่ได้บทเรียน เพราะยังพยายามมุ่งหาความนิยมด้วยการหว่านเงินเช่นเดียวกับแนวที่เคยใช้จนทำให้ประเทศล้มละลายมาก่อน


 

หมายเลขบันทึก: 552052เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2013 07:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2013 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

วีกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  http://goo.gl/sI1bK5 ให้ความหมายของคำว่าประชานิยมว่า

 

ประชานิยม (อังกฤษpopulism) นิยามว่าเป็นอุดมการณ์[1][2][3][4] หรือที่พบได้น้อยกว่าว่าเป็น ปรัชญการเมือง[5][6][7] หรือเป็นวาทกรรมประเภทหนึ่ง[3][6] นั่นคือ แนวคิดทางสังคมการเมืองซึ่งเปรียบ "ประชาชน" กับ "อภิชน" และกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงระบบสังคมและการเมือง นอกจากนี้ ประชานิยมยังสามารถนิยามได้ว่าเป็นรูปแบบวาทศิลป์ซึ่งสมาชิกความเคลื่อนไหวภาคการเมืองหรือสังคมหลายคนใช้ พจนานุกรมเคมบริดจ์นิยามว่าเป็น "แนวคิดและกิจกรรมทางการเมืองอันมีเจตนาเพื่อเป็นตัวแทนของความต้องการและความปรารถนาทั่วไปของประชาชน"[8] ประชานิยมสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นวาทกรรมการเมืองซึ่งดึงดูดใจประชากรส่วนใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของชนชั้นและการถือพวกทางการเมือง ประชานิยมนั้นตรงกันข้ามกับรัฐนิยม ซึ่งถือว่านักการเมืองอาชีพเพียงจำนวนหนึ่งมีความรู้ดีกว่าประชาชนและการตัดสินใจของรัฐในนามของพวกนั้น อย่างไรก็ตาม มีการอธิบายว่าผู้นิยมประชานิยมนั้นค้ำจุนรัฐบาลอำนาจนิยม อันเกิดจากกระบวนการปลุกระดมทางการเมืองซึ่งผู้นำจะปราศรัยแก่มวลชนโดยปราศจากการประนีประนอมของพรรคหรือสถาบันใด ๆ[9]

 

การทำให้ประชาชนชอบใจด้วยวาทกรรม หรือคำพูดของพรรคการเมือง โดยการทำอะไรให้เป็นประโยชน์เป็นสิ่งดี เช่น กรณีกู้เงินมาลงทุนในโครงการใหญ่ ซึ่งถ้าไม่ใช้วิธีการกู้ก็ยากที่จะทำได้ แต่ที่ร้ายก็คืองา่นอาจไม่สำเร็จเ  และถูกชักเปอร์เซ็นต์ไปเป็นของนักการเมือง เพื่อค้ำจุนอำนาจอย่างยั่งยืน  หากไม่ถูกโค่นด้วยโดยประชาชนที่รู้ทัน หรือ ทำให้ประเทศล่มจม หรือ จนประชาชนทนไม่ได้กับนโยบายประชานิยม

  

นโยบายประชานิยมที่ทำตามกันไปมา มุมดีก็มีที่ประชาชนได้ใช้ฟรี

แต่ที่เสีย หากทำไปนาน ๆ คือ นิสัยเสีย ชอบของฟรี

ไม่ได้เมื่อไรก็ม็อบ เมื่อประชาชนรู้สึกว่าพบกับความไม่เป็นธรรม จาก

การที่รัฐบาลไม่ให้กลุ่มพวกตน แต่ให้กับกลุ่มคนที่เป็นเสียงสนับรัฐบาล

เมื่อถูกม็อบรัฐบาลที่ใช้ประชานิยมไม่ถูกต้องก็ถึงจุดจบด้วยฝีมือของ

ประชาชน ดังเช่น รัฐบาลในละตินอเมริกา ที่ได้กล่าวมาแล้ว

ประชานิยมแท้ของไทย ดูได้จากหนังตะลุงปักษ์ใต้ ตามที่ อรหันต์ที่นอน ใน เฟซบุ๊ค กล่าวไว้

 
หนังตลุงภาคใต้ ความบันเทิงของชาวบ้านที่ได้รับความนิยมต่อเนื่องยาวนาน มิเสื่อมคลาย บอกเล่าเรื่องราวในวรรณคดี คติ ความเชื่อ ความเป็นไปของชุมชน ความสัมพันธ์ ของตัวหนังตลุง 
 
1 . พระเอกนางเอก เจ้าเมืองฝั่งนี้เวลาพากษ์ จะใช้ภาษากลาง ตัวหนังจะมีสีสันสวยงาม การเจรจาจะเป็นเรื่องเป็นราวเดินเรื่องหลักครับ
 
2. พี่เลี้ยงพระเอกหรือชาวเมือง ฝั่ง (ตัวละครที่่เป็นชาวบ้าน) นี้จะไม่มีสี จะเห็นเป็นพื้น (ตัวละคร) ดำ เพราะคนสมัยก่อนไม่ใส่เสื้อผ้า รับบทเป็นชาวเมือง พี่เลี้ยงพระเอกคอยดูแลพระเอก พาไปศึกษาหาความรู้ตามสำนักฤาษี ตามความเชื่อแบบโบราณ จะพูดภาษาถิ่น มีบุคคลประจำตัวแต่ละรูป (พระเอกนางเอก) เช่น นุ้ย เท่ง ยอดทอง หลำ สะหม้อ จะมีเอกลักษณ์ภาษาเฉพาะตัว 
 
ความสำพันธ์ของตัวละคร จะเป็นความสัมพันธ์ในแนวราบ คือเคารพซึ่งกันและกัน ใช้เกียรติกัน นายก็ทำหน้าที่นาย บ่าวก็เป็นบ่าวที่คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำ มิใช่ความสัมพันธ์แบบบ่าวไพร่ที่จิกหัวใช้ได้ตลอด(ความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง) ความสัมพันธ์ดังว่าชีวิตจะสันติ สงบ ครับผม
 
ปัญหาภาคใต้ (น่าจะรวมถึงประเทศไทยโดยรวมด้วย) มาจากสมัยใหม่ สังคมเปลี่ยน ความคิดเปลี่ยน มีคนจะพยายามทำตัวเป็นนายเหนือชาวบ้าน กดหัวชาวบ้านไปเป็นไพร่ ปัญหาเลยเกิดครับผม
  
ประชานิยมแท้ ที่ใช้กันเมื่่อ 2000 ปีที่แล้วที่แฝงอยู่ในหนังตะลุงปักษ์ใต้ไทย ตามที่อรหันต์ ที่นอน ได้อธิบายไว้ 
 
  • หนังตลุงภาคใต้
    ความบันเทิงของชาวบ้านที่ได้รับความนิยมต่อเนื่องยาวนาน       มิเสื่อมคลาย บอกเล่าเรื่องราวในวรรณคดี คติ ความเชื่อ ความเป็นไปของชุมชน ความสัมพันธ์ ของตัวหนังตลุง 
    1. พระเอกนางเอก เจ้าเมืองฝั่งนี้เวลาพากษ์ จะใช้ภาษากลาง ตัวหนังจะมีสีสันสวยงาม การเจรจาจะเป็นเรื่องเป็นราว 

    2. พี่เลี้ยงพระเอกหรือชาวเมือง ฝั่งนี้  จะไม่มีสี จะเห็นเป็นพื้นดำ เพราะคนสมัยก่อนไม่ใส่เสื้อผ้า รับบทเป็นชาวเมือง พี่เลี้ยงพระเอกคอยดูแลพระเอก พาไปศึกษาหาความรู้ตามสำนักฤาษี ตามความเชื่อแบบโบราณ จะพูดภาษาถิ่น มีบุคคลประจำตัวแต่ละรูป (พระเอก นางเอก) เช่น นุ้ย เท่ง ยอดทอง หลำ สะหม้อ จะมีเอกลักษณ์ภาษาเฉพาะตัว 

    ความสำพันธ์ของตัวละคร
    จะเป็นความสัมพันธ์ในแนวราบ คือเคารพซึ่งกันและกัน ให้เกียรติกัน นายก็ทำหน้าที่นาย บ่าวก็เป็นบ่าวที่คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำ มิใช่ความสัมพันธ์แบบบ่าวไพร่ที่จิกหัวใช้ได้ตลอด (ความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง) ความสัมพันธ์ดังว่าชีวิตจะสันติ สงบ ครับผม
    ปัญหาภาคใต้ (น่าจะรวมถึงทั่วไทยด้วย) มาจากสมัยใหม่ สังคมเปลี่ยน ความคิดเปลี่ยน มีคนจะพยายามทำตัวเป็นนายเหนือชาวบ้าน กดหัวชาวบ้านไปเป็นไพร่ ปัญหาเลยเกิดครับผม

    ด้วยความคาราวะ
    อรหันต์ที่นอน old dog
     
    ตัวอย่างหนังตะลุง
    http://www.youtube.com/watch?v=5i9QW6p8UMI
    See Translation
     
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท