พรบ. นิรโทษกรรม สมควรออกจากรัฐสภาได้หรือไม่


ช่วงนี้ เขาคุยกันเรื่องนี้โดยมาก ผมมีความคิดเห็นต่อเรืองนี้ ดังนี้

     การนิรโทษกรรมเป็นคำศัพท์ทางกฎหมาย ซึ่งก็คือการไม่เอาโทษนักโทษจากรัฐเลย ผลทางกฎหมายนี้จะส่งผลให้โทษทั้งหลายจะได้รับการยกโทษ และถูกลืมไปเสีย และนักโทษจะได้รับการถือเสมือนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ การนิรโทษกรรมนั้นแตกต่างจากการให้อภัย การให้อภัยนั้นมีนัยยะว่าการทำผิดนั้นเป็นสิ่งที่ถูกลืม ในส่วนของการนิรโทษกรรมนั้นความผิดจะถูกลืมไปโดยสิ้นเชิง รัฐบาลหรือรัฐชาติอาจให้การนิรโทษกรรมแก่บุคคลผู้เป็นนักโทษได้ หากเห็นว่านักโทษเหล่านั้นพยายามทำตนให้สอดคล้องกับกฎหมาย การนิรโทษกรรมมักจะใช้เมื่อจบจากสงคราม หรือการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในสังคม หรือการปฏิวัติ เพื่อที่จะนำมาซึ่งความสงบสุขหรือการประนีประนอม หรืออาจหลีกเลี่ยงการลงโทษที่มีต่อนักโทษจำนวนมาก เพราะเห็นว่าไม่คุ้มที่จะลงโทษ เช่นในกรณีนักศึกษาเข้าป่า เมื่อสมัยปี 2519 ก็ได้

     เรื่องการนิรโทษกรรมมีมาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ ในขณะนั้นเมือง Athens ได้พ่ายแพ้แก่เมือง Sparta ผู้ชนะก็คือชาว Sparta พวกนี้ก็ได้แต่งตั้งรัฐบาลที่เป็นคณาธิปไตยขึ้นมาจำนวน 30 คน และรัฐบาลที่มีจำนวน 30 คนนี้ก็ได้กลายเป็นทรราช ทรราชพวกนี้ได้หยามสิทธิของมนุษย์แก่ชาว Athens นายพลชาวเอเธนส์ ที่ชื่อ Thrasybuls ผู้ซึ่งถูกเนรเทศไปที่เมือง Thebes เพราะว่าต่อต้านกลุ่ม 30 ได้รวบรวมบุคคลจำนวนร้อยที่เป็นคนหนุ่ม และกลับไปที่เอเธนส์ เพื่อการขับไล่ทรราชทั้ง 30 นั้น Thrasybulus ได้ทำให้ประชาธิปไตยฟื้นคืนในเอเธนส์ หนึ่งในบรรดาการกระทำของเขาในฐานะที่เป็นผู้นำก็คือการออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้คนที่อยู่ในส่วนใหญ่ของคณาธิปไตยในยุคทรราชทั้ง 30 นั้น

     เพราะว่าการนิรโทษมักถูกสับสนว่าเป็นการอภัยโทษ ซึ่งการอภัยโทษเป็นการยกโทษให้แก่ความผิด แต่การนิรโทษเป็นการลืมความผิด ในความเป็นจริงแล้ว คำว่า amnesty มาจากรากของภาษาที่ว่า amnesia ความหมายของมันก็คือ การสูญเสียซึ่งความทรงจำ ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่งของคำว่าอภัยโทษและนิรโทษก็คือ อภัยโทษคือการให้อภัยแก่บุคคลเป็นปัจเจกบุคคลต่างๆ ที่กระทำความผิด ในขณะทีนิรโทษก็คือการให้แก่ปัจเจกบุคคลเหมือนกับการอภัยโทษ แต่การนิรโทษอาจเป็นแค่การตั้งข้อกล่าวหา แต่ไม่มีหลักฐานให้เชื่อว่ากระทำดังที่เป็นจริง  

    สำหรับการอภัยโทษในทางพุทธศาสนานั้น มีรายละเอียด ดังนี้  การอภัยโทษหรือการนิรโทษกรรมเกิดขึ้นมาเพราะชาวพุทธเชื่อในเรื่องมนุษย์มีการกระทำเป็นของตน และเชื่อว่าผลของกรรม จะต้องส่งผลต่อผู้กระทำ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง กฎนี้เป็นกฎธรรมชาติและกฎทางศีลธรรมด้วย ใครก็เข้าไปแทรกแซงไม่ได้ กฎนี้มีผลต่อการกระทำของกันและกัน ทั้งในแง่ของปัจเจกบุคคลและในแง่ของสังคมด้วย ในแง่ปัจเจกบุคคล หากเราให้อภัยหรือนิรโทษให้แก่ผู้ใดก็ตาม นั่นย่อมแสดงว่าเรามีเมตตาต่อสรรพสัตว์ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ในแง่สังคม ก็เกิดเพราะเราอยู่คนเดียวไม่ได้ เราต้องอยุ่ในสังคม ต้องมีที่ยืนในสังคม  การอภัยโทษในแง่สังคมนั้นมีที่พบได้ในพระวินัย กล่าวคือ พระภิกษุสงฆ์ที่กระทำความผิดนั้น จำเป็นต้องรู้เสียก่อนว่าตนทำผิดเรื่องอะไร โทษทัณฑ์ที่จะได้รับคืออะไร (เช่นต้องขาดจากภิกษุ หรือแค่อยู่กรรม หรือปลงอาบัติแก่ภิกษุด้วยกัน) ที่สำคัญคือ การอภัยโทษเกิดขึ้นหลังจากผู้กระทำผิดได้สำนึกในความผิดของตนและตระหนักว่าตนมีภาระหน้าที่ที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น เช่น กรณีองคุลีมาลคือได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นไปอย่างสิ้นเชิงแล้วด้วยเหตุว่ามีความสำนึกผิดอย่างแท้จริงในการกระทำของตน หรือถ้าเป็นโทษหนัก ก็มีภาระที่ต้องรับการลงโทษบางอย่างเพื่อเป็นการฟื้นฟูความบริสุทธิ์ของผู้กระทำความผิดนั้นเอง ก่อนจะได้รับการอภัยจากหมู่คณะ แต่ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม อย่างน้อยที่สุด การอภัยโทษ (การรับเข้าหมู่สงฆ์) ไม่อาจเกิดขึ้นได้หากไม่อาจระบุได้ว่าใครทำความผิดและมีการยอมรับความผิด (สำหรับพุทธศาสนานั้นการนิรโทษกรรมกับการอภัยโทษ น่าจะเป็นเรื่อง)

                สรุปว่าผมไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษหรือการปรองดองแบบเหมาเข่ง หรือแบบทะลุซอย ประเด็นสำคัญก็คือ 1.หากคนที่ทำความผิดไม่รู้ความผิดของตน 2. ไม่มีการสำรวมซึ่งความคิดและพฤติกรรม 3. พฤติการณ์แห่งความผิดชัดแจ้ง ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน การอภัยโทษไปหรือการนิรโทษไป โดยที่รัฐไม่เอาผิดบุคคลผู้นี้ไปก็ไร้ผล ต้องให้บุคคลพวกนี้สำนึกในความผิดของตนก่อน ปฏิบัติตามกฏหมายก่อน รัฐบาลจึงค่อยคิดหาวิธีกระทำต่อบุคคลพวกนี้ต่อไป 

คำสำคัญ (Tags): #พรบ. นิรโทษกรรม
หมายเลขบันทึก: 551583เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2013 20:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ตุลาคม 2013 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท