124.ไปดูไร่ ดูนา ของชาวปกาเกอญอ...บ้านห้วยหินลาดใน


 

ฉันหลงไหล ไร่ นา มาตั้งแต่เกิด แม้เมื่่อเติบโตมาแล้ว จะไม่ได้เป็นชาวนา

 แต่ก็หาโอกาสไปไร่นาที่ต่างๆ เสมอ 

คราวนี้ มีโอกาสได้ไป เยือน ไร่หมุนเวียน และนาขั้นบันได ของชาวปกาเกอญอ

บ้านห้วยหินลาดใน  เวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

จึงอดจะนำเรื่องราว ภูมิปัญญาในวิถีชีวิต ของชาวปกาเกอญอ มาฝากไม่ได้

 

 

การเดินทางครั้งนี้ ไปในยามหน้าฝน...ทำให้ทุลักทุเลไม่เบา

แต่ก็ไม่เกินกว่า ความหวัง ที่จะได้ไปเยือน ถิ่่นปกาเกอญอ ที่ตั้งใจไว้ พร้อมทีมกว่า 30 ชีวิต

 

 

ออกจากเชียงใหม่ ....ใช้เวลาเดินทาง กว่า 2 ชั่วโมง ด้วยรถแดง..พาหนะประจำถิ่น

 

แล้วเราก็ถึงทางเข้าหมู่บ้าน...เส้นทางสู่หมู่บ้านไม่ลำบากนัก

 

 

 

เมื่อไปถึง ...ก็ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก พ่อหลวงชัยประเสริฐ

และ พะตีปรีชา...Hero forest รางวัลที่ได้รับจากการดูแล/พิทักษ์ป่า

 

 

บ้านพัก ที่เอาไว้รองรับทีมของเรา เป็นบ้านหลังใหญ่ๆ นอนรวมๆ กัน 

และใต้ถุนเป็นห้องประชุมอย่างเป็นกันเองสำหรับแขกที่มาเยือน

 

 

 

เวลาเพียง 1 วัน กับ 1 คืน พวกเราได้รับความรู้ ความเข้าใจมากมายจาก

ทั้งพ่อหลวง พะตี และกลุ่มเยาวขนที่มาร่วมสนทนา

และพาเราไปเยี่ยมชมทั้งนาขั้นบันได และไร่หมุนเวียน

วันนี้ขอนำเอาภาพไร่ นา ที่เขียวขจีของชาวปกาเกอญอมาฝาก 

พร้อมคำบอกเล่าถึงภูมิปัญญาต่างๆ ภายใต้ "กระบวนทัศน์แบบองค์รวม"

นั่นคือ ชีวิต ความรู้ และธรรมชาติ มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก

*--*

ออกเดินทางพร้อมๆ กันนะ

 

 

เส้นทางเดิน เพื่อไปสู่ ท้องนา ที่อยู่ใกล้ๆ หมู่บ้าน  แต่ถ้าเป็นไร่จะต้องเดินอีกนาน

 

 

 

นาที่นี่เป็น นาดำ จึงต้องมีการทำแปลงเพาะต้นกล้าก่อน

 

 

เส้นทางเดินเข้าสู่ป่า และระหว่างทาง ก็จะเป็น ท้องนา ทั้งที่เป็นที่ราบ 

และสูงขึ้นไปก็จะเป็น นาขั้นบันได

 

 

ภาพท้องนา ท่ามกลางหุบเขา เขียวขจี สวยงาม 

บ้านห้วยหินลาดใน สามารถปลูกข้าวพอกินภายในชุมชน

และเป็นการปลูกข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี  แต่อาศัยการดูแลอย่างดีจากชาวบ้าน

และทำเป็น step ของนาขั้นบันได

มีการทำคันนา เพื่อไว้กักน้ำในช่วงหน้าฝน ให้ข้าวได้น้ำเพียงพอ

 

 

ภาพนี้ เป็นภาพมุมสูง ตอนที่เราเดินไปไร่หมุนเวียน ซึ่งอยู่ไกลจากหมู่บ้าน

และต้องเดินขึ้นเขา  เมื่อมองลงมาจึงเห็น นา ในมุมสูง งามตาไปอีกแบบหนึ่ง

ชอบไหมล่ะ

 

 

ระหว่างทางเดินไปนา ตลอดทางก็จะเป็นต้นไม้ใหญ่น้อย 

ที่เป็นทั้งไม้ผล สมุนไพร และต้นไม้ใหญ่ เหมือนกับสวนและป่าอยู่ร่วมกัน

ในภาพข้างบน เป็น พลับป่า  กินไม่อร่อย แต่เอาเก็บไว้เป็นต้นตอ

สำหรับนำเอาพลับบ้านมาติด ซึ่งมีรสอร่อยกว่า

 

 

ที่นี่ เลี้ยงหมู คล้ายๆ หมูหลุม แต่ทำเล้าให้อยู่ และเล้าหมูจะอยู่นอกหมู่บ้าน

เพื่อไม่ให้มีกลิ่นรบกวน

 

มีหมู ก็ต้องมีไก้  เลี้ยงไว้ตามบ้านได้ และบ้านไก่ ที่นี่มีลักษณะคล้ายชะลอม

 

 

น้องบัณฑิต   ผู้นำเยาวชนปกาเกอญอของชุมชน

เป็นคนนำทางไปสู่ไร่หมุนเวียน ซึ่งต้องใช้เวลาเดินเกือบชั่วโมง

เขาสามารถอธิบายต้นไม้แทบทุกต้นได้อย่างฉะฉาน

ต้นไม้ทุกต้น ล้วนมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของชาวปกาเกอญอ

 

การทำไร่ของชาวปกาเกอญอ จะปลูกไต่ไปตามไหล่เขา

และอยู่ห่างไปจากตัวหมู่บ้าน  ทำให้ต้องเดินไปไกล (สำหรับคนไม่เคย)

เป็นการทำไร่ร่วมกันของชาวบ้าน โดยแบ่งกันดูแลรับผิดชอบ

แต่ทุกคนในชุมชน สามารถนำผลผลิตไปใช้ ไปกินได้ 

 

 

ไร่ของชาวปกาเกอญอ จะอยู่ร่วมไปกับป่า เรียกว่า "ไร่หมุนเวียน"

เป็นการต่อสู้กับวาทกรรมของรัฐที่เรียกว่า "ไร่เลื่อนลอย"

คำว่าไร่หมุนเวียนของชาวปกาเกอญอ

คือ การใช้พื้นที่ในป่าเพื่อทำไร่แบบผสมผสาน และสับเปลี่ยนพื่้นที่ไปเรื่อยๆ 

แล้วก็จะวนกลับมาที่เดิม หลังจากที่ปล่อยพื้นที่ให้มีการพักฟื้นตามธรรมชาติเป็นเวลานานนับปี

ดังนั้น ในไร่หมุนเวียน เราจะเห็นตอไม้ ที่ชาวบ้านเผา แต่ไม่ขุดรากทิ้ง

เพื่อให้เมื่อทิ้งไว้สักระยะ ต้นไม้เหล่านี้ก็จะฟื้้นคืนมาเป็นป่าอีก โดยไม่ต้องปลูกอีก

 

 

 

ไร่หมุนเวียนของชาวปกาเกอญอ เป็นแหล่งความรู้ในการทำเกษตรธรรมชาติ

ที่ทำให้ชุมชนมีอาหารพอกินตลอดทั้งปี 

เพราะการปลูกแบบผสมผสาน ในไร่ มีทั้ง เผือก มัน ข้าวไร่ สมุนไพร และอื่นๆ 

แม้แต่การปลูกพืชชนิดเดียวกัน ก็จะมีหลายๆ พันธุ์

เช่น เผือก ก็จะมีถึง 3-4 พันธุ์ เพื่อให้ผลไม่พร้อมกัน เมื่อกินต้นที่ออกผลเร็วไปแล้ว

ถัดไปก็จะมีต้นที่ออกผลช้าให้กินได้อย่างต่อเนื่อง

การปลูกแบบผสมผสาน ทำให้ต้นไม้แต่ละอย่างได้เกื้อกูลกันตามธรรมชาติ

  

ต้นไม้บางต้น ก็มิใช่ปลูกเพื่อกิน แต่ปลูกเพื่อไว้ใช้ทำพิธีกรรม และเป็นความเชื่อ

 

 

ชาวปกาเกอญอ บอกว่า ถ้าความรู้เรื่อง พันธุ์ข้าว พันธุ์พืช ต้องยกให้ผู้หญิงปกาเกอญอ

เธอจะมีความรู้เหล่านี้มากกว่าผู้ชาย 

(ในภาพไม่ใช่สาวปกาเกอญอนะ เพราะสาวปกาเกอญอขี้อายจ้า)

 

ส่วนรูปนี้ เป็น หนุ่มปกาเกอญอ ชื่อ น้องนิพนธ์ เป็นคนนำทางพาเราลุยป่า

ลองสาธิตลงไปเก็บผลผลิตให้พวกเราดูเป็นตัวอย่าง

 

 

ยามที่ชาวบ้านออกมาทำไร่ ทำนา ก็จะได้อาศัย "เถียงนา" (ภาษาของฉัน)

เป็นที่พักผ่อน และทำอาหารกินเป็นมื้อเป็นคราวไป

 

.........

ยังไม่จบจ้า

คราวหน้าจะพาไปดูต้นลำพูในป่าจ้า

 

pis.ratana บันทึกย้อน

สิงหาคม 2556

หมายเลขบันทึก: 551366เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 23:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณนำมาแบ่งปันเล่าสู่นะคะ

ภาพสวยงาม สดชื่นดีจัง ขอบคุณค่ะ

น่าไปเที่ยวมากเลย

อาจารย์น่าจะชวนบ้าง

555

ผมผูกพันธ์กับชาวปกากะญอเป็นพิเศษ เลยได้ฝึกภาษาจากเขาบ้าง

ในภาพเหมือนหมูเหมยซานนะครับ

ตะบลึ=ภาษาปกากะญอครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท