Thai DPP : ผ่านขวบปีแรก (2)


เมื่อจะจบกิจกรรมแต่ละครั้งจะถามเสมอว่า ครั้งต่อไปใครจะมาบ้าง ถ้ามาไม่พร้อมหมอคงจะทำงานต่อไม่ได้ (ใช้มุสา) ต้องไหว้ทุกคนขอให้มา ขอให้เขาเห็นใจ ก่อนจะจากต้องกอดกันทุกครั้ง ต้องเชียร์

วันที่ 21 กันยายน 2556 (ต่อ)

ภายในห้องประชุม

ทีมทำงานโครงการฯ แต่ละจังหวัดได้จัดกิจกรรมตามโปรแกรมที่วางไว้ โดยยึดเนื้อหาและหลักการเดียวกัน แต่ใช้เทคนิคและวิธีการตามบริบทของตนเอง แต่ละคนเล่าการทำงานของตนจนคนฟังมองเห็นภาพว่าต้องใช้ความพยายามอย่างมาก 

 

นครพนม 

ภก.เอนก ทนงหาญ เล่าว่าได้เอากิจกรรมใน Catalog ไปลองจัดค่ายกับกลุ่มอ้วนมาก่อน เมื่อเอา Catalog ไปใช้ได้เปลี่ยนเป็นภาษาลาว เปลี่ยนชื่อเกม เช่น บุญทำกรรมแต่ง แต่ยังคงแนวคิดเดิม การทำงานมี staff ประมาณ 20 คน ภาพดูดีเพราะ staff ยังเด็ก (อายุน้อย) ไม่ต้องปรับหุ่น เป็นทีมของ รพ.สต. เป็นหลัก

ได้จัดค่ายค้างคืนที่สกลนคร เติมกิจกรรมการศึกษาดูงานที่ศูนย์เกษตรภูพานในพระราชดำริไปด้วย ใช้ทีมทำงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของอำเภอธาตุพนม การจัดกลุ่มย่อย ให้จัดกลุ่มกันตามสะดวก เป็นคนที่บ้านอยู่ใกล้ๆ กัน กิจกรรมกลุ่มย่อยในครั้งต่อๆ ไปจะส่งให้ทีมที่รับผิดชอบการทำกลุ่มอยู่แล้ว

 

พิษณุโลก 

อ้อ 2 อ้อ เล่าว่าทำตามของหมอฝน จัดค่ายที่รีสอร์ทในชุมชน ทีมทำงานเป็นทีมของโรงพยาบาลและ รพ.สต. มีการปรับเกมงานวัดให้กระชับเวลาลงเพราะที่นาน้ำท่วม ชาวบ้านต้องรีบกลับ เจอคนพิการน้อยจึงเปลี่ยนเป็นคะแนนต่ำกว่า 100 แทนคะแนนติดลบ ได้น้ำตาจากชาวค่ายทั้ง 2 รอบ เพราะชาวค่ายแสดงได้สมบทบาท ได้เอาเรื่องรักในหลวงมาใช้ ให้เขียนถวายในหลวง

เรื่องการออกกำลังกาย คนเลือกยืดเหยียด รำวง แกว่งแขน เดินมาร์ชชิ่ง เดินเร็ว ไม่มีคนทำไม้พลอง

เวลาเจอกันอาสาสมัครจะถามกันว่าทำอะไรบ้าง แล้วได้ผลอย่างไร

การจัดเก็บเอกสาร เก็บตั้งแต่เริ่มคัดกรอง เพราะหมอวิรัช (นพ.วิรัช ศิริกุลเสถียร) เป็นห่วง มีคำถามเยอะ... มีการจัดทำแฟ้มเฉพาะคน (ทั้งของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร) แบบซักประวัติ จะใช้ข้อมูลนี้ตลอด ผล Lab จะตัดมาปะ แยกเป็นสีๆ อาสาสมัครอยากได้เอกสารกลับทั้งหมด ทำตัวหนังสือขนาด 20... แฟ้มของเจ้าหน้าที่จะเพิ่มช่องไปเรื่อยๆ หมอวิรัชจะเอา case มาดูอย่างใกล้ชิด เจาะ Lab เพิ่ม คัดเข้า คัดออก หมอ 3 คนดูภาพรวม

นัดกลุ่มเสี่ยงมาเข้าค่ายได้ไม่ครบทุกคน ขาดไป 15 คน จัดกิจกรรมวันที่ 3 ช้ากว่าที่ได้กำหนดไว้ เราจึงคุยกันว่าควรจัดเวลาให้เหมาะสมและภายใน 6 เดือนจะต้องให้กลุ่มเสี่ยงได้เรียนรู้ครบตามที่โปรแกรมวางไว้

 

แพร่ 

คุณชนิสสา จันทาพูน เล่าว่าการจัดค่ายผ่านไปด้วยดี มีทีมวิทยากรของจังหวัด (ยาเสพติค ลูกเสือชาวบ้าน) ที่ทำงานร่วมกับศูนย์เบาหวานมาช่วย จัดค่ายที่ห้องประชุมโรงพยาบาลแพร่ เพราะเป็นหน้าฝน ถ้าจัดในพื้นที่จะลำบากและโสตอุปกรณ์ไม่พร้อม จ่ายค่ารถคนละ 150 บาท

มีปัญหากลุ่มควบคุมมาเจาะเลือดไม่ครบ การเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามต้องใช้เวลามาก (ถามว่าจะมีค่าตอบแทนให้บ้างไหม) ลองเอาไปสัมภาษณ์คนในครอบครัวดูก็พบว่ายาก เวลาเก็บข้อมูลเอานักศึกษาพลศึกษามาช่วยสัมภาษณ์... การสัมภาษณ์ปริมาณข้าวเหนียวจะยากเพราะชาวบ้านหยิบกินไปเรื่อยๆ

คุณมยุรี กรุงศรี เสริมว่าโครงการนี้ดีมาก คนที่ได้เข้าช่วยประชาสัมพันธ์ทำให้คนที่เหลือในหมู่บ้านอยากเข้า ได้จัดเพิ่มให้เอาคนที่มี IFG มาร่วมกิจกรรม พบว่าลดน้ำหนักได้จริง ได้มิตรภาพจากชาวบ้าน เกิดมิตรภาพในกลุ่มวิทยากรและกลุ่มปรับพฤติกรรม

 

นครราชสีมา 

ทีมครบุรี นครราชสีมาได้จัดค่ายไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เป็นจังหวัดแรกของโครงการฯ หลังจากจัดกิจกรรมเสร็จแต่ละครั้ง หมอฝน พญ.สกาวเดือน นำแสงกุล จะเขียนรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมว่าได้ทำอะไร อย่างไรบ้าง ต้องเตรียมต้องใช้อุปกรณ์เครื่องใช้อะไร ส่งเข้า email group ให้เครือข่ายทุกจังหวัดได้รู้ด้วยทุกครั้ง

หมอฝนเล่าว่าการจัดกิจกรรมทำที่วัด ส่วนของอำเภอเมืองจัดในเดือนสิงหาคมที่ รพ.สต. บางคนมาร่วมกิจกรรมไม่ครบ ต้องตามเก็บกิจกรรมเป็นกลุ่มย่อยๆ ในหมู่บ้าน ช่วงบ่ายหรือเย็น วางแผนกิจกรรมในเดือนที่ 4 ว่าจะลงไปหมู่บ้าน/เยี่ยมบ้าน เพื่อดูบริบทและเก็บความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 

หมอฝนแนะว่าในแต่ละรอบเราควรมีการสรุปว่าอะไรที่ทำได้ ทำไม่ได้ ดู stage of change ด้วย มีคนที่เปลี่ยนไปเยอะ สิ่งที่เปลี่ยนคือน้ำหนักและรอบเอว มี 8 คนที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง ยังไม่ได้ออกกำลังกาย น้ำหนักขึ้น

 

นครศรีธรรมราช 

นาฏ ภญ.นุชนาฏ ตัสโต บอกว่าไม่อยากไปดูข้อมูลใน LINE ของกลุ่ม DPP รู้สึกว่าทำไมคนที่จัดกิจกรรมทีหลังจึงทำได้ดีกว่าเรา ตอนที่ทำงานก็เอาข้อมูลที่ได้จากหมอฝนมาปรับ การทำกิจกรรมคนสี่ทิศ พบว่าเข้าใจยากและหา “หมี” ไม่ค่อยได้

จัดค่ายไป 2 รุ่นต่อเนื่องกันคือ 28–29 มิ.ย. และ 30 มิ.ย.-1 ก.ค. 2556 ที่โรงพยาบาลท่าศาลา ในรุ่นที่ 1 กิจกรรม “เส้นทางที่ไม่ย้อนกลับ” เล่นเกมแล้วหาคนพิการได้คนเดียว ต้องหาเพิ่มจากกลุ่ม “กระทิง” ในรุ่นที่ 2 อาศัยการปรับตัวของเจ้าหน้าที่ รุ่นนี้ได้คนพิการมาเยอะ มีคนร้องไห้ด้วย… ค่ายในวันที่สามจัดช้าไปหน่อยเพราะเป็นช่วงถือศีลอด เดือนหน้าจะไปใช้สถานที่จัดกิจกรรมที่ รพ.สต. ...กิจกรรมเกี่ยวกับการออกกำลังกายเรียนจากของหมอฝนได้ แต่ไทเก็กทำได้ยาก

เมื่อจะจบกิจกรรมแต่ละครั้งจะถามเสมอว่า ครั้งต่อไปใครจะมาบ้าง ถ้ามาไม่พร้อมหมอคงจะทำงานต่อไม่ได้ (ใช้มุสา) ต้องไหว้ทุกคนขอให้มา ขอให้เขาเห็นใจ ก่อนจะจากต้องกอดกันทุกครั้ง ต้องเชียร์

การจัดกิจกรรมต้องใช้วันเสาร์-อาทิตย์ วันธรรมดาไม่สะดวก ที่ประทับใจคือมีคุณลุงคนหนึ่งบอกว่ามาเข้ากลุ่มแล้วรู้สึกดี จึงไปถอนเงินมาให้เลย 20,000 บาท

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเดือนที่ 1 ส่วนใหญ่ชั่งน้ำหนักแล้วพบว่าลดลง มี 3 คนที่น้ำหนักขึ้น ต้องให้เขามีเครื่องวัดตัวเอง เห็นเขาถามกัน ต่อไปจะชั่งน้ำหนักและวัดรอบเอวทุกครั้ง พี่เลี้ยงจะมีสมุดบันทึกประจำกลุ่ม

เดือนที่ 2 ปรับเป็นฐานๆ มีเรื่องแป้ง น้ำตาล มีอาหารมาตั้ง อธิบายเป็นรายกลุ่ม เดือนที่ 3 จะสอนเรื่องฉลากโภชนาการ ไขมัน

เรื่องการบันทึก ชาวบ้านเขียนหนังสือไม่ค่อยเป็น... ปัญหาที่ไม่ได้ออกกำลังกายคือมีงาน การกินให้เป็นดาวหรือลูกระเบิด... มีกลุ่มหนึ่งที่บ้านอยู่ไกล จะตามไปซ่อมที่บ้านเพื่อให้ได้กิจกรรมครบ

 

นครนายก 

คุณแอน อังศุมาลิน มั่งคั่ง และน้องปอนด์ สราวุธ สมพงษ์ ช่วยกันเล่าให้ฟังว่าจัดค่ายตาม Catalog แต่ตั้งชื่อค่ายและกิจกรรมให้จูงใจ สอดคล้องกับพิธีกรรมและศาสนา ค่ายจึงมีชื่อว่า “สะเดาะเคราะห์ต่อชะตากลุ่มเสี่ยง” ชื่อกิจกรรม เช่น ดูดวงตามลัคนา ดูพื้นดวงตามราศรี มีการเข้าพิธีสเดาะเคราะห์ กิจกรรมแก้กรรม เป็นต้น 

ได้รับ Feedback ดี พบว่าอาสาสมัครหลายคนมีน้ำหนักลด รอบเอวลด VDO ที่ใช้สร้างแรงจูงใจได้ดีคือเรื่องจริงของสองพ่อลูก... มีความมั่นใจว่าคนที่มาเข้าค่ายแล้วน่าจะอยู่กับเราตลอดและยังไปชวนคนใหม่มาด้วย

 

สมุทรสาคร 

แม้จะยังคัดกรองกลุ่ม IGT ได้ยังไม่ครบ ขาดกลุ่มควบคุม แต่ก็ได้จัดค่ายให้กลุ่มทดลองในเดือนกันยายนไปแล้ว มด ภญ.ปราณี ลัคนาจันทโชติ เล่าว่าได้ไปดูงานที่นครนายกและพิษณุโลกมาก่อน เลียนแบบของนครนายก ทำหนังสือถึงฝ่ายบุคคลของโรงงาน ซึ่งได้จัดรถรับ-ส่งให้ มีคำสั่งจากจังหวัดบอกให้ทุกแห่งร่วมมือ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมาเปิดงานให้

กิจกรรมคนสี่ทิศ พบว่ามีหมีเยอะ ที่เหลือเท่าๆ กัน... เรื่องความเสี่ยงใช้เวลาฐานละ 3-4 นาที กลุ่มหมีบ่นว่าจะได้อะไร... ใช้กิจกรรมหน้าขาวอย่าเบาใจ เวลาลูบแป้งแต่ละที่จะบอกด้วยว่า “ห่วงนะ” มีทีมหนึ่งที่พบว่าเสี่ยงทั้งทีม กลับไปมีคนอยากจะเข้าคัดกรองเพิ่ม… เส้นทางที่ไม่ย้อนกลับ (ดวง ความสามัคคี ความสามารถ) ออกมามีคนพิการ 1/3

ตอนแรกเหมือนกับจะไม่เป็นรูปเป็นร่าง แต่ได้มืออาชีพประจำฐาน ดูเหมือนจะฟันฝ่าไม่ได้ แต่ทีมทุกคนช่วยกัน คุณล้าน ประภาพันธ์ สวัสดิ์ผล ซึ่งไปดูหมอฝนจัดค่ายครั้งแรกด้วย เสริมว่าเอาของหมอฝนมาดัดแปลง จัดอาหารอย่างดี จุด peak คือชีวิตที่ย้อนไม่ได้ พูดจูงใจให้คิดได้ มีอาหารเย็น pack ใส่กล่องให้ชาวค่ายด้วย

ได้รับ Feedback ดี คนที่บอกว่าจะกลับก่อน อยู่จนเย็นเลย

 

คุณธวัช หมัดเต๊ะ จาก สคส. บอกว่าเห็นใจคนทำงาน เพราะโจทย์ยาก... การจะทำให้เกิดความตระหนักในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เขาจับสัญญาณไม่ได้ คนจะสนใจตัวเองเมื่อมีอาการเล็กๆ น้อยๆ จะโยงสัญญาณเชิงรูปธรรมได้อย่างไร

คุณรุ่งนภา บุญเขียน ทีมปากพลี บอกว่าได้ฟังของหลายๆ ที่ ได้ข้อคิดกลับไปเยอะ ได้เห็นบรรยากาศของการทำงานร่วมกัน โครงการนี้ทำให้ได้รวมทีม ได้เห็นของเพื่อน รอบนี้ถ้าสำเร็จหวังว่าจะได้ต้นแบบ...

 

สีหน้าทีมที่มาประชุม

 

วัลลา ตันตโยทัย

วันที่ 15 ตุลาคม 2556

หมายเลขบันทึก: 551006เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2013 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ตุลาคม 2013 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท